HTR & Re.HTr Club Webboard
Would you like to react to this message? Create an account in a few clicks or log in to continue.

ประวัติศาสตร์ 77 จังหวัดทั่วไทย

5 posters

หน้า 2 จาก 4 Previous  1, 2, 3, 4  Next

Go down

ประวัติศาสตร์ 77 จังหวัดทั่วไทย - Page 2 Empty Re: ประวัติศาสตร์ 77 จังหวัดทั่วไทย

ตั้งหัวข้อ by *!!~AlFeiLai~!!* Thu May 20, 2010 7:03 pm

ชอบดอกราชพฤกษ์ที่สุด>O< แต่เรียกอีกอย่างว่า ลมแล้ง หรอเนี่ยowo;;
*!!~AlFeiLai~!!*
*!!~AlFeiLai~!!*
B Class
B Class

จำนวนข้อความ : 265
คะแนน : 299
คะแนนชื่อเสียง : 21
Join date : 28/03/2010
Age : 28
ที่อยู่ : Thailand

https://twitter.com/spellsunnn

ขึ้นไปข้างบน Go down

ประวัติศาสตร์ 77 จังหวัดทั่วไทย - Page 2 Empty ต้นไม้ไทยภาคกลาง

ตั้งหัวข้อ by Volwar Fri May 21, 2010 5:12 pm

ประวัติศาสตร์ 77 จังหวัดทั่วไทย - Page 2 Clip_image001_0002

กรุงเทพมหานคร-ไทยย้อยใบแหลม

ไทรย้อยใบแหลมนี้เป็นไม้ประดับที่ได้รับความนิยม นำมาตกแต่งประดับประดาตามห้องหับ อาคารและสำนักงาน
เป็นอันมาก ใบของไทยพันธุ์นี้จะมีสีเขียวเมื่อยังอ่อนอยู่และจะมีสีเขียวเข้มเมื่อใบแก่เต็มที่ ลักษณะของใบที่ห้อย
ย้อยลงมามีความสวยงามมากถ้าปลูกอยู่นอกอาคารใบจะแน่นเป็นพุ่มเมื่อนำเข้ามาปลูกภายในห้องใบจะน้อยลง
และต้นจะสูงโปร่ง การเจริญเติบโตเร็วมาก

ต้นไม้ประจำจังหวัด : กรุงเทพมหานคร
ชื่อสามัญ : Golden Fig, Weeping Fig
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Ficus benjamina Linn.
วงศ์ : MORACEAE
ชื่ออื่น : จาเรป (เขมร), ไทร (นครศรีธรรมราช), ไทรกระเบื้อง (ประจวบคีรีขันธ์), ไทรย้อยใบแหลม (ตราด, กรุงเทพฯ)
ลักษณะทั่วไป : เป็นไม้ยืนต้นสูง 5–10 เมตร มีรากอากาศ ใบเป็นใบเดี่ยวเรียงสลับ รูปรีแกมรูปไข่ ปลายใบเรียวแหลม โคนใบสอบ ดอกขนาดเล็ก มีฐานรองดอก ออกดอกช่วงเดือนกุมภาพันธ์ ผลเป็นทรงกลม เมื่อสุกสีเหลือง
ขยายพันธุ์ : โดยการเพาะเมล็ดและตอนกิ่ง
สภาพที่เหมาะสม : เจริญเติบโตได้ดีในดินทุกชนิด ความชื้นปานกลาง แสงแดดจัด
ถิ่นกำเนิด : ประเทศอินเดีย และมาเลเซีย
ประโยชน์ : ปลูกประดับ ให้ร่มเงา ผลเป็นอาหารของนก

ประวัติศาสตร์ 77 จังหวัดทั่วไทย - Page 2 2105bf93

กำแพงเพชร-สีเสียดแก่น

ถิ่นเดิมอยู่ในประเทศอินเดียตะวันตกของปากีสถานไปถึงพม่า ทนความแห้งแล้งและทนไฟได้ดี ขึ้นได้ดีในที่แห้งแล้งและภูเขาหิน
ต้นไม้ประจำจังหวัด : กำแพงเพชร
ชื่อสามัญ : Catechu Tree, Cutch Tree
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Acacia catechu Willd.
วงศ์ : LEGUMINOSAE
ชื่ออื่น : สะเจ (เงี้ยว-แม่ฮ่องสอน), สีเสียด (ภาคเหนือ), สีเสียดแก่น (ราชบุรี) สีเสียดเหนือ (ภาคกลาง) สีเสียดแก่นเหนือ สีเสียดเหลือง (เชียงใหม่)
ลักษณะทั่วไป : เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางสูง 10–15 เมตร เรือนยอดโปร่ง ลำต้นและกิ่งมีหนามแหลมโค้งทั่วไป เปลือกสีเทาคล้ำหรืออมน้ำตาลค่อนข้างขรุขระ ใบเป็นใบประกอบขนนกสองชั้น รูปไข่แกมขอบขนาน โคนใบเบี้ยวมีขนห่างๆ ออกดอกเป็นช่อยาวคล้ายหางกระรอก ตามง่ามใบ ขนาดเล็ก สีเหลืองอ่อนหรือขาวอมเหลือง ออกดอกช่วงเดือนเมษายน-กรกฎาคม ผลเป็นฝักรูปบรรทัดแบน ยาว 5–10 ซ.ม. เมล็ดแบนสีน้ำตาลอมเขียว
ขยายพันธุ์ : โดยการเพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสม : เจริญเติบโตได้ดีในดินทุกชนิด ไม่ชอบน้ำขัง
ถิ่นกำเนิด : อินเดียตะวันตก ปากีสถาน พม่า
ประโยชน์ : เนื้อไม้แข็งเหนียว สีน้ำตาลแดง ไสกบตบแต่งยาก ใช้ทำสิ่งปลูกสร้างที่ต้องรับน้ำหนักมาก ๆ เช่น เสา ตง คาน สะพาน ทำด้ามเครื่องมือทางการเกษตร แก่นให้น้ำฝาดใช้ฟอกหนังและให้สีน้ำตาลสำหรับย้อมผ้า แห อวน ก้อนสีเสียดเป็นยาสมานอย่างแรง แก้โรคท้องร่วง บิด แก้ไข้จับสั่น แก้ไอ ใช้เป็นยารักษาเหงือก ลิ้นและฟัน รักษา แผลในลำคอ

ประวัติศาสตร์ 77 จังหวัดทั่วไทย - Page 2 Bael_%28Aegle_marmelos%29_fruit_at_Narendrapur_W_IMG_4099

ชัยนาท-มะตูม

ในทางศาสนาฮินดู กล่าวกันว่าพระศิวะประทับอยู่ใต้ต้นมะตูม ดังนั้นจึงพบต้นมะตูมได้ทั่วไปในสวนของวิหารในประเทศอินเดีย และใบมะตูมยังเป็นส่วนประกอบในพิธีกรรมทางศาสนา
ต้นไม้ประจำจังหวัด : ชัยนาท
ชื่อพันธุ์ไม้ : มะตูม
ชื่อสามัญ : Bael Fruit Tree, Bengal Quince
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Aegle marmelos (L.) Corr.
วงศ์ : RUTACEAE
ชื่ออื่น : กะทันตาเถร ตุ่มตัง (ลานช้าง), ตูม (ปัตตานี), พะโนงค์ (เขมร), มะตูม (ภาคกลาง,ภาคใต้), มะปิน (ภาคเหนือ), มะปีส่า (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)
ลักษณะทั่วไป : เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบ สูง 5–10 เมตร แตกกิ่งต่ำ ตามลำต้นมีหนามยาว เปลือกสีเทา เรือนยอดค่อนข้างโปร่ง ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก มีใบย่อย 3 ใบ ปลายใบแหลม โคนใบสอบ ดอกสีขาวอมเขียวหรือสีเหลืองอ่อน กลิ่นหอม ขนาดเล็ก ออกดอกช่วงเดือนมีนาคม-พฤษภาคม ผลเป็นรูปไข่แข็ง เนื้อสีเหลือง มียางเหนียว
ขยายพันธุ์ : โดยการเพาะเมล็ด และตอนกิ่ง
สภาพที่เหมาะสม : ดินทุกชนิด ทนแล้ง ต้องการน้ำปานกลาง
ถิ่นกำเนิด : ประเทศอินเดีย ศรีลังกา และออสเตรเลีย ประเทศไทยพบประปรายตามป่าเบญจพรรณ
ประโยชน์ : ผลมะตูมใช้รับประทานได้ทั้งแบบสดและแบบแห้ง น้ำจากผลเมื่อนำไปกรองและเติมน้ำตาลจะได้เครื่องดื่มคล้ายน้ำมะนาว และยังใช้ในการทำ Sharbat ซึ่งเป็นเครื่องดื่มที่ได้จากการนำเนื้อผลมะตูมไปผสมกับมะขาม ใบอ่อนและยอดอ่อนใช้รับประทานเป็นผักสลัด นอกจากนี้ ผลยังใช้ในพิธีกรรมทางศาสนา และใช้เป็นยารักษาอาการท้องร่วง ท้องเดิน โรคลำไส้ ตาแห้งไข้หวัดธรรมดา และยังใช้รักษาอาการท้องผูกเรื้อรังได้เป็นอย่างดี

ประวัติศาสตร์ 77 จังหวัดทั่วไทย - Page 2 20090112-chomsuan-166

นครนายก-สุพรรณิการ์

สุพรรณิการ์ หรือ ฝ้ายคำเป็นไม้ผลัดใบ นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ
ต้นไม้ประจำจังหวัด : นครนายก
ชื่อสามัญ : Yellow Cotton Tree
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cochlospermum regium (Mart. & Schrank) Pilg.
วงศ์ : BIXACEAE (COCHLOSPERMACEAE)
ชื่ออื่น : ฝ้ายคำ (ภาคเหนือ), สุพรรณิการ์ (ภาคกลาง)
ลักษณะทั่วไป : ต้นสูง 7–15 เมตร ผลัดใบ เรือนยอดค่อนข้างกลม ใบเดี่ยว รูปหัวใจหรือทรงกลม ใบจักเป็นแฉกแหลมลึก 3–5 แฉก ก้านใบยาวสีแดงอมน้ำตาล ออกดอกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง สีเหลือง ออกดอกช่วง เดือนธันวาคม-มีนาคม
การขยายพันธุ์ : โดยการเพาะเมล็ด ปักชำ
สภาพที่เหมาะสม : ดินร่วนหรือดินร่วนปนทราย อากาศเย็น แสงแดดจัด
ถิ่นกำเนิด : อเมริกากลาง และอเมริกาใต้
ประโยชน์ : นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ ใบอ่อน นำมาต้มเอาน้ำสระผม ยางจากต้นทำครีมทาบำรุงผิว ประโยชน์ทางยา รับประทานเป็นยาระบาย

ประวัติศาสตร์ 77 จังหวัดทั่วไทย - Page 2 P1sela

นครสวรรค์-เสลา

เป็นต้นไม้ออกดอกสีม่วงในหน้าร้อนถิ่นกำเนิดอยู่ในเอชียเขตร้อน อาจจะเป็นประเทศไทยก็ได้
ต้นไม้ประจำจังหวัด : นครสวรรค์
ชื่อสามัญ : Salao, Salao khaao, Salao plueakbaang, Salao dam
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Lagerstroemia loudonii Binn.
วงศ์ : LYTHRACEAE
ชื่ออื่น : เกรียบ ตะเกรียบ (ชอง-จันทบุรี), ตะแบกขน (นครราชสีมา), เสลาใบใหญ่ (ทั่วไป), อินทรชิต
ลักษณะทั่วไป : ต้นสูงได้ถึง 20 เมตร ผลัดใบ เรือนยอดกลมหรือทรงกระบอก หนาทึบ ใบเดี่ยวรูปไข่แกมขอบขนาน ปลายใบเรียวแหลมเป็นติ่งโคนมน ใบหนา และมีขนนุ่มทั้งสองด้าน ออกดอกเป็นช่อตามกิ่ง มี 6 กลีบ โคนคอดเป็นก้านสั้น มีหลายสี เช่น ขาว ม่วง ม่วงอมแดงกลีบดอกบาง ยับย่นออกดอก เดือนธันวาคม–มีนาคม ผลกลมรี เปลือกแข็ง เมื่อแก่จะแตกออกเป็น 5–6 พู เมล็ดจำนวนมาก มีปีก
การขยายพันธุ์ : เพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสม : ดินร่วนซุย แสงแดดจัด
ถิ่นกำเนิด : เอเชียเขตร้อน
ประโยชน์ : ไม้ใช้ทำเครื่องแกะสลัก ทำด้ามเครื่องมือ

ประวัติศาสตร์ 77 จังหวัดทั่วไทย - Page 2 Kalamet_wood

นครปฐม-จันทน์หอม

จากข้อมูลที่เรียบเรียงโดย ดร.ปิยะ เฉลิมกลิ่น จากสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย เทคโนธานี แจกแจงถึงเรื่อง "ไม้จันทน์หอม" ไว้ สรุปได้ว่า... เป็นไม้ที่คนโบราณถือว่าเป็นไม้ชั้นสูง เนื้อไม้มีกลิ่นหอม นิยมใช้ในพระราชพิธีต่างๆ พิธีสำคัญๆ ของราษฎรที่จัดเป็นวาระพิเศษ อย่าง "ดอกไม้จันทน์" ที่ใช้ในงานเผาศพ ในอดีตเกือบทั้งหมดจะทำจากไม้จันทน์หอม เพราะถือว่ามีสีขาวบริสุทธิ์ และมีกลิ่นหอม เป็นการให้เกียรติกับผู้ตายเป็นครั้งสุดท้าย แต่ในยุคปัจจุบันมีการใช้วัสดุอื่นๆ ทำด้วย
ต้นไม้ประจำจังหวัด : นครปฐม
ชื่อสามัญ : Kalamet
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Mansonia gagei Drumm.
วงศ์ : STERCULIACEAE
ชื่ออื่น : จันทน์ จันทน์ชะมด (ประจวบคีรีขันธ์), จันทน์ขาว จันทน์พม่า จันทน์หอม (ภาคกลาง)
ลักษณะทั่วไป : เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบ สูง 10–20 เมตร เรือนยอดเป็นพุ่มค่อนข้างโปร่ง ใบ เป็นใบเดี่ยวเรียงสลับ แผ่นใบรูปรีแกมขอบขนาน หรือแกมรูปไข่กลับ ปลายใบแหลม โคนใบเว้าเบี้ยวเล็กน้อย ขอบใบเป็นคลื่นห่างๆ ออกดอกเป็นช่อตามปลายกิ่ง และตามง่ามใบ ดอกขนาดเล็ก สีขาว ออกดอกช่วงเดือนสิงหาคมถึงเดือนตุลาคม ผล เป็นรูปกระสวย มีปีกรูปทรงสามเหลี่ยม
ขยายพันธุ์ : โดยการเพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสม : สภาพดินแทบทุกชนิด แสงแดดจัด ชอบขึ้นตามดินแถบเขาหินปูน
ถิ่นกำเนิด : ป่าดิบแล้งทางภาคตะวันออกเฉียงใต้ และภาคตะวันตกเฉียงใต้ที่สูงจากระดับน้ำทะเล 200–400 ซ.ม.
ประโยชน์ : เนื้อไม้ กระพี้สีขาว ส่วนแก่น สีน้ำตาลเข้ม เสี้ยนตรง เนื้อละเอียด แข็งเลื่อยไสกบตบแต่งง่ายไม้ที่ตายเองจะมีกลิ่นหอม ใช้ทำหีบใส่เสื้อผ้า เครื่องกลึงและแกะสลัก ทำหวี ดอกไม้จันทน์ ธูป น้ำมันหอมที่ได้จากการกลั่นชิ้นไม้ใช้ปรุงเครื่องหอมและเครื่องสำอางค์ ทางด้านสมุนไพร น้ำมันที่กลั่นจากเนื้อไม้ใช้เข้ายาบำรุงหัวใจ เนื้อไม้ใช้เป็นยาแก้ไข้ แก้โลหิตเสีย แก้ดี แก้กระหายน้ำและอ่อนเพลีย

ประวัติศาสตร์ 77 จังหวัดทั่วไทย - Page 2 4a9b5b85

นนทบุรี-นนทรีบ้าน

นนทรีนั้นเป็นต้นไม้พื้นเมืองของไทย อินโดจีน มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ อินโดจีน ออสเตรเลีย หากได้รับการตัดแต่งกิ่งดูแลให้ตามควรแล้วจะเป็นต้นไม้ที่ให้ดอกสวยงามมากจนมีผู้นำไปปลูกประดับทั้งในสวนและตามริมถนนใหญ่หลายสาย ให้ทั้งร่มเงาและให้ทั้งความสวยงามของดอก
ต้นไม้ประจำจังหวัด : นนทบุรี
ชื่อสามัญ : Yellow Flamboyant
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Peltophorum pterocarpum (DC.) K. Heyne
วงศ์ : LEGUMINOSAE
ชื่ออื่น : กระถินป่า กระถินแดง (ตราด), นนทรี (ทั่วไป) สารเงิน (แม่ฮ่องสอน)
ลักษณะทั่วไป : เป็นไม้ยืนต้นทรงพุ่มสูงได้ถึง 25 เมตร กึ่งผลัดใบ เรือนยอดรูปร่ม แผ่กว้าง ใบเป็นใบประกอบขนนกสองชั้นรูปไข่ ออกดอกเป็นช่อตั้งขนาดใหญ่ที่ปลายกิ่ง สีเหลือง มีกลิ่นหอมอ่อนๆ ออกดอกในฤดูแล้ง ช่วง เดือนมีนาคม-มิถุนายน
การขยายพันธุ์ : โดยการเพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสม : ดินทั่วไป ชอบแสงแดดจัด
ถิ่นกำเนิด : เอเชียเขตร้อน
ประโยชน์ : ประโยชน์อย่างหนึ่งซึ่งไม่ค่อยมีใครคิดถึงนั้นก็คือเปลือก เปลือกต้นนนทรีนั้น เมื่อนำไปต้มแล้วจะให้สีน้ำตาลเหลือง ใช้ในการย้อมผ้าฝ้ายบาติกในเกาะชวา อินโดนีเซีย นอกจากนี้เปลือกนนทรียังมีขายกันในร้านสมุนไพรในเกาะชวาด้วย เพราะเป็นแหล่งที่มาของแทนนิน ใช้รักษษโรคท้องร่วง หรือนำไปเคี่ยวเข้าน้ำมัน นวดแก้ตะคริว กล้ามเนื้ออักเสบ ปลูกเป็นไม้ประดับ ลำต้นไม้ ใช้ทำสิ่งก่อสร้าง เรื่องเรือน เปลือก มีรสรับประทานเป็นยากล่อมเสมหะ แก้โรคท้องร่วง เป็นยาขับลมปลูกเป็นไม้ประดับ

ประวัติศาสตร์ 77 จังหวัดทั่วไทย - Page 2 Stou_tree

ปทุมธานี-ทองหลางลาย (ปาริชาต)

ทองหลางด่างเป็นพรรณไม้ทีปลูกที่แสงแดดจัด เป็นไม้กลางแจ้ง ที่ชอบแสงแดดมากๆ เจริญเติบโตได้ดีในดินปนทรายระบายน้ำได้ดี โตเร็ว ทนลมและทนแล้งเหมาะที่จะปลูกในที่แห้งแล้งหรือริมทะเล
ต้นไม้ประจำจังหวัด : ปทุมธานี
ชื่อสามัญ : Indian Coral Tree, Variegated Tiger’s claw
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Erythrina variegata Linn.
วงศ์ : LEGUMINOSAE
ชื่ออื่น : ทองบ้าน, ทางเผือก (ภาคเหนือ), ทองหลางด่าง, ทองหลางลาย (กรุงเทพฯ)
ลักษณะทั่วไป : เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบ สูง 5–10 เมตร กิ่งอ่อนมีหนามเรือนยอดเป็นพุ่มกลมโปร่ง ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก มีใบย่อย 3 ใบ ใบกลางจะโตกว่าสองใบด้านข้าง ออกดอกเป็นช่อยาวประมาณ 30–40 ซ.ม. รูปดอกถั่ว สีแดงเข้ม ออกดอกระหว่างเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ ผลเป็นฝักยาว 15–30 ซ.ม.
ขยายพันธุ์ : โดยการเพาะเมล็ด และปักชำ
สภาพที่เหมาะสม : สภาพดินทุกชนิด ชอบดินร่วนซุย กลางแจ้ง
ถิ่นกำเนิด : แทนซาเนีย จีน ไต้หวัน อินเดีย และมาเลเชีย
ประโยชน์ : ปลูกเป็นไม้ประดับ ใบสดรับประทานได้ แต่ไม่นิยมเท่าใบทองหลางใบมน

ประวัติศาสตร์ 77 จังหวัดทั่วไทย - Page 2 Tree

พระนครศรีอยุธยา-หมัน

เป็นต้นไม้ขนาดปานกลาง สูงราว 60 ฟุต มีสีเทาปนน้ำตาล ขนาดของใบ ประมาณ 5x3 นิ้ว ดอกสีขาว ผลเป็นพวงสีเขียว พระเจ้าอู่ทอง ย้ายเมืองมาตั้งที่หนองโสน ได้ขุดพบสังข์ทักษินาวัตร อยู่ใต้ต้นหมัน ต้นหมันเป็นพันธุ์ไม้ตระกูล Boraginaceae เป็นต้นไม้ขนาดปานกลาง สูงราว 60 ฟุต ลำต้นมีรูปร่างลักษณะคล้ายกระบอก เนื้อไม้สีเทาปนสีน้ำตาล มีความแข็งปานกลาง เปลือกหนาประมาณ 0.5 นิ้ว เป็นสีเทาปนน้ำตาล ซึ่งมีรอยแตกยาวๆ ไปตามลำต้น ใบยาวประมาณ 5 นิ้ว กว้างประมาณ 3 นิ้ว เป็นรูปไข่ โคนใบคล้ายรูปหัวใจ ดอกสีขาว ผลเป็นพวงสีเขียวเมื่อสุก ต้นหมันชอบขึ้นในป่าทั่วไปในภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ไม้ประเภทนี้ปกติไม่นิยมใช้ประโยชน์กัน ต้นหมันเป็นต้นไม้ประจำจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เพราะในประวัติศาสตร์ เมื่อพระเจ้าอู่ทองย้ายเมืองมาตั้งที่ตำบลหนองโสน ได้ขุดพบสังข์ทักษิณาวัตร 1 ขอน อยู่ใต้ต้นหมันเป็นสัญลักษณ์ประจำจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ต้นไม้ประจำจังหวัด : พระนครศรีอยุธยา
ชื่อสามัญ : ไม่ทราบแน่ชัด
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cordia cochinchinensis Gagnepain
วงศ์ : BORAGINACEAE
ชื่ออื่น : หมัน (ประจวบคีรีขันธ์)
ลักษณะทั่วไป : เป็นไม้ยืนต้นสูง 5–15 เมตร เปลือกต้นสีเทาคล้ำ ใบเป็นใบเดี่ยวเรียงสลับ แผ่นใบรูปไข่ ปลายใบทู่ โคนใบกว้าง ดอกสีขาว ผลเมื่อเปลือกสีชมพู มีของเหลวภายในเหนียวมากห่อหุ้มเมล็ด
ขยายพันธุ์ : โดยการเพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสม : สภาพดินเลน ต้องการน้ำและความชุ่มชื้นสูง
ถิ่นกำเนิด : ป่าชายเลนที่ค่อนข้างแข็ง และชายฝั่งทะเลอ่าวไทย
ประโยชน์ : ใช้เป็นต้นไม้ประดับ

ประวัติศาสตร์ 77 จังหวัดทั่วไทย - Page 2 1182075953

เพชรบูรณ์-มะขาม

เป็นไม้เขตร้อน มีถิ่นกำเนิดอยู่ในทวีปแอฟริกาแถบประเทศซูดาน ต่อมามีการนำเข้ามาในประเทศแถบเขตร้อนของเอเชีย และประเทศแถบละตินอเมริกา และในปัจจุบันมีมากในเม็กซิโก
ต้นประจำจังหวัด : เพชรบูรณ์
ชื่อสามัญ : Tamarind, Indian date
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Tamarindus indica Linn.
วงศ์ : LEGUMINOSAE
ชื่ออื่น : มะขามไทย ตะลูบ (นครราชสีมา), ม่องโคล้ง (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี), มอดเล ส่ามอเกล (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), มะขาม (ทั่วไป), หมากแกง (ละว้า-แม่ฮ่องสอน), อำเปียล (เขมร-สุรินทร์)
ลักษณะทั่วไป : เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางจนถึงขนาดใหญ่ ใบเป็นใบประกอบ ออกเป็นคู่ เรียงกันตามก้านใบ ปลายใบและโคนใบมน ออกดอกเป็นช่อเล็กๆ อยู่ตามบริเวณปลายกิ่ง ขนาดเล็ก มีกลีบสีเหลือง ผลมี 2 ชนิด คือ ชนิดฝักกลมเล็กยาวเรียกว่า “มะขามขี้แมว” ชนิดฝักใหญ่แบนเรียกว่า “มะขามกระดาน” เมล็ดเป็นรูปค่อนข้างกลม ผิวเปลือกเกลี้ยงสีน้ำตาลเข้ม
ขยายพันธุ์ : โดยการเพาะเมล็ด หรือตอนกิ่ง
สภาพที่เหมาะสม : สภาพดินทุกชนิด ชอบแสงแดด
ถิ่นกำเนิด : แอฟริกาเขตร้อน ประเทศซูดาน
ประโยชน์ : มะขามเปียก - ใช้เป็นยาถ่าย และยาแก้ไอกัดเสมหะที่เหนียวข้น เนื่องจากมีกรดอินทรีย์ เช่น กรด trataric และกรด citric เปลือกต้น - เป็นยาสมานคุมธาตุ เนื้อในเมล็ด - ใช้เป็นยาฆ่าพยาธิไส้เดือน ใบและยอดอ่อน - มีรสเปรี้ยว ใช้ในการอาบ อบสมุนไพร

ประวัติศาสตร์ 77 จังหวัดทั่วไทย - Page 2 Tr_36

พิจิตร-บุนนาค

เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ พบได้ในป่าดิบชื้น ตามริมห้วย ลำธาร
ต้นไม้ประจำจังหวัด : พิจิตร
ชื่อสามัญ : Iron Wood, Indian Rose Chestnut
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Mesua ferrea Linn.
วงศ์ : OUTTIFERAE
ชื่ออื่น : ก๊าก่อ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), ก้ำกอ (เงี้ยว-แม่ฮ่องสอน), บุนนาค (ทั่วไป), ปะนาคอ (มลายู-ปัตตานี, สารภีดอย (เชียงใหม่)
ลักษณะทั่วไป : เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่สูง 15–25 เมตร ลำต้นเปลาตรง เปลือกเรียบสีน้ำตาลปนเทา เรือนยอดเป็นพุ่มทึบรูปเจดีย์ต่ำ ใบเป็นใบเดี่ยว สีเขียว รูปไข่ยาวเรียวแคบ ขอบใบเรียบ ท้องใบสีขาวนวลอมเทาเป็นมันคล้ายใบมะปราง ดอกเป็นดอกเดี่ยว ออกเป็นกระจุกสีขาวนวล กลีบดอกมี 5 กลีบและมีกลิ่นหอม เกสรเพศผู้เป็นฝอยสีเหลืองจำนวนมาก ผลเป็นรูปไข่ เปลือกแข็ง
ขยายพันธุ์ : โดยการเพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสม : สภาพดินร่วนปนทราย และดินร่วนที่มีความชุ่มชื้น
ถิ่นกำเนิด : เอเชียเขตร้อน
ประโยชน์ : เนื้อไม้ - เป็นไม้เนื้อแข็งใช้ทำหมอนรถไฟ การก่อสร้าง ด้านร่ม เป็นต้น ใบ-ใช้รักษาบาดแผล แก้แผลสด แก้พิษงู เปลือกต้น -แก้พิษงู แก้ฟกช้ำ แก่น -แก้เลือดออกตามไรฟัน บำรุงโลหิต ดอกแห้ง - เป็นยาฝาดสมาน ขับลมแก้ลมในไส้ บำรุงธาตุ บำรุงโลหิต บำรุงหัวใจ เมล็ด - มีน้ำมันที่กลั่นใช้ผสมเครื่องสำอาง และอื่น ๆ ดอกสด - มีน้ำมันหอมระเหย ปัจจุบันนำมาปลูกเป็นไม้ประดับกันอย่างแพร่หลาย ราก - ขับลมในลำไส้ บำรุงโลหิต แก้กลิ่นเหม็นสาบในร่างกาย

ประวัติศาสตร์ 77 จังหวัดทั่วไทย - Page 2 509448937_2d1732de58

พิษณุโลก-ปีป

ปีบเป็นต้นไม้มีดอกหอมที่มีชื่อเสียงมาตั้งแต่โบราณ วรรณคดีในยุครัตนโกสินทร์ตอนต้นหลายเรื่องได้บรรยายถึงปีบในตอนชมดง เช่น ในบทประพันธ์ของสุนทรภู่ และเรื่องอิเหนาของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (รัชกาลที่ 2) เป็นต้น ปัจจุบันปีบเป็นต้นไม้ที่รู้จักกันดี เพราะมีร่มเงา ร่มรื่น รูปทรงต้นงดงาม ปลูกง่าย ทนทาน ให้ดอกสม่ำเสมอ มีกลิ่นหอมเป็นเอกลักษณ์ ขยายพันธุ์และดูแลรักษาได้ง่าย นิยมปลูกในสวนสาธารณะ ทางเท้า 2 ข้างถนน และตามโรงแรม โรงเรียน หรือบ้านเรือนที่มีบริเวณสนามกว้างพอสมควร เมืองไทยของเรามีต้นไม้ดอกหอมอยู่มากมายให้ชื่นชม ทั้งรูปทรง สีสัน และกลิ่นหอมตลอดทั้งปี น่าเสียหายที่คนไทยอีกมากมายไม่ทราบ และไม่ใช้ประโยชน์ในสิ่งมีค่าของตนอย่างที่ควรจะเป็น ก่อนหมดฤดูฝนปีนี้ขอให้ผู้อ่านหาโอกาสชื่นใจกับรูปทรงและกลิ่นหอมของดอกปีบกันทุกท่าน ถ้าจะให้ดีกว่านั้นก็คือเดินทางไปเยี่ยมเยียนปีบถึงท้องถิ่นต้นกำเนิด คือผืนป่าภาคตะวันตกอันสมบูรณ์และทรงคุณค่าของมวลมนุษยชาติ
ต้นไม้ประจำจังหวัด : พิษณุโลก
ชื่อสามัญ : Cork Tree
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Millingtonia hortensis Linn. F.
วงศ์ : BIGNONIACEAE
ชื่ออื่น : กาซะลอง กาดสะลอง (ภาคเหนือ), เต็กตองโพ่ (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี), ปีบ (ภาคกลาง)
ลักษณะทั่วไป : เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ลำต้นสูงประมาณ 10–20 เมตร เปลือกลำต้นสีเทา ขรุขระ ใบออกเป็นช่อ ลักษณะใบกลมรี ขอบใบเรียบ โคนใบมนใต้ใบเห็นเส้นใบชัดเจน ดอกออกเป็นช่อ ตั้งตรงลักษณะเป็นท่อยาวประมาณ 2–3 นิ้ว สีขาวปนเหลืองขนาด 2 เซนติเมตร ปลายกลีบ ดอกเป็นแฉก 5 แฉก ตรงกลางดอกมีเกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียติดอยู่ด้านในใกล้ปากท่อ ผลมีลักษณะเป็นฝักแบน ภายในมีเมล็ดลักษณะแบน
การขยายพันธุ์ : โดยการเพาะเมล็ด และการปักชำ
สภาพที่เหมาะสม : ดินร่วนซุย แสงแดดจัด หรือกลางแจ้ง
ถิ่นกำเนิด : ไทย, พม่า
ประโยชน์ : ดอก ดอกแห้ง รสหวาน ขม หอม ใช้สูบแก้ริดสีดวงจมูก ปรุงเป็นยาบำรุงน้ำดี บำรุงเลือด บำรุงกำลัง แก้ลม ขยายหลอดลม รักษาโรคหืด ราก รสเผื่อน บำรุงปอด แก้ปอดพิการ แก้วัณโรค แก้เหนื่อย หอบ เปลือกของลำต้นใช้ทำจุกก๊อก (จึงเรียกว่า INDIAN CORK TREE) เนื้อไม้อ่อน สีเหลืองอ่อน ใช้ทำเครื่องเรือน และเครื่องตกแต่งบ้าน ใช้ก่อสร้างในร่มได้

ประวัติศาสตร์ 77 จังหวัดทั่วไทย - Page 2 169377

ลพบุรี-พิกุล

เป็นดอกไม้ที่มีประวัติไม่มากนัก
ต้นไม้ประจำจังหวัด : กำแพงเพชร, ยะลา, ลพบุรี
ชื่อสามัญ : Bullet Wood, Spanish Cherry
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Mimusops elengi Linn.
วงศ์ : SAPOTACEAE
ชื่ออื่น : กุน (ภาคใต้), แก้ว (ภาคเหนือ), ซางดง (ลำปาง), พิกุลป่า (สตูล), พิกุลเขา พิกุลเถื่อน (นครศรีธรรมราช), พิกุล (ทั่วไป)
ลักษณะทั่วไป : พิกุลเป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดกลางสูงประมาณ 8–15 เมตร เป็นพุ่มทรงกลมใบออกเรียงสลับกันใบมนรูปไข่ปลายแหลม ลักษณะโคนใบมน สอบขอบใบโค้งเป็นคลื่นเล็กน้อย ใบเป็นมันสีเขียว ดอกเป็นดอกเดี่ยว ออกดอกเป็นกระจุกตามง่ามใบหรือยอด มีกลีบดอกประมาณ 8 กลีบ เรียงซ้อนกัน กลีบดอกเป็นจักรเล็กน้อย สีขาวนวลมีกลิ่นหอมมาก ผลรูปไข่หรือกลมรีผลแก่มีสีแสด เนื้อในเหลืองรสหวาน ภายในมีเมล็ดเดียว
การขยายพันธุ์ : เพาะเมล็ด, ตอนกิ่ง
สภาพที่เหมาะสม : ดินทุกชนิด แสงแดดจัด
ถิ่นกำเนิด : อินเดีย, พม่า และมาเลเซีย

ประวัติศาสตร์ 77 จังหวัดทั่วไทย - Page 2 DSCN2058

สมุทรปราการ-โพทะเล

เป็นต้นม้ที่มีดอกสวยงาม เป็นต้นไม่ประจำจังหวัดสมุทรปราการแต่ไม่ใช่ดอกไม้ประจำจังหวัดสมุทรปราการ (ดอกไม้ประจำจังหวัดสมุทรปราการคือ ดอกดาวเรือง)
ต้นไม้ประจำจังหวัด : สมุทรปราการ
ชื่อสามัญ : Portia Tree, Cork Tree, Tulip Tree, Rosewood of Seychelles, Coast Cotton Tree, Yellow Mallow Tree
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Thespesia populnea Soland. Ex Correa
วงศ์ : MALVACEAE
ชื่ออื่น : บากู (มลายู-นราธิวาส, ปัตตานี), ปอกะหมัดไพร (ราชบุรี), ปอมัดไซ (เพชรบุรี), โพทะเล (ภาคกลาง)
ลักษณะทั่วไป เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางสูง 10–15 เมตร เปลือกสีน้ำตาลอ่อนอมชมพู ขรุขระ ใบเป็นใบเดี่ยวเรียงสลับ แผ่นใบรูปหัวใจ ดอกสีเหลืองขนาดใหญ่ ออกตามง่ามใบ ออกดอกช่วงเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน ผลโตขนาด 4 ซ.ม. ผิวแข็ง เมล็ดเล็กยาวคล้ายเส้นไหม
ขยายพันธุ์ : เพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสม : ดินทุกชนิด เป็นไม้กลางแจ้ง ชอบแสงแดดจัด ความชุ่มชื้นสม่ำเสมอ ต้องการน้ำมาก
ถิ่นกำเนิด : ป่าชายเลน พบมากทางภาคใต้ และภาคตะวันออก ของไทย
ประโยชน์ : ใช้เป็นดอกไม้ประดับ

ประวัติศาสตร์ 77 จังหวัดทั่วไทย - Page 2 Tr_60

สมุทรสงคราม-จิกทะเล

เป็นต้นไม้ที่ขึ้นตามชายทะเล ถิ่นกำเนิดมาจากประเทศมาดากัสการ์
ต้นไม้ประจำจังหวัด : สมุทรสงคราม
ชื่อสามัญ : ไม่ทราบแน่ชัด
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Barringtonia asiatica (Linn.) Kurz
วงศ์ : MRYTACEAE
ชื่ออื่น : จิกเล (ทั่วไป), โคนเล (ภาคใต้), อามุง (มลายู-นราธิวาส)
ลักษณะทั่วไป : เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง มีลำต้นสูง 10 เมตร แผ่กิ่งก้านสาขาไปทั่วต้น กิ่งมีขนาดใหญ่ มีรอยแผลอยู่ทั่วไป เป็นรอยแผลที่เกิดจากใบที่ร่วงหล่นไป เปลือกต้นมีสีน้ำตาลหรือสีเทา ใบเป็นใบเดี่ยว สีเขียวเข้มสลับกันไปตามข้อต้น ผิวใบเกลี้ยงเป็นมัน ขอบใบเรียบ ออกดอกเป็นช่อสั้นๆ อยู่ตามปลายกิ่ง กลีบดอกสีขาว เกสรสีชมพูอยู่ตรงกลาง ออกดอกช่วงเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม ผลขนาดใหญ่ โคนเป็นสี่เหลี่ยมป้าน ปลายสอบ
ขยายพันธุ์ : เพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสม : ดินร่วนปนทราย หรือดินทราย เป็นไม้กลางแจ้ง
ถิ่นกำเนิด : หมู่เกาะมาดากัสการ์
ประโยชน์ : ปลูกเป็นไม้ดอก ไม้ประดับ

ประวัติศาสตร์ 77 จังหวัดทั่วไทย - Page 2 Alstonia_02-1

สมุทรสาคร-สัตบรรณ

พญาสัตยรรณหรือตีนเป็ดมีเขตการกระจายพันธุ์กว้าง พบตั้งแต่อินเดีย ศรีลังกา จีนตอนใต้ พม่า ภูมิภาคอินโดจีนและภูมิภาคมาเลเซีย จนถึงออสเตรเลีย (ควีนส์แลนด์) และหมู่เกาะโซโลมอน ในไทยพบทั่วประเทศ ขึ้นในป่าเบญจพรรณ ป่าดิบแล้ง และป่าดิบชื้น ระดับความสูง 100-1200 เมตร
ต้นไม้ประจำจังหวัด : สมุทรสาคร
ชื่อสามัญ : White Cheesewood
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Alstonia scholaris R. Br.
วงศ์ : APOCYNACEAE
ชื่ออื่น : กะโนะ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), จะบัน (เขมร-ปราจีนบุรี), ชบา ตีนเป็ด พญาสัตบรรณ (ภาคกลาง), ตีนเป็ดขาว (ยะลา), บะซา ปูแล ปูลา (มลายู-ปัตตานี), ยางขาว (ลำปาง), สัตตบรรณ (ภาคกลาง, เขมร-จันทบุรี) หัสบัน (กาญจนบุรี)
ลักษณะทั่วไป : เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ ลำต้นเป็นพูพอน เปลือกสีเทาดำ มียางสีขาว ใบเป็นใบเดี่ยวออกเป็นวงรอบๆ ข้อ แผ่นใบเป็นรูปไข่กลับ ปลายใบมนเว้าเข้าเล็กน้อย เส้นใบถี่ขนานกัน ออกดอกเป็นกระจุกช่อใหญ่สีขาวที่ปลายกิ่ง ก้านช่อดอกออกซ้อนกันเหมือนฉัตรประมาณ 2–3 ชั้น กลีบรองดอกมีขนาดเล็ก มีขนสีขาวอมเหลืองนวล กลิ่นหอม ผลเป็นฝักยาวเหมือนถั่วฝักยาว เมื่อแก่จัดจะแตกเป็น 2 ซีก มีเมล็ดจำนวนมาก ลักษณะเมล็ดเป็นรูปขนานแบนๆ
ขยายพันธุ์ : เพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสม : ดินร่วนซุย แสงแดดจัด
ถิ่นกำเนิด : หมู่เกาะโซโลมอนและมาเลเซีย และป่าดงดิบภาคใต้ ตะวันออกเฉียงใต้ และภาคตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศไทย
ประโยชน์ : เนื้อไม้ใช้ทำดินสอ ดอกไม้จันทน์ ไม้อัด ดอก แก้ไข้ ตัวร้อน เปลือกต้น แก้ไข้ สมานลำไส้ แก้บิด กระพี้ ขับผายลม ราก ขับลมในลำไส้ ใบ ตำพอก ดับพิษต่างๆ ใบอ่อน ชงน้ำดื่มแก้โรคลักปิดลักเปิด ต้นเป็นไม้ประดับตามสวนและวัด ถิ่นกำเนิด เอเชียและแอฟริกาเขตร้อน นิเวศน์วิทยา ขึ้นตามป่าละเมาะและป่าดิบทั่วไป

ประวัติศาสตร์ 77 จังหวัดทั่วไทย - Page 2 Tabak_25Feb2007%20016

สระบุรี-ตะแบก

คนไทยโบราณเชื่อว่า บ้านใดปลูกต้นตะแบกไว้ประจำบ้านจะทำให้มีฐานะสูงขึ้น และมีความมั่นคง แข็งแรง เพราะ แบก คือ การแบกไว้ไม่ให้ตกสามารถยกขึ้นไว้ให้สูงไม่ให้ตกต่ำดังนั้นจึงมีแรงมากบางคนก็เรียกต้องตะแบกว่าเสลา หมายถึง ความแข็งแรงแข็งแกร่งเหมือนกับหินนอกจากนี้ยังมีคนโบราณเรียกต้นตะแบกว่า อินทนิล ซึ่งมีความหมายว่าพระอินทร์ผู้เป็นใหญ่ในสวรรค์ซึ่งมีอิทธิฤทธิ์มากซึ่งช่วยคุ้มครองปวงชนทั้งโลก ดังนั้นต้นตะแบกจึงเป็นไม้มงคลนาม
ต้นไม้ประจำจังหวัด : สระบุรี
ชื่อสามัญ : Cananga
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Lagerstroemia floribunda Jack
วงศ์ : LYTHRACEAE
ชื่ออื่น : กระแบก (สงขลา), ตราแบกปรี้ (เขมร), ตะแบกไข่ (ราชบุรี, ตราด), ตะแบกนา ตะแบก (ภาคกลาง, นครราชสีมา), บางอตะมะกอ (มลายู-ยะลา, ปัตตานี), บางอยะมู (มลายู-นราธิวาส), เปื๋อยนา (ลำปาง), เปื๋อยหางค่าง (แพร่)
ลักษณะทั่วไป : เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบสูง 15–30 เมตร เปลือกเรียบสีเทาอมขาว แตกล่อนเป็นหลุมตื้น ใบเป็นใบเดี่ยว ออกตรงข้ามกัน แผ่นใบรูปขอบขนานแกมรูปหอก ปลายใบเป็นติ่งแหลม โคนใบสอบ ดอกสีม่วงอมชมพู ออกรวมกันเป็นช่อตามปลายกิ่ง ออกดอกช่วงเดือนธันวาคม-กุมภาพันธ์ ผลรูปรี เมล็ดมีปีก
ขยายพันธุ์ เพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสม : ดินร่วนซุย ไม้กลางแจ้ง ต้องการน้ำและความชื้นปานกลาง
ถิ่นกำเนิด : มาเลเซีย
ประโยชน์ : เปลือก ใช้ปรุงเป็นยาแก้บิด ลงแดง และมูกเลือด วิธีใช้ทางยา แก้บิด ใช้เปลือกต้นครึ่งกำมือสับให้เป็นชิ้นเล็กๆ ต้มกับน้ำ 1 ถ้วยแก้ว เคี่ยวให้เหลือ ค่อนแก้วดื่มเฉพาะน้ำ

ประวัติศาสตร์ 77 จังหวัดทั่วไทย - Page 2 Tr_64

สิงห์บุรี-มะกล่ำต้น

มะกล่ำต้นเป็นไม้ต้นขนาดกลางถึงใหญ่ ใบ ประกอบแบบขนนกสองชั้น ใบเรียงสลับ ดอกช่อ ช่อแยกแขนง ช่อย่อยรูปทรงกระบอก
ต้นไม้ประจำจังหวัด : สิงห์บุรี
ชื่อสามัญ : Red Sandalwood Tree, Coralwood Tree
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Adenanthera pavonina Linn.
วงศ์ : LEGUMINOSAE
ชื่ออื่น : มะกล่ำต้น มะกล่ำตาช้าง (ทั่วไป), มะแค้ก หมากแค้ก (เงี้ยว-แม่ฮ่องสอน), มะแดง มะหัวแดง มะโหดแดง (ภาคเหนือ), บนซี (สตูล), ไพเงินกล่ำ (นครศรีธรรมราช), ไพ (มลายู-ภาคใต้), มะกล่ำตาไก่ (ภาคเหนือ)
ลักษณะทั่วไป : เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบขนาดกลางสูงประมาณ 5–20 เมตร เรือนยอดเป็นพุ่มกลม ยอดอ่อนมีขนนิ่มสีน้ำตาลปนเทา ใบเป็นใบประกอบ ออกดอกเป็นช่อกลมยาว สีเหลือง มีก้านดอกสั้น กลิ่นหอมเย็น ออกดอกช่วงเดือนมีนาคม-พฤษภาคม ผลเป็นฝักแบน บิดงอคล้ายฝักมะขามเทศ เมล็ดสีแดงแบนกลม
ขยายพันธุ์ : เพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสม : ดินร่วนซุย ระบายน้ำได้ดี แสงแดดจัด
ถิ่นกำเนิด : ป่าเบญจพรรณและป่าดิบทั่วไปในประเทศไทย
ประโยชน์ : เนื้อไม้ ใช้ปลูกบ้าน ไม้เนื้อแข็ง ทนทาน ขัดชักเงาได้ดี เนื้อไม้ใช้ย้อมผ้าให้แดง รักษาหืด แก้ปวดศีรษะ ราก ขับเสมหะ แก้สะอึก อาเจียน เมล็ด ใช้ผสมน้ำผึ้ง กินแก้จุกเสียด แก้หนองใน แก้ริดสีดวง รักษาบาดแผล

ประวัติศาสตร์ 77 จังหวัดทั่วไทย - Page 2 Tr_65

สุโขทัย-มะค่าโม่ง

เป็นชื่อของไม้เนื้อแข็งยืนต้นที่มีขนาดใหญ่ชนิดหนึ่งที่สามารถปลูกเป็นไม้ทางเศรษฐกิจได้
ต้นไม้ประจำจังหวัด : สุโขทัย
ชื่อสามัญ : ไม่ทราบแน่ชัด
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Afzelia xylocarpa (Kurz) Craib
วงศ์ : LEGUMINOSAE
ชื่ออื่น : เขง เบง (เขมร-สุรินทร์), บิง (ชอง-จันทบุรี), ปิ้น (ชาวบน-นครราชสีมา), มะค่าโมง มะค่าใหญ่ (ภาคกลาง), มะค่าหลวง มะค่าหัวคำ (ภาคเหนือ)
ลักษณะทั่วไป : เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่สูง 30 เมตร แตกกิ่งต่ำ เรือนยอดเป็นพุ่มแผ่กว้าง เปลือกสีน้ำตาลอ่อนหรือชมพูอมน้ำตาล กิ่งอ่อนมีขนคลุมบางๆ ใบเป็นใบประกอบแบบขนนกเรียงสลับ รูปไข่แกมขอบขนาน ก้านใบสั้น ปลายใบมนเว้าตื้นๆตรงกลาง ฐานใบมนหรือตัด ออกดอกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง กลีบเลี้ยงสีเขียว 4 กลีบ กลีบดอกสีชมพู 1 กลีบ ออกดอกเดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม ผลเป็นฝักแบน เปลือกแข็งและหนา
ขยายพันธุ์ : เพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสม : ดินทุกชนิด ชอบดินร่วน
ถิ่นกำเนิด : ป่าเบญจพรรณและป่าดิบแล้งใกล้แหล่งน้ำ ทุกภาคของไทย ยกเว้นภาคใต้
ประโยชน์ : เนื้อไม้ ใช้ทำเสา ทำไม้หมอนรองรางรถไฟ ใช้ในการก่อสร้างต่าง ๆ ทำเป็นพื้น รอด ตรง และเครื่องบนได้ทนทานและแข็งแรงดี ทำเครื่องเรือนและไม้บุผนังที่สวยงาม ทำเรือใบเดินทะเล และไม้พื้นเรือ ทำไถ คราด ครก สาก กระเดื่อง ลูกหีบ ส่วนประกอบต่าง ๆ ของเกวียน และตัวถังรถ ใช้สำหรับกลึง แกะสลัก ทำพานท้ายและรางปืน กลอง โทน รำมะนา ด้ามปากกา ปุ่มไม้มะค่ามีลวดลายสวยงามดีและราคาแพง ใช้ทำเครื่องเรือนและเครื่องใช้ชั้นสูง เฟอร์นิเจอร์ไม้มะค่าโมงได้รับความนิยมสูง เปลือก ให้น้ำฝาดชนิด Pyrogalool และ Catechol เมล็ด เนื้อในเมล็ดอ่อนใช้รับประทานเป็นอาหารได้

ประวัติศาสตร์ 77 จังหวัดทั่วไทย - Page 2 Tr_66

สุพรรณบุรี-มะเกลือ

วงศ์มะเกลือทั่วโลกมี 2-4 สกุล ประมาณ 500 ชนิด เขตการกระจายพันธุ์ส่วนใหญ่อยู่ในเขตร้อนและกึ่งเขตร้อน ในไทยพบเพียงสกุลเดียวคือสกุล มะเกลือ Diospyros
ต้นไม้ประจำจังหวัด : สุพรรณบุรี
ชื่อสามัญ : Ebony Tree
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Diospyros mollis Griff.
วงศ์ : EBENACEAE
ชื่ออื่น : ผีเผา (เงี้ยว-ภาคเหนือ), มะเกลื้อ (ทั่วไป), มักเกลือ หมักเกลือ มะเกลือ (ตราด), มะเกีย มะเกือ (พายัพ-ภาคเหนือ), เกลือ (ภาคใต้)
ลักษณะทั่วไป : เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางจนถึงขนาดใหญ่ เปลือกเป็นรอยแตก กิ่งอ่อนมีขนนุ่มประปราย ใบขนาดเล็ก รูปไข่หรือรูปรี ปลายสอบแคบเข้าหากัน ส่วนโคนใบกลมมน เนื้อใบบางเกลี้ยง ท้องใบเห็นเส้นใบชัด ออกดอกเป็นช่อตามง่ามใบ ดอกเพศผู้และเพศเมียอยู่ต่างต้นกัน โคนกลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นรูปถ้วย ผลเป็นผลสดทรงกลม ผลอ่อนมีเปลือกสีเขียว เมื่อสุกจะเปลี่ยนเป็นสีดำ
ขยายพันธุ์ : เพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสม : ดินทุกชนิด
ถิ่นกำเนิด : เอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ประโยชน์ : ผล มะเกลือดิบมีสรรพคุณเป็นยาขับพยาธิที่คนไทยรู้จักและใช้กันมานาน ผล


แก้ไขล่าสุดโดย Volwar เมื่อ Tue Dec 07, 2010 8:38 pm, ทั้งหมด 1 ครั้ง
Volwar
Volwar
Webmaster
Webmaster

จำนวนข้อความ : 572
คะแนน : 770
คะแนนชื่อเสียง : 14
Join date : 23/01/2010
Age : 30
ที่อยู่ : ถนนเจริญยาก ถนนไม่มีรถเมล์ กทม.

ขึ้นไปข้างบน Go down

ประวัติศาสตร์ 77 จังหวัดทั่วไทย - Page 2 Empty Re: ประวัติศาสตร์ 77 จังหวัดทั่วไทย

ตั้งหัวข้อ by *!!~AlFeiLai~!!* Fri May 21, 2010 6:07 pm

ว้าว สวยง่า>O< เสลาสวยสุดยอด>A< แต่ว่าตะเกรียบงั้นหรอแปลกกว่าเดิมเลยแฮะ=A=;;
*!!~AlFeiLai~!!*
*!!~AlFeiLai~!!*
B Class
B Class

จำนวนข้อความ : 265
คะแนน : 299
คะแนนชื่อเสียง : 21
Join date : 28/03/2010
Age : 28
ที่อยู่ : Thailand

https://twitter.com/spellsunnn

ขึ้นไปข้างบน Go down

ประวัติศาสตร์ 77 จังหวัดทั่วไทย - Page 2 Empty Re: ประวัติศาสตร์ 77 จังหวัดทั่วไทย

ตั้งหัวข้อ by Hiyura Sun May 23, 2010 2:50 pm

สวยมักๆ
Hiyura
Hiyura
F Class
F Class

จำนวนข้อความ : 10
คะแนน : 20
คะแนนชื่อเสียง : 2
Join date : 11/05/2010
Age : 28
ที่อยู่ : 12/131 ม.1 ต.คลองสอง อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี 12120

http://my.dek-d.com/kayka/

ขึ้นไปข้างบน Go down

ประวัติศาสตร์ 77 จังหวัดทั่วไทย - Page 2 Empty ต้นไม้ไทยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ตั้งหัวข้อ by Volwar Sun May 23, 2010 4:57 pm

ประวัติศาสตร์ 77 จังหวัดทั่วไทย - Page 2 Tr_04

กาฬสินธุ์-มะหาด
เป็นไม้ยืนต้นในวงศ์ Moraceae ต้นกำเนิดจากทวีปเอเชียใต้ นิยมปลูกเอาไว้ใช้ประโยชน์ทุกส่วนของต้น สามารถเจริญเติบโตได้ในดินทราย ดินร่วนปนทราย ดินร่วน และ ดินเหนียว มีความทนทานต่อความแห้งแล้งได้ดีมาก ชอบบริเวณที่มีความชื้นสูงและแสงแดดเข้าถึงได้น้อย มักขึ้นกระจายตามป่าดิบทั่วไป
ต้นไม้ประจำจังหวัด : กาฬสินธุ์
ชื่อสามัญ : Lok Hat
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Artocarpus lakoocha Roxb.
วงศ์ : URTICACEAE
ชื่ออื่น : กาแย ตาแป ตาแปง (มลายู-นราธิวาส), มะหาด (ภาคใต้), มะหาดใบใหญ่ (ตรัง), หาด (ทั่วไป)
ลักษณะทั่วไป : เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ ลำต้นตั้งตรง ผิวเปลือกนอกขรุขระแตกเป็นรอยสะเก็ดเล็กๆ มียางไหลซึม ใบเป็นใบเดี่ยว รูปไข่ ปลายใบแหลม โคนใบเว้ามน ใบอ่อนมีขน ออกดอกเป็นช่อตามบริเวณง่ามใบ มีสีเหลือง ออกดอกช่วงเดือนกุมภาพันธ์-เมษายน ผลกลมขนาดใหญ่เปลือกนอกมีผิวขรุขระ
ขยายพันธุ์ : โดยการเพาะเมล็ด หรือตอนกิ่ง
สภาพที่เหมาะสม : เจริญเติบโตได้ดีในดินทุกชนิด ทนแล้ง
ถิ่นกำเนิด : เอเชียใต้
ประโยชน์ : ต้นมะหาดที่สามารถนำมาใช้ผลประโยชน์ได้นั้นจะต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 5 ปี ทางสมุนไพร
แก่น - ใช้แก่นมะหาดสับเป็นชิ้นเล็ก ๆ ต้มเคี่ยวกับน้ำจนเกิดฟอง ช้อนฟองออก กรองกับผ้าขาวบาง พักสะเด็ดน้ำ แล้ว นำมาตากให้แห้งหรือย่างกับไฟ นำมาบดจะได้ผงสีเหลืองเรียกว่า "ปวกหาด" ใช้ผงประมาณ 3 - 4 กรัมหรือ 1 - 2 ช้อนชา ผสมกับน้ำสุกที่เย็นแล้ว สามารถผสมน้ำมะนาวลงไปด้วย รับประทานก่อนอาหารเช้า หลังปวดหาดไปแล้ว 2 ชั่วโมง ให้รับประทานดีเกลือตาม เพื่อถ่ายตัวพยาธิออกมา สามารถทานแก้อาการท้องผูก ท้องอืด ท้องเฟ้อได้หรือนำผงปวกหาดมาละลายกับน้ำ ทาแก้ผื่นคัน ราก - ใช้ลดอาการไข้ แก้กระษัยเส้นเอ็น ขับถ่ายถ่ายพยาธิ แก้พิษร้อน เปลือก - ใช้ลดอาการไข้ ทางนิเวศน์ ต้นไม้ -ให้ความร่มรื่น ให้ร่มเงา ป้องกันการพังทลายของหน้าดิน
[แก้] ทางเนื้อไม้ เป็นไม้เนื้อหยาบ แข็ง เหนียวและทนทาน ปลวกและมอดไม่ขึ้น สามารถเลื่อย,ไส,ตบแต่ง ได้ง่าย เนื้อไม้ - ใช้ทำเสา หมอนรองรางรถไฟ สะพาน ด้ามเครื่องมือทางการเกษตร ผืนระนาดเอก ผืนระนาดทุ้ม และลูกโปงลาง ด้านโภชนาการ ผลไม้ - เมื่อสุกสามารถรับประทานได้ เนื้อเยื่อหุ้มเมล็ดมีรสเปรี้ยวอมหวาน
ด้านสารสกัดสารสกัด - ลดอาการผมร่วง กระตุ้นการงอกของเส้นผม แก้โรคเริม ช่วยทำให้ผิวหนังขาวขึ้น
ด้านเบ็ดเตล็ด ราก - ย้อมสีผ้า (ให้สีเหลือง) เปลือก - นำไปทำเชือก

ประวัติศาสตร์ 77 จังหวัดทั่วไทย - Page 2 450212_010

ขอนแก่น-กัลปพฤกษ์
ชื่อ กัลปพฤกษ์ ในวรรณคดีถือว่าเป็น 1 ใน 5 ของไม้สวรรค์ ที่เป็นไม้สมมติเพื่อใช้ในการโปรยทาน ทิ้งทาน หรือเสียงทายเพื่อให้ได้สิ่งของใดๆ ภาษาอังกฤษใช้คำว่า “Wishing tree” กัลปพฤกษ์บางครั้งเรียกว่ากำมพฤกษ์ ซึ่งลูกกัลปพฤกษ์มักใช้ลูกมะกรูดหรือมะนาว ไม้กัลปพฤกษ์ในความหมายดังกล่าวมีกล่าวในหนังสือไตรภูมิพระร่วงของพญาลิไทว่า “แลในแผ่นดินอุตรกุรุทวีปนั้น มีต้นกัลปพฤกษ์ต้นหนึ่งสูงได้ 100 โยชน์ โดยกว้างได้ ๑๐๐ โยชน์ โดยรอบบริเวณมณฑลได้ 300 โยชน์ แลต้นกัลปพฤกษ์นั้น ผู้ใดจะปรารถนาหาทุนทรัพย์ สรรพเหตุอันใด ๆ ก็ดี ย่อมได้สำเร็จในต้นไม้นั้นทุกประการแล ถ้าแลคนผู้ใดปรารถนาจะใคร่ได้เงินและทองของแก้วและเครื่องประดับนี้ทั้งหลาย เป็นต้นว่าเสื้อสร้อยสนิมพิมพาภรณ์ ก็ดี แลผ้าผ่อนแพรพรรณสิ่งใด ๆ ก็ดี แลข้าวน้ำโภชนาหารของกินสิ่งใดก็ดี ก็ย่อมบังเกิดปรากฏขึ้น แต่ค่าคบกัลปพฤกษ์นั้น ก็ให้สำเร็จความปรารถนาแก่ชนทั้งหลายนั้นแล ฯ” และมีบางตำราว่า กัลปพฤกษ์ คือต้นมะพร้าว มาจากภาษาสันสกฤต Kalapavriksha ซึ่งหมายถึงต้นไม้ที่ให้สิ่งจำเป็นแก่มนุษย์ อนึ่ง ไม้กัลปพฤกษ์มักใช้ในงานพิธีมงคลต่างๆ หรือพิธีศพของพระมหากษัตริย์
ต้นไม้ประจำจังหวัด : ขอนแก่น
ชื่อสามัญ : Pink Cassia, Pink Shower, Wishing Tree
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cassia bakeriana Craib.
วงศ์ : LEGUMINOSAE
ชื่ออื่น : กัลปพฤกษ์ (ภาคกลาง, ภาคเหนือ), กานล์ (เขมร-สุรินทร์), เปลือกขม (ปราจีนบุรี)
ลักษณะทั่วไป : กัลปพฤกษ์เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง สูง 5–15 เมตร ผลัดใบ เรือนยอดกลมหรือรูปร่ม แผ่กว้าง ใบประกอบขนนก ใบย่อย 5–8 คู่ ใบรูปไข่แกมขอบขนาน หรือแกมใบหอก โคนใบเบี้ยว ใบมีขนนุ่มทั้งสองด้าน ออกดอกเป็นช่อพร้อมใบอ่อนตามกิ่ง มี 5 กลีบ สีชมพู แล้วซีดจนเป็นสีขาวเมื่อใกล้โรย ออกดอกเดือนกุมภาพันธ์–เมษายน ผลเป็นฝักกลมยาวมีขนนุ่ม สีเทา เมล็ด จำนวนมาก
การขยายพันธุ์ : เพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสม : เติบโตได้ดีในดินร่วนปนทราย ทนแล้งได้ดี
ถิ่นกำเนิด : ไทย ลาว พม่า และเวียดนาม
ประโยชน์ : ฝักใช้ทำยา เนื้อไม้และเปลือกมีสารฝาดใช้ฟอกหนัง เนื้อในฝักเป็นยาระบายอ่อน ๆ ไม้เป็นไม้มงคล ปลูกประดับ

ประวัติศาสตร์ 77 จังหวัดทั่วไทย - Page 2 Tr_1

ชัยภูมิ-ขี้เหล็กบ้าน
เนื้อไม้ขี้เหล็กบ้านมีสีน้ำตาล แก่เกือบดำ ค่อนข้างหยาบ แข็ง เหนียว หนักมาก สันนิษฐานว่า จากลักษณะของเนื้อไม้นี่เองทำให้ชาวไทยเรียกต้นไม้ชนิดนี้ว่า “ขี้เหล็ก” เพราะคงมีสีใกล้เคียงกับส่วนที่เหลือจากการถลุงแร่เหล็ก (หรือขี้เหล็ก)
ต้นไม้ประจำจังหวัด : ชัยภูมิ
ชื่อสามัญ: Thai Copper Pod
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cassia siamea Lank.
วงศ์ : LEGUMINOSAE
ชื่ออื่น : ขี้เหล็กแก่น (ราชบุรี), ขี้เหล็กหลวง (ภาคเหนือ), ขี้เหล็กใหญ่ (ภาคกลาง), ขี้เหล็กบ้าน (ลำปาง), ผักจีลี้ (เงี้ยว-แม่ฮ่องสอน), มะขี้เหละพะโดะ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), ยะหา (มลายู-ปัตตานี)
ลักษณะทั่วไป : เป็นไม้ยืนต้น เปลือกสีเทาอมน้ำตาลแตกตามยาวเป็นร่อง ใบเป็นใบประกอบแบบขนนกเรียงสลับกัน ออกดอกเป็นช่อสีเหลืองที่ปลายกิ่ง ฝักแบนสีน้ำตาล
ขยายพันธุ์ : โดยการเพาะเมล็ด และตอนกิ่ง
สภาพที่เหมาะสม : ดินทุกชนิด ทนแล้ง ต้องการน้ำปานกลา
ถิ่นกำเนิด : ทวีปเอเชีย
ประโยชน์ : ให้ร่มเงาตลอดปี จึงนิยมปลูกเป็นแนวข้างถนน เพื่อกันลม กันไฟป่า เป็นร่มเงาในสวนสาธารณะ หรือบริเวณบ้าน เป็นแนวระดับบนพื้นที่ลาดชัน ป้องกันการชะล้างพังทลายของดิน ใช้เป็นปุ๋ยพืชสดบำรุงดิน ใช้เลี้ยงครั่ง
ไม้ขี้เหล็กบ้านใช้ทำประโยชน์ได้มากมาย เช่น ปลูกบ้าน ทำเครื่องเรือน เครื่องมือต่างๆ และเผาถ่านก็ให้ความร้อนสูง
สรรพคุณด้านสมุนไพรของขี้เหล็กมีหลายประการ คนไทยนิยมใช้ยอดและดอกมะขามอ่อนนำมาทำเป็นยาระบายอ่อนๆ หากต้องการให้ระบายแรงก็ใช้แก่น ซึ่งใช้รักษากามโรค แผล ฝี และขับน้ำคาวปลาได้ด้วย ใบแก่ ใช้ขับระดูขาว แก้นิ่ว ขับปัสสาวะ ดอกบาน ใช้ลดความดันโลหิต แก้หืด แก้รังแค เปลือก ใช้แก้ริดสีดวง

ประวัติศาสตร์ 77 จังหวัดทั่วไทย - Page 2 Gungrou

นครพนม-กันเกรา (มันปลา)
เป็นต้นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงใหญ่ ขึ้นโดยทั่วไปในทุกภาคของประเทศไทย ในช่วงเดือนเมษายนถึงเดือนมิถุนายนจะออกดอกเป็น ช่อสีเหลือง มีกลิ่นหอมขจรขจาย
ต้นไม้ประจำจังหวัด : นครพนม
ชื่อสามัญ : Anan, Tembusu
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Fagraea fragrans Roxb.
วงศ์ : LOGANIACEAE
ชื่ออื่น : กันเกรา (ภาคกลาง), ตะมะซู ตำมูซู (มลายู-ภาคใต้), ตาเตรา (เขมร-ภาคตะวันออก), ตำเสา ทำเสา (ภาคใต้), มันปลา (ภาคเหนือ, ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ)
ลักษณะทั่วไป : ต้นสูงประมาณ 20–30 เมตร ไม่ผลัดใบ เรือนยอดรูปไข่หรือรูปกรวยคว่ำ หนาทึบ ใบเดี่ยว รูปรีหรือแกมใบหอก สีเขียวเข้มเป็นมัน ใต้ใบสีอ่อน ออกดอกเป็นช่อจำนวนมากที่ปลายกิ่ง ดอกสีขาว แล้วเปลี่ยนเป็นสีเหลืองเมื่อใกล้โรย มีกลิ่นหอมเย็น ลักษณะดอกคล้ายแจกัน ออกดอกตลอดปี
การขยายพันธุ์ : โดยการเพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสม : เติบโตได้ดีในที่ชื้นแฉะ แสงแดดจัด
ถิ่นกำเนิด : ป่าเบญจพรรณและตามที่ใกล้แหล่งน้ำใน ประเทศอินเดีย, มาเลเซีย, พม่า, เวียดนาม และประเทศไทย
ประโยชน์ : ประโยชน์ได้แก่ เนื้อไม้สีเหลืองอ่อน เสี้ยนตรง เนื้อละเอียด เหนียว แข็ง ทนทาน ใช้ในการก่อสร้าง นิยมใช้ทำเสาเรือน แก่นมีรสฝาดใช้เข้ายาบำรุงธาตุ แน่นหน้าอก เปลือกใช้บำรุงโลหิต ผิวหนังพุพอง ปลูกเป็นไม้ประดับ ลักษณะลำต้นที่สวยงามทั้งลวดลายของเปลือกและเนื้อไม้ เหมาะแก่การนำไปใช้ประโยชน์ทำเครื่องเรือนและเครื่องใช้ต่าง ๆ มีน้ำมันหอมระเหยที่เปลือก

ประวัติศาสตร์ 77 จังหวัดทั่วไทย - Page 2 Sathon01

นครราชสีมา-สาธร
สาธร เป็นพันธุ์ไม้พระราชทานเพื่อปลูกเป็นมงคลของจังหวัดนครราชสีมา
ต้นไม้ประจำจังหวัด : นครราชสีมา
ชื่อสามัญ : Yellow cotton tree
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Millettia leucantha Kurz
วงศ์ : LEGUMINOSAE
ชื่ออื่น : กระเจาะ ขะเจาะ (ภาคเหนือ), กระพีเขาควาย (ประจวบคีรีขันธ์), กะเชาะ (ภาคกลาง), ขะแมบ คำแมบ (เชียงใหม่), สาธร (ภาคเหนือ)
ลักษณะทั่วไป : เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบ สูง 18-19 เมตร เรือนยอดเป็นพุ่มทึบ ค่อนข้างกลมหรือทรงกระบอก เปลือกสีเทาเรียบหรือ แตกเป็นสะเก็ดเล็กๆ ใบเป็นใบประกอบเรียงสลับ ใบย่อยติดเป็นคู่ตรงกันข้าม 3-5 คู่ ปลายสุดเป็นใบเดี่ยว แผ่นใบ ย่อยรูปรี กว้าง 3-5 ซม. ยาว 5-12 ซม. ปลายใบแหลม โคนใบมน ใบและยอดอ่อนมีขนยาว ดอกสีขาว รูปดอกถั่ว สีชมพูอ่อน ออกเป็นช่อตามง่ามใบและปลายกิ่ง ออกดอกระหว่างเดือนมีนาคม-เดือนพฤษภาคม
การขยายพันธุ์ : โดยการเพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสม : เป็นไม้กลางแจ้ง เจริญเติบโตได้ดีในสภาพดินร่วน ต้องการน้ำและความชื้นมาก
ถิ่นกำเนิด : ในไทยทางภาคกลาง ภาคเหนือ ตะวันออกเฉียงเหนือ ต่างประเทศพบที่พม่าและลาว

บึงกาฬ-ยังไม่มี

ประวัติศาสตร์ 77 จังหวัดทั่วไทย - Page 2 Tr_27

บุรีรัมย์-กาฬพฤกษ์
เป็นต้นไม้ที่มีชื่อคล้ายกับต้นกัลปพฤกษ์ เป็นต้นไม้ประจำจังหวัดบุรีรัมย์
ต้นไม้ประจำจังหวัด : บุรีรัมย์
ชื่อสามัญ : Pink Shower, Horse Cassia
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cassia grandis Linn. F.
วงศ์ : LEGUMINOSAE
ชื่ออื่น : กัลปพฤกษ์ (กรุงเทพฯ)
ลักษณะทั่วไป : เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบสูงประมาณ 20 เมตร โคนมีพูพอน เปลือกสีดำแตกเป็นร่องลึก กิ่งอ่อนหรือช่อดอกมีขนสีน้ำตาล ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนกเรียงสลับ ใบย่อย 10–20 คู่ ใบอ่อนสีแดง แผ่นใบย่อยรูปขอบขนาน หลังใบเป็นมัน ท้องใบมีขน ดอก เมื่อเริ่มบานจะมีสีแดง แล้วเปลี่ยนเป็นสีชมพูและสีสันตามลำดับ ออกดอกระหว่างเดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม ผลเป็นฝักรูปทรงกระบอก
ขยายพันธุ์ : โดยการเพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสม : สภาพดินทุกชนิด ทนแล้งได้ดี ชอบความชื้นน้อย
ถิ่นกำเนิด : ถิ่นกำเนิดอเมริกาเขตร้อน
ประโยชน์ : ปลูกเป็นไม้ประดับ เนื้อไม้และเปลือกมีสารฝาด ใช้ฟอกหนัง

ประวัติศาสตร์ 77 จังหวัดทั่วไทย - Page 2 Tr_42

มหาสารคาม-พฤกษ์
ในอดีตที่คนไทยภาคกลางเรียกพฤกษ์ว่าจามจุรีหรือจามรี น่าจะเป็นเพราะลักษณะดอกเป็นฝอย และมีสีออกเหลืองคล้ายแส้ขนจามรี (จามจุรี) ที่ใช้ในพิธีมงคลนั่นเอง ส่วนที่ได้ชื่อว่าก้ามปู ก็เพราะลักษณะตอนปลายช่อใบคล้ายก้ามปูทะเล จึงเรียกว่า ต้นก้ามปู ลักษณะพิเศษอย่างหนึ่งของต้นพฤกษ์ ก็คือ กลางคืนใบจะหุบลีบติดกัน เหมือนนอนหลับและแผ่ออกจากกันตอนเช้าไปจนตลอดวัน
ต้นไม้ประจำจังหวัด : มหาสารคาม
ชื่อสามัญ : Siris, Kokko, Indian Walnut
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Albizia lebbeck Benth.
วงศ์ : LEGUMINOSAE
ชื่ออื่น : ก้ามปู ชุงรุ้ง พฤกษ์ (ภาคกลาง), กะซึก (พิจิตร), กาแซ กาไพ แกร๊ะ (สุราษฎร์ธานี), ก้านฮุ้ง (ชัยภูมิ), กรีด (กระบี่), คะโก (ภาคกลาง), จเร (เขมร-ปราจีนบุรี), จ๊าขาม (ภาคเหนือ), จามจุรี ซึก (กรุงเทพฯ), ตุ๊ด ถ่อนนา (เลย), ทิตา (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี), พญากะบุก (อรัญประเทศ), มะขามโคก มะรุมป่า (นครราชสีมา), ชุ้งรุ้ง มะรุมป่า (นครราชสีมา), กระพี้เขาควาย (เพชรบุรี)
ลักษณะทั่วไป : เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงใหญ่ สูง 20–30 เมตร ผลัดใบ เปลือกนอกขรุขระ สีเทาแก่ แตกเป็นร่องยาว เปลือกในสีแดงเลือดนก กระพี้สีขาว แยกจากแก่น กิ่งอ่อนเกลี้ยงหรือมีขนละเอียดประปราย ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก แกนช่อใบยาว บนแก่นช่อมีช่อแขนงด้านข้าง ใบรูปรี ปลายใบมน โคนใบกลมหรือเบี้ยว หลังใบเกลี้ยง ท้องใบมีขนละเอียด ออกดอกสีขาวเป็นช่อกลมตามง่ามใบใกล้ปลายกิ่ง กลิ่นหอม ออกดอกช่วงเดือนมีนาคม-เมษายน ผลเป็นฝักรูปบรรทัด แบนและบาง สีเทาอมเหลือง หรือสีฟางข้าว ผิวเกลี้ยงเป็นมัน เมล็ดรูปไข่
ขยายพันธุ์ : โดยการเพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสม : สภาพดินที่เสื่อมโทรม เป็นไม้โตเร็ว
ถิ่นกำเนิด : เอชียเขตร้อน
ประโยชน์ : เมล็ดและเปลือก : มีรสฝาด เป็นยาสมาน เช่น รักษาแผลในปาก, ในลำคอ, เหงือกหรือฟันผุ, ริดสีดวงทวารหนัก, แก้ท้องร่วง, ห้ามเลือดตกใน เมล็ด รักษากลากเกลื้อน, โรคเรื้อน, ทำยารักษาเยื่อตาอักเสบ ใบ ใช้ดับพิษร้อน ทำให้เย็น

ประวัติศาสตร์ 77 จังหวัดทั่วไทย - Page 2 Tr_43

มุกดาหาร-ช้างน้าว
เป็นดอกไม้สีเหลืองสวยงามชนิดหนึ่ง เป็นสมุนไพรพื้นบ้านอีสาน และเป็นดอกไม้ประจำจังหวัดมุกดาหาร
ต้นไม้ประจำจังหวัด : มุกดาหาร
ชื่อสามัญ : ไม่ทราบแน่ชัด
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Ochna integerrima (Lour.) Merr.
วงศ์ : OCHNACEAE
ชื่ออื่น : กระแจะ (ระนอง), กำลังช้างสาร (กลาง), ขมิ้นพระต้น (จันทบุรี), ควุ (กะเหรี่ยง-นครสวรรค์), แง่ง (บุรีรัมย์), ช้างน้าว ตานนกกรด (นครราชสีมา), ช้างโน้ม (ตราด), ช้างโหม (ระยอง), ตาชีบ้าง (กะเหรี่ยง-เชียงใหม่), ตาลเหลือง (เหนือ), ฝิ่น (ราชบุรี), โว้โร้ (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี)
ลักษณะทั่วไป : ต้นสูง 3–8 เมตร ผลัดใบ เรือนยอดรูปใบหอก ขอบใบจักถี่ ใบเรียบเกลี้ยงเป็นมัน ออกดอกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง 2–8 ดอก มี 5–10 กลีบ สีเหลืองดอกร่วงง่าย มีกลิ่นหอมอ่อน ออกดอก เดือนมกราคม–พฤษภาคม ผลกลม เมื่อแก่เป็นสีดำมัน กลีบเลี้ยงยังคงติดอยู่บนผล แล้วเปลี่ยนจากสีเขียวเป็นแดง
การขยายพันธุ์ : เพาะเมล็ด, ตอนกิ่ง, ตัดชำ
สภาพที่เหมาะสม : ดินร่วน ระบายน้ำดี แสงแดดจัด
ถิ่นกำเนิด : เอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ประโยชน์ : ยาพื้นบ้านภาคอีสาน ใช้ลำต้น ต้มน้ำดื่ม ต่างน้ำชา เป็นยาแก้ปวดเมื่อยดีมาก ตำรายาแผนไทยทั่วไป ราก ใช้เป็นยาขับพยาธิ แก้โรคน้ำเหลือง

ประวัติศาสตร์ 77 จังหวัดทั่วไทย - Page 2 Pกระบาก.1

ยโสธร-กระบาก
ในอดีตไม้กระบากเป็นไม้ชนิดหนึ่งที่นิยมใช้ในกิจการก่อสร้าง ในรูปการทำแบบคอนกรีต พื้น รอดตง และในการทำเรือมาด แจว พาย กรรเชียง ตัวถังเกวียนและรถ สันแปรง หีบใส่ของรวมทั้งหีบศพ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นไม้ที่ตัดฟันจากป่าในประเทศ
ต้นไม้ประจำจังหวัด : ยโสธร
ชื่อสามัญ : Mesawa
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Anisoptera costata Korth.
วงศ์ : DIPTEROCARPACEAE
ชื่ออื่น : กระบาก ตะบาก (ลำปาง), กระบากขาว (ชลบุรี, ชุมพร, ระนอง), กระบากโคก (ตรัง), กระบากช่อ กระบากด้าง กระบากดำ (ชุมพร), กระบากแดง (ชุมพร, ระนอง), ชอวาตาผ่อ (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี), บาก (ชุมพร), ประดิก (เขมร-สุรินทร์), พนอง (จันทบุรี, ตราด), หมีดังว่า (กะเหรี่ยง-ลำปาง)
ลักษณะทั่วไป เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงใหญ่ สูง 30–40 เมตร ลำต้นเปลาตรง เรือนยอดเป็นพุ่มกลม เปลือกในสีเหลืองอ่อนเรียงซ้อนกันเป็นชั้นๆ ใบเป็นใบเดี่ยวเรียงสลับ แผ่นใบรูปขอบขนาน หลังใบมีขนสีเหลือง ปลายใบทู่ถึงแหลม โคนใบมน ท้องใบมีขน ดอกสีขาวปนเหลืองอ่อน ขนาดเล็ก ออกดอกช่วงเดือนธันวาคม-กุมภาพันธ์ ผลเป็นผลแห้งทรงกลม ผิวเรียบ มีปีกยาว 2 ปีก
ขยายพันธุ์ : เพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสม : สภาพดินทุกชนิด กลางแจ้ง ต้องการน้ำและความชื้นปานกลาง
ถิ่นกำเนิด : ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย
ประโยชน์ : โดยส่วนรวมเนื้อไม้มีสีตั้งแต่สีเหลืองนวล สีน้ำตาลปนเหลืองอ่อน สีน้ำตาลปนเหลืองจนถึงสีน้ำตาลคล้ำ หรือน้ำตาลอ่อนปนแดงเรื่อๆ เสี้ยนมักตรง เนื้อหยาบ เลื่อยไสกบตบแต่งได้ไม่ยาก แต่เนื้อไม้เป็นทราย กัดคมเครื่องมือทำให้ทื่อเร็ว มีค่าความถ่วงจำเพาะ 0.6 เนื้อไม้มีความแข็งประมาณ336 กก ความแข็งแรงประมาณ 656 กก./ซม 2 และความเหนียวประมาณ 3.57 กก.-ม3 นิยมใช้ประโยชน์ในการทำแบบหล่อคอนกรีต พื้น รอด ตง เรือมาด แจว พาย กรรเชียง ตัวถังเกวียนและรถ สันแปรง หีบใส่ของและหีบศพ ชันใช้ผสมน้ำมันทาไม้ น้ำมันชักเงา ยาแนวไม้และเรือ การใช้ประโยชน์ทางด้านนิเวศน์ ปลูกเป็นแนวกันลม ควบคุมความชื้น รักษาระบบนิเวศของป่าดินและน้ำ การใช้ประโยชน์ทางด้านภูมิสถาปัตย์ ใช้ปลูกเป็นกลุ่ม เพื่อให้ร่มเงาและให้ความสวยงามเพิ่มแก่พื้นที่ โดยเฉพาะการปลูกเป็นกลุ่มๆ ตามบริเวณริมฝั่งแม่น้ำที่น้ำท่วมไม่ถึง

ประวัติศาสตร์ 77 จังหวัดทั่วไทย - Page 2 Tr_47

ร้อยเอ็ด-กระบก
ในอดีตเป็นไม้เบญจพรรณชนิดหนึ่งที่ได้มีการนำมาแปรรูปและใช้ในการก่อสร้างเป็นที่ต้องการของตลาด แต่ปัจจุบันรัฐบาลได้ปิดป่าไม่มีการนำไม้ออก
ต้นไม้ประจำจังหวัด : ร้อยเอ็ด
ชื่อสามัญ : Kayu
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Irvingia malayana Oliv. Ex A. Benn.
วงศ์ : SIMAROUBACEAE
ชื่ออื่น : กระบก กะบก จะบก ตระบก (เหนือ), จำเมาะ (เขมร), ชะอัง (ซอง-ตราด), บก หมากบก (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ), มะมื่น มื่น (เหนือ), มะลื่น หมักลื่น (สุโขทัย, นครราชสีมา), หลักกาย (ส่วย-สุรินทร์)
ลักษณะทั่วไป : เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูง 10–30 เมตร ผลัดใบ เปลือกสีเทาอ่อนปนน้ำตาลค่อนข้างเรียบ เรือนยอดเป็นพุ่มแน่นทึบ ใบเป็นใบเดี่ยวเรียงสลับ แผ่นใบรูปมนแกมขอบขนานถึงรูปหอก ผิวใบเกลี้ยง โคนใบมน ปลายใบทู่ถึงแหลม ดอกขนาดเล็ก สีขาวปนเขียวอ่อน ออกดอกช่วงเดือนมกราคม-มีนาคม ผลทรงกลมรี เมื่อสุกสีเหลืองอมเขียว เมล็ดแข็ง เนื้อในมีรสมัน
ขยายพันธุ์ : เพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสม : สภาพดินทุกชนิด กลางแจ้ง ต้องการน้ำและความชื้นปานกลาง
ถิ่นกำเนิด : ตามป่าเบญจพรรณแล้งและป่าดิบในแถบอินโดจีน
ประโยชน์ : การใช้ประโยชน์ทางด้านเนื้อไม้ เนื้อไม้แข็งและหนัก แก่นสีเทาปนน้ำตาล มีสารจำพวกทรายอยู่มาก เสี้ยนตรงแข็งมาก แต่เลื่อยผ่าตบแต่งง่าย ไม่ทนในที่แจ้ง มีค่าความถ่วงจำเพาะประมาณ 1.04 เนื้อไม้มีค่าความแข็ง 1,360 กก. ความแข็งแรงประมาณ 1,503 กก./ซม2 และความเหนียวประมาณ 2.79 กก.-ม สำหรับเนื้อไม้เหมาะใช้ทำฟืน ถ่าน ทำเครื่องกสิกรรม เช่น ครก สาก เครื่องสีข้าว และสิ่งปลูกสร้างที่อยู่ในร่มได้ดี การใช้ประโยชน์ทางด้านนิเวศน์ ผลสุกของกระบก สัตว์ป่าพวกเก้ง กวาง ตลอดจนพวกนกต่าง ๆ ชอบกินเป็นอาหาร สัตว์เหล่านี้จะช่วยพาเมล็ดไปงอกที่ไกล ๆ ในการช่วยแพร่พันธุ์ได้เป็นอย่างดี การใช้ประโยชน์ทางด้านภูมิสถาปัตย์ เหมาะปลูกเป็นกลุ่มในพื้นที่โล่งตามสวนสาธารณะ สวนรุกขชาติหรือสวนสัตว์เปิดให้เป็นที่อยู่อาศัยและแหล่งอาหารของนกและสัตว์ป่า การใช้ประโยชน์ทางด้านโภชนาการ เนื้อในเมล็ดใช้รับประทานได้ น้ำมันจากเมล็ดใช้ทำอาหาร น้ำมันจากเมล็ด สบู่ และเทียนไข

ประวัติศาสตร์ 77 จังหวัดทั่วไทย - Page 2 Son1

เลย-สนสามใบ
เป็นต้นไม้ขึ้นเป็นกลุ่มบนเขาหรือเนินเขา สูงจากระดับน้ำทะเล 1,000 - 1,600 เมตร
ต้นไม้ประจำจังหวัด : เลย
ชื่อสามัญ : Kesiya pine, Khasiya pine
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Pinus kesiya Royle ex Gordon
วงศ์ : PINACEAE
ชื่ออื่น : เกี๊ยะเปลือกแดง (ภาคเหนือ), เกี๊ยะเปลือกบาง (เชียงใหม่), จ๋วง (ภาคเหนือ, ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ), เชี้ยงบั้ง (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), แปก (เงี้ยว-แม่ฮ่องสอน-เพชรบูรณ์), สนเขา สนสามใบ (ภาคกลาง)
ลักษณะทั่วไป : เป็นไม้ยืนต้นสูง 10–30 เมตร ลำต้นเปลาตรง เรือนยอดเป็นพุ่มกลม เปลือกสีน้ำตาลอมชมพูอ่อนล่อนเป็นสะเก็ด มียางสีเหลืองซึมออกมาตามรอยแตก ใบเป็นใบเดี่ยว ติดกันเป็นกลุ่มละ 3 ใบ ออกเป็นกระจุกเวียนสลับถี่ตามปลายกิ่ง ออกดอกเป็นช่อ แยกเพศ ช่อดอกเพศผู้สีเหลือง ติดกันเป็นกลุ่มใกล้ปลายกิ่ง ออกดอกช่วงเดือนพฤศจิกายน-มีนาคม ผลออกรวมกันเป็นกลุ่มเรียกว่า Cone (โคน) รูปไข่ สีน้ำตาล มีเมล็ดจำนวนมาก
ขยายพันธุ์ : เพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสม : ดินร่วน ดินร่วนปนทราย
ถิ่นกำเนิด : ประเทศพม่า อินเดีย
ประโยชน์ : ไม้ใช้ก่อสร้าง ทำเยื่อกระดาษ ยางกลั่นเป็นน้ำมันและชัน ใช้ผสมยารักษาโรค

ประวัติศาสตร์ 77 จังหวัดทั่วไทย - Page 2 DSC00411

ศรีษะเกษ-ลำดวน
คนไทยโบราณเชื่อว่า บ้านใดปลูกต้นลำดวลไว้ประจำบ้านจะทำให้เกิดความคิดถึง ความสดชื่น เพราะ ลำดวล หรือ ลำดวล คือ ความกลมกลืน ดความดูดดื่ม ความชื่นฉ่ำ นอกจากนี้ดอกของลำดวนยังมีลักษณะสีนวลสว่างกลิ่นหอมเย็น กระจายไปไกลมิรู้คลาย และยังเชื่ออีกว่าเกสรของลำดวนเป็นยาวิเศษอย่างหนึ่ง สำหรับบำรุงสุขภาพจิตที่ดีอีกด้วย
ต้นไม้ประจำจังหวัด : ศรีสะเกษ
ชื่อสามัญ : Lamdman, Devil Tree, White Cheesewood
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Melodorum fruticosum Lour.
วงศ์ : ANNONACEAE
ชื่ออื่น : ลำดวน (ภาคกลาง), หอมนวล (ภาคเหนือ)
ลักษณะทั่วไป : ลำดวนเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางสูงประมาณ 5–10 เมตร ผิวเปลือกลำต้นเป็นสีเทา ผิวต้นเรียบ มีรอยแตกเล็กน้อยแตก ใบเป็นใบเดี่ยวออกเรียงสลับกันตามข้อ ลำต้น ใบเป็นรูปหอก ยาวรี ปลายใบแหลม โคนใบมนแหลม ขอบใบเรียบเป็นคลื่นเล็กน้อย ผิวใบเรียบเป็นมันสีเขียวเข้ม ดอกเป็นดอกเดี่ยวออกตามส่วนยอด และตามง่ามใบ มีกลีบดอก 6 กลีบ ซ้อนกันเป็นชั้น ปลายกลีบแหลม โคนกลีบดอกกว้าง ดอกมีขนาดเล็กสีเหลือง กลิ่นหอมเย็น ออกดอกช่วง เดือนธันวาคม-มีนาคม
การขยายพันธุ์ : การเพาะเมล็ด, ตอนกิ่ง
สภาพที่เหมาะสม : ดินร่วนซุย แสงแดดจัด เติบโตได้ดีในที่ชุ่มชื้น
ถิ่นกำเนิด : ประเทศแถบอินโดจีน
ประโยชน์ : ผลมีรสหวานรับประทานได้ ดอกแก้ไข้ แก้วิงเวียน บำรุงหัวใจ บำรุงโลหิต

ประวัติศาสตร์ 77 จังหวัดทั่วไทย - Page 2 21-50

สกลนคร-อินทนิลน้ำ
เป็นไม้ยืนต้น เป็นพรรณไม้ที่พบขึ้นทั่วไปตามที่ราบลุ่มและบริเวณริมฝั่งแม่น้ำ ลำห้วย ในป่าเบญจพรรณชื้นและป่าดงดิบทั่วทุกภาค จะพบมากในป่าดงดิบภาคใต้ มีดอกสีม่วง สวยงาม มีชื่อในแต่ละท้องถิ่นต่างๆ
ต้นไม้ประจำจังหวัด : สกลนคร
ชื่อสามัญ : Queen’s Flower, Queen’s Crape Myrtle, Pride of India
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Lagerstroemia speciosa Pers.
วงศ์ : LYTHRACEAE
ชื่ออื่น : ฉ่วงมู (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี), ตะแบกดำ (กรุงเทพฯ), บางอ บะซา (มลายู-ยะลา, นราธิวาส), บาเอ บาเย (ปัตตานี), อินทนิล (ภาคกลาง), อินทนิลน้ำ (ภาคกลาง, ภาคใต้)
ลักษณะทั่วไป : เป็นไม้ยืนต้นสูง 10–15 เมตร ลำต้นเปลาตรง เรือนยอดเป็นพุ่มกลม ผิวเปลือกนอกสีเทา ใบเป็นใบเดี่ยว รูปรีหรือรูปไข่แกมขอบขนาน ปลายใบมน ดอกย่อยขนาดใหญ่ กลีบดอกสีชมพู สีม่วงแกมชมพู หรือสีม่วง ออกดอกช่วงเดือนมีนาคม-มิถุนายน ผลเป็นผลแห้ง มีขนาดใหญ่
การขยายพันธุ์ : โดยการเพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสม : ดินทุกชนิด เป็นไม้กลางแจ้ง
ถิ่นกำเนิด : ที่ราบลุ่มริมน้ำ ป่าเบญจพรรณชื้นและป่าดิบทั่วไป ในประเทศไทย
ประโยชน์ : เนื้อไม้ เนื้อไม้ นิยมใช้ในการก่อสร้างอาคารบ้านเรือน โดยมากใช้ทำกระดานพื้น ฝา กระเบื้อง มุงหลังคา ใช้ต่อเรือใบ เรือแจว เรือเดินทะเล ทำเกวียน เครื่องตบแต่งบ้าน ทำแจว พาย เปียโน หีบใส่ของ ถังไม้ กังหันน้ำ เครื่องมือการเกษตรต่าง ๆ เช่น ทำไถ ไม้นวดข้าว ครก สาก กระเดื่อง ลูกหีบ ซี่ล้อ ทำไม้คาน ไม้กั้นบ่อน้ำ ร่องน้ำ ทำหีบศพอย่างดี สรรพคุณทางยา เปลือก รสฝาดขม แก้ไข้ แก้ท้องเสีย ใบ รสจืดขมฝาดเย็น ต้มหรือชงน้ำร้อนดื่ม แก้โรคเบาหวาน ขับปัสสาวะ เป็นยาลดความดัน เมล็ด รสขม แก้โรคเบาหวาน แก้นอนไม่หลับ แก่น รสขม ต้มดื่มแก้โรคเกี่ยวกับทางเดินปัสสาวะ แก้ปัสสาวะพิการ แก้โรคเบาหวาน ราก รสขม แก้แผลในปาก ในคอ เป็นยาสมานท้อง

ประวัติศาสตร์ 77 จังหวัดทั่วไทย - Page 2 Tr_68

สุรินทร์-มะค่าแต้
เป็นต้นไม้ประจำจังหวัดสุรินทร์ต้นไม้ประจำจังหวัด : สุรินทร์
ชื่อสามัญ : ไม่ทราบแน่ชัด
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Sindora siamensis Teijsm. Ex Miq.
วงศ์ : LEGUMINOSAE
ชื่ออื่น : กรอก๊อส (เขมร-พระตะบอง), กอเก๊าะ, ก้าเกาะ (เขมร-สุรินทร์) กอกก้อ (ชาวบน-นครราชสีมา), แต้ (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ), มะค่าแต้ (ทั่วไป), มะค่าหนาม (ภาคกลาง, ภาคเหนือ), มะค่าหยุม (ภาคเหนือ)
ลักษณะทั่วไป : เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบสูง 10–25 เมตร เปลือกสีเทาคล้ำแตกเป็นสะเก็ดเล็กๆ เรือนยอดแผ่รูปเจดีย์ต่ำ ใบเป็นใบประกอบแบบขนนกเรียงสลับ ใบย่อยเรียงตรงข้ามกัน แผ่นใบรูปรี ปลายใบและโคนใบมน ผิวใบด้านล่างมีขนสั้น ดอกขนาดเล็ก สีเหลือง ออกรวมกันเป็นช่อตามปลายกิ่ง ผลเป็นฝักรูปโล่ ผิวฝักมีหนามแหลมแข็งแตกเมื่อแห้ง
ขยายพันธุ์ : เพาะเมล็ดและตอนกิ่ง
สภาพที่เหมาะสม : ดินทุกชนิด เป็นไม้กลางแจ้ง ต้องการน้ำและความชื้นปานกลาง
ถิ่นกำเนิด : ป่าเต็งรังและป่าเบญจพรรณแล้ง ป่าเบญจพรรณและตามที่ใกล้แหล่งน้ำใน ประเทศอินเดีย, มาเลเซีย, พม่า, เวียดนาม และประเทศไทย
ประโยชน์ : เนื้อไม้สีน้ำตาลอ่อนหรือน้ำตาลแก่ ค่อนข้างหยาบ แข็งแรง ทนทาน ทนมอดปลวกได้ดี แต่ไสกบตบแต่งยาก ใช้ก่อสร้างและเครื่องมือการเกษตร ไถ คราด และส่วนประกอบเกวียน ฝักและเปลือกให้น้ำฝาดสำหรับฟอกหนัง

ประวัติศาสตร์ 77 จังหวัดทั่วไทย - Page 2 Na-nongkai1_2

หนองคาย-ดอกชิงชัน
เป็นไม้ยืนต้นขนาดลกางถึงขนาดใหญ่
ดอกไม้ประจำจังหวัด : หนองคาย
ชื่อสามัญ : Rosewood
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Dalbergia oliveri Gamble
วงศ์ : LEGUMINOSAE
ชื่ออื่น : ชิงชัน ประดู่ชิงชัน (ภาคกลาง), ดู่สะแดน (เหนือ)
ลักษณะทั่วไป : เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบสูง 15–25 เมตร เปลือกสีน้ำตาลอมเทาล่อนเป็นแว่น ใบเป็นใบประกอบแบบขนนกเรียงสลับ ใบย่อยเรียงสลับ แผ่นใบรูปรีแกมรูปไข่ โคนใบและปลายใบมน ท้องใบสีจางกว่าหลังใบ ดอกขนาดเล็ก สีขาวแกมม่วง ผลเป็นฝักแบน รูปหอก หัวท้ายแหลม
การขยายพันธุ์ : เพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสม : ดินทุกชนิด เป็นไม้กลางแจ้ง ต้องการน้ำปานกลาง
ถิ่นกำเนิด : ป่าดิบแล้งและป่าเบญจพรรณทั่วไป ยกเว้นภาคใต้ ในประเทศไทย
ประโยชน์ : เนื่องจากไม้ชิงชันนั้นมีลักษณะที่แข็งและเหนียวรวมถึงมีลักษณะที่ดูสวยงามมากดังนั้นจึงนิยมนำมาทำเป็น เครื่องเรือน เครื่องดนตรีต่างๆ ฯลฯ นอกจากประโยชน์ทางด้านอุตสาหกรรมพื้นบ้านแล้วต้นไม้ชิงชันยังให้ประโยชน์ทางด้านสมุนไพรอีกด้วย

ประวัติศาสตร์ 77 จังหวัดทั่วไทย - Page 2 Tr_70

หนองบัวลำภู-พะยูง
เป็นไม้เนื้อแข็ง เช่นเดียวกับไม้สัก ตะเคียน มีชื่อและความหมายดี เชื่อว่าบ้านใดปลูกไว้ประจำบ้าน จะทำใ้ห้บุคคลในบ้านมีแต่ความเจริญ มีฐานะดีขึ้น ช่วยไม่ให้ชีวิตตกต่ำ เพราะพยุงคือการประคับประคองให้คงอยู่ ให้มั่นคงหรือการยกให้สูงขึ้น
ต้นไม้ประจำจังหวัด : หนองบัวลำภู
ชื่อสามัญ : Siamese Rosewood
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Dalbergia cochinchinensis Pierre
วงศ์ : LEGUMINOSAE
ชื่ออื่น : กระยง กระยูง (เขมร-สุรินทร์), ขะยูง (อุบลราชธานี), แดงจีน (ปราจีนบุรี), ประดู่ตม (จันทบุรี), ประดู่ลาย (ชลบุรี), ประดู่เสน (ตราด), พะยูง (ทั่วไป), พะยูงไหม (สระบุรี)
ลักษณะทั่วไป : เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบสูง 15–20 เมตร เปลือกสีเทาเรียบ เรือนยอดทรงกลมหรือรูปไข่ เนื้อไม้สีน้ำตาลอ่อน แก่นสีแดงอมม่วงถึงสีเลือดหมูแก่ มีริ้วดำ ใบเป็นใบประกอบแบบขนนกสองชั้นเรียงสลับ ปลายใบแหลม โคนใบสอบ หลังใบสีเขียวเข้ม ท้องใบสีจาง ลักษณะคล้ายใบประดู่ ดอกขนาดเล็ก สีขาว กลิ่นหอมอ่อน ออกรวมกันเป็นช่อตามง่ามใบและตามปลายกิ่ง ออกดอกช่วงเดือนพฤษภาคม-กรกฎาคม ผลเป็นฝักรูปขอบขนานแบบบาง ตรงบริเวณที่หุ้มเมล็ด เมล็ดรูปไตสีน้ำตาลเข้ม
ขยายพันธุ์ : เพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสม : ดินทุกชนิด ทนแล้ง
ถิ่นกำเนิด : ประเทศพม่า กัมพูชา ลาว และเวียดนาม
ประโยชน์ : รากแก้ไข้พิษ เปลือกต้นเอานำอมแก้ปากเปลื่อย ยางสดทาแก้ปากเปื่อย ผลทำไม้ประดับแห้งได้

ประวัติศาสตร์ 77 จังหวัดทั่วไทย - Page 2 Tr_72

อำนาจเจริญ-ตะเคียนหิน
ตะเคียนหินเป็นต้นไม้ประจำจังหวัดอำนาจเจริญ
ต้นไม้ประจำจังหวัด : อำนาจเจริญ
ชื่อพันธุ์ไม้ : ตะเคียนหิน
ชื่อสามัญ : ไม่ทราบแน่ชัด
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Hopea ferrea Heim.
วงศ์ : DIPTEROCARPACEAE
ชื่ออื่น : ตะเคียนทราย (ตราด, ตรัง), ตะเคียนหิน (ภาคใต้), ตะเคียนหนู (นครราชสีมา), เหลาเตา (สุราษฎร์ธานี, นครศรีธรรมราช)
ลักษณะทั่วไป : เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบ สูง 15–30 เมตร เปลือกสีน้ำตาลแก่แตกเป็นสะเก็ด เรือนยอดเป็นพุ่มกลมหรือรูปกรวยแหลม กิ่งอ่อนมีขนประปราย ใบเป็นใบเดี่ยวเรียงสลับ รูปไข่ ปลายเป็นติ่งทู่ โคนมน ดอกเล็ก สีขาวหรือขาวปนเหลืองอ่อน ออกเป็นช่อสั้น ๆ ตามง่ามใบและปลายกิ่ง ออกดอกระหว่างเดือนกันยายน-ธันวาคม
ขยายพันธุ์ : เพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสม : เจริญเติบโตได้ดีในสภาพดินแทบทุกชนิด ระบายน้ำได้ดี ต้องการความชื้นปานกลาง เป็นไม้กลางแจ้ง
ถิ่นกำเนิด : ป่าดิบแล้ง และขึ้นเป็นกลุ่มใหญ่ตามที่ลาดเชิงเขาที่มีการระบายน้ำดี ในประเทศไทย
ประโยชน์ : ใช้ทำเครื่องเรือน เรือขุดเสา สะพาน หมอนรองรางรถไฟทนทานและแข็งแรงมากในกลางแจ้งการ แปรรูปควรทำขณะที่ไม้ยังสดอยู่ ดอกใช้เข้ายาเป็นเกสรร้อยแปด ต้มน้ำจากเปลือกใช้ล้างแผลผสมกับเกลืออมป้อง กันฟันผุ เนื้อไม้ใช้เป็นส่วนประกอบทำยารักษาโรคเลือดลมไม่ปกติ แก้กระษัย

ประวัติศาสตร์ 77 จังหวัดทั่วไทย - Page 2 Tr_73

อุดรธานี-รัง
สำหรับพุทธศาสนิกชนชาวไทย ส่วนใหญ่เชื่อว่าพระพุทธองค์ทรงประสูติและเสด็จดับขันธ์ปรินิพพานใต้ต้นรัง ตามที่บรรยายไว้ในหนังสือปฐมสมโพธิกถา โดยเฉพาะชาวไทยในอดีตส่วนหนึ่ง ถึงกับเชื่อว่าสถานที่ปรินิพพานของพระพุทธองค์อยู่ในประเทศไทยนี้เอง นั่นคือที่พระแท่นดงรังในเขตจังหวัดกาญจนบุรี ทำให้คนไทยในอดีตพากันบุกป่าฝ่าดงเดินทางไปนมัสการพระแท่นดงรังให้ได้สักครั้งหนึ่งในชีวิต เช่นเดียวกับการเดินทางไปนมัสการรอยพระพุทธบาทที่จังหวัดสระบุรีนั่นเอง
ต้นไม้ประจำจังหวัด : อุดรธานี
ชื่อสามัญ : Burmese sal, Ingyin
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Shorea siamensis Miq.
วงศ์ : DIPTEROCARPACEAE
ชื่ออื่น : เปา เปาดอกแดง (ภาคเหนือ), รัง (ภาคกลาง), เรียง เรียงพนม (เขมร-สุรินทร์), ลักป้าว (ละว้า-เชียงใหม่), แลบอง เหล้ท้อ เหล่บอง (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), ฮัง (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ)
ลักษณะทั่วไป : เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบสูง 15–20 เมต


แก้ไขล่าสุดโดย Volwar เมื่อ Fri May 06, 2011 2:04 pm, ทั้งหมด 1 ครั้ง
Volwar
Volwar
Webmaster
Webmaster

จำนวนข้อความ : 572
คะแนน : 770
คะแนนชื่อเสียง : 14
Join date : 23/01/2010
Age : 30
ที่อยู่ : ถนนเจริญยาก ถนนไม่มีรถเมล์ กทม.

ขึ้นไปข้างบน Go down

ประวัติศาสตร์ 77 จังหวัดทั่วไทย - Page 2 Empty Re: ประวัติศาสตร์ 77 จังหวัดทั่วไทย

ตั้งหัวข้อ by *!!~AlFeiLai~!!* Mon May 24, 2010 8:27 pm

อินทนิลน้ำ สวยง่า เดี๋ยวนี้รู้สึกแปลกๆชอบสีม่วง={}=;;
*!!~AlFeiLai~!!*
*!!~AlFeiLai~!!*
B Class
B Class

จำนวนข้อความ : 265
คะแนน : 299
คะแนนชื่อเสียง : 21
Join date : 28/03/2010
Age : 28
ที่อยู่ : Thailand

https://twitter.com/spellsunnn

ขึ้นไปข้างบน Go down

ประวัติศาสตร์ 77 จังหวัดทั่วไทย - Page 2 Empty ต้นไม้ไทยภาคตะวันออก

ตั้งหัวข้อ by Volwar Mon May 24, 2010 8:43 pm

ประวัติศาสตร์ 77 จังหวัดทั่วไทย - Page 2 Tr_07

จันทบุรี-จัน
เป็นผลไม้ชนิดหนึ่งที่ไม้มีกลิ่นหอม เป้นต้นไม้ประจำจังหวัดจันทบุรี
ต้นไม้ประจำจังหวัด : จันทบุรี
ชื่อสามัญ : ไม่ทราบแน่ชัด
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Diospyros decandra Lour.
วงศ์ : EBENACEAE
ชื่ออื่น : จัน จันอิน จันโอ (ทั่วไป), จันขาว จันลูกหอม (ภาคกลาง)
ลักษณะทั่วไป : เป็นไม้ยืนต้นสูง 20 เมตร ยอดอ่อนมีขน ใบเป็นใบเดี่ยวเรียงสลับ รูปขอบขนานหรือรูปรี ดอก แยกเพศ เพศผู้เป็นช่อ กลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นรูปคนโท สีขาวนวล ดอกเพศเมียเป็นดอกเดี่ยวลักษณะคล้ายกับดอกเพศผู้แต่มีขนาดใหญ่กว่า ผลเป็นผลสดมีสองลักษณะคือ ทรงกลมแป้นเรียกว่าลูกจัน และทรงกลมเรียกว่าลูกอิน เมื่อสุกสีเหลือง มีกลิ่นหอม และกลีบเลี้ยงยังคงติดอยู่
ขยายพันธุ์ : โดยการเพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสม : เจริญเติบโตได้ดีในดินทุกชนิด กลางแจ้ง
ถิ่นกำเนิด : ประเทศไทย
ประโยชน์ : ปลูกในสวนเพื่อให้ร่มเงา และ ดูผลผลสวยมีกลิ่นหอม เป็นไม้เนื้อหอม (หายากมาก) ผลสุกรับประทานได้ มีรสหวานและมีกลิ่นหอม แก้ อาการนอนไม่หลับกระวนกระวาย

ประวัติศาสตร์ 77 จังหวัดทั่วไทย - Page 2 Tr_08

ฉะเชิงเทรา-นนทรีป่า
นนทรีเป็นต้นไม้ที่ค่อนข้างโตเร็ว ปลูกง่าย แข็งแรง ทนทาน เหมาะ สำหรับปลูกประดับอาคารสถานที่ หรือสองข้างถนนหนทาง ให้ร่มเงาและป้องกันลมได้ดี รูปทรงและดอก งดงาม ใช้เป็นร่มเงาในสวนกาแฟ ได้ดีมาก เพราะเป็นต้นไม้ตระกูล ถั่ว ช่วยบำรุงดินให้อุดมสมบูรณ์ขึ้นด้วย
ต้นไม้ประจำจังหวัด : ฉะเชิงเทรา
ชื่อสามัญ : Copper pod
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Peltophorum dasyrachis Kurz, ex Baker
วงศ์ : LEGUMINOSAE
ชื่ออื่น : กว่าเซก (เขมร-กาญจนบุรี), คางรุ้ง คางฮ่ง (พิษณุโลก), จ๊าขาม ช้าขม (ลาว), ตาเซก (เขมร-บุรีรัมย์), นนทรีป่า (ภาคกลาง), ราง (ส่วย-สุรินทร์), ร้าง อะราง อะล้าง (นครราชสีมา), อินทรี (จันทบุรี)
ลักษณะทั่วไป : เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางสูง 15–30 เมตร เรือนยอดเป็นรูปพุ่มกลมทึบ เปลือกต้นสีทองหรือสีเทาอมน้ำตาล ใบเป็นใบประกอบแบบขนนกสองชั้น ใบย่อยรูปขอบขนานปลายใบและโคนใบมน ออกเป็นคู่ตรงข้ามกัน ออกดอกเป็นช่อตามปลายกิ่งหรือง่ามใบ สีเหลืองสด กลีบดอกมีลักษณะย่น ออกดอกพร้อมกับใบอ่อนช่วงเดือนมกราคม-มีนาคม ผลเป็นฝักแบนรูปหอก
ขยายพันธุ์ : โดยการเพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสม : เจริญเติบโตได้ดีในดินทุกชนิด กลางแจ้ง
ถิ่นกำเนิด : ป่าดงดิบแล้งทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และตามป่าโปร่งภาคเหนือของประเทศไทย
ประโยชน์ : เนื้อไม้สีชมพูอ่อนหรือน้ำตาลแกมชมพู เป็นมันเลื่อม เสี้ยนตรงหรือเป็นลูกคลื่น ใช้ทำสิ่งก่อสร้าง เครื่อง เรือน เปลือกมีรสฝาด รับประทานเป็นยากล่อมเสมหะ แก้โรคท้องร่วงเป็นยาขับลม

ประวัติศาสตร์ 77 จังหวัดทั่วไทย - Page 2 Clip_image001_0009

ชลบุรี-ประดู่ป่า
เป็นพันธุ์ไม้ที่สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ พระราชทานเพื่อปลูกเป็นมงคลจังหวัดชลบุรี เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2537 ณ ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ เป็นไม้ผลัดใบขึ้นในป่าเบญจพรรณและป่าดิบแล้ง สูงจากระดับน้ำทะเล 100 - 600 เมตร
ต้นไม้ประจำจังหวัด : ชลบุรี
ชื่อสามัญ : Bermese Ebony
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Pterocarpus macrocarpus Kurz
วงศ์ : PAPILLIONACEAE
ชื่ออื่น : จิต๊อก (เงี้ยว-แม่ฮ่องสอน), ฉะนอง (เชียงใหม่), ดู่ ดู่ป่า (ภาคเหนือ), ตะเลอ เตอะเลอ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), ประดู่ ประดู่ป่า (ภาคกลาง) ประดู่ ประดู่เสน (ราชบุรี, สระบุรี)
ลักษณะทั่วไป : เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ สูง 15–25 เมตร เปลือกต้นสีน้ำตาลดำแตกเป็นสะเก็ด เปลือกในมีน้ำเลี้ยงสีแดง เนื้อไม้สีขาวอมเหลือง แก่นสีน้ำตาลแกมแดง เรือนยอดเป็นพุ่มกลมทึบ ใบเป็นใบประกอบแบบขนนกเรียงสลับ ใบย่อยรูปไข่ขอบขนาน ปลายใบเป็นติ่ง โคนใบมน ออกดอกเป็นช่อที่ซอกใบ รูปดอกถั่ว กลีบดอกสีเหลืองอ่อนกลิ่นหอม ผลแผ่เป็นปีกแบนๆ มีขนาดใหญ่กว่าประดู่บ้าน และมีขนปกคลุมทั่วไป
ขยายพันธุ์ : โดยการเพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสม : ดินร่วน ทนแล้ง ต้องการน้ำปานกลาง
ถิ่นกำเนิด : ป่าเบญจพรรณชื้นและป่าดิบแล้งทั่วไป ในประเทศไทย
ประโยชน์ : เนื้อไม้สีแดงอมเหลือง เสี้ยนสนเป็นริ้ว เนื้อละเอียดปานกลาง มีลวดลายสวยงาม แข็งแรงทนทาน ใช้ทำ พื้น ต่อเรือ เครื่องเรือนที่สวยงาม เครื่องดนตรี เช่น ซอ ลูกและรางระนาด เปียโน เปลือกให้น้ำฝาดใช้ฟอกหนัง แก่น ให้สีแดงคล้ำใช้ย้อมผ้า

ประวัติศาสตร์ 77 จังหวัดทั่วไทย - Page 2 Tr_16

ตราด-หูกวาง
เป็นต้นไม้ที่ขึ้นตามป่าชายหาด พบได้ในเอชียเขตร้อนถึงออสเตรเลีย
ต้นไม้ประจำจังหวัด : ตราด
ชื่อสามัญ : Bengal Almond, Indian Almond, Sea Almond
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Terminalia catappa Linn.
วงศ์ : COMBRETACEAE
ชื่ออื่น : โคน (นราธิวาส), ดัดมือ ตัดมือ (ตรัง), ตาปัง (พิษณุโลก, สตูล), ตาแปห์ (มลายู-นราธิวาส), หลุมปัง (สุราษฎร์ธานี), หูกวาง (ภาคกลาง)
ลักษณะทั่วไป : เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบสูง 8–25 เมตร เปลือกเรียบ กิ่งแตกรอบลำต้นตามแนวนอนเป็นชั้นๆ คล้ายฉัตร ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเวียนสลับถี่ตอนปลายกิ่ง ใบรูปไข่ ปลายใบแหลมเป็นติ่งสั้นๆ โคนใบสอบแคบ เว้า ออกดอกเป็นช่อตามซอกใบ ขนาดเล็ก สีขาวนวล ออกดอกช่วงเดือนกุมภาพันธ์-เมษายน ผลเป็นรูปไข่หรือรูปรีป้อมๆ แบนเล็กน้อย เมื่อแห้งสีดำคล้ำ
ขยายพันธุ์ : โดยการเพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสม : ดินร่วนปนทราย ระบายน้ำได้ดี
ถิ่นกำเนิด : ป่าชายหาด หรือตามโขดหินริมทะเลในเอเชียเขตร้อนและทางเหนือของออสเตรเลีย และกระจายพันธุ์มาจากประเทศสิงค์โปร์และมาทางใต้ของประเทศไทย
ประโยชน์ : เปลือกและผลมีรสฝาดมาก ใช้แก้ท้องเสีย ย้อมหนังสัตว์ ทำหมึก เมล็ดในผลรับประทานได้ ให้น้ำมัน คล้ายน้ำมันอัลมอนด์

ประวัติศาสตร์ 77 จังหวัดทั่วไทย - Page 2 Tr_30

ปราจีนบุรี-ศรีมหาโพธิ
ต้นศรีมหาโพธิได้เป็นต้นไม้ประจำจังหวัดปราจีนบุรีเพราะว่ามี ต้นศรีมหาโพธิ์ ที่เก่าแก่ที่สุดในไทย สันนิษฐานว่าต้นศรีมหาโพธิที่วัดศรีมหาโพธินั้นแตกหน่อจากต้นศรีมหาโพธิที่สถานที่ที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ จึงมีอายุมากว่า 2,000 ปี ตามตำนานกล่าวว่า พระเจ้าทวานัมปะยะดิษฐ์เจ้าครองเมืองศรีมโหสถในสมัยขอมเรืองอำนาจนั้น ทรงเลื่อมใสในพุทธศาสนาจึงได้ส่งทูตไปขอกิ่งต้นศรีมหาโพธิที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้มาปลุกไว้ที่ปราจีนบุรีจนถึงปัจจุบัน
ต้นไม้ประจำจังหวัด : ปราจีนบุรี
ชื่อสามัญ : Sacred Fig Tree, Pipal Tree, Bo-Tree
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Ficus religiosa Linn.
วงศ์ : URTICACEAE
ชื่ออื่น : ปู (เขมร), โพ โพศรีมหาโพธิ (ภาคกลาง), ย่อง (เงี่ยว-แม่ฮ่องสอน), สลี (ภาคเหนือ)
ลักษณะทั่วไป : เป็นไม้ยืนต้นสูง 20–30 เมตร เปลือกต้นสีน้ำตาล มียางสีขาว ใบเป็นใบเดี่ยวเรียงสลับ รูปหัวใจ ออกดอกจำนวนมาก ขนาดเล็ก ออกดอกตลอดทั้งปี ผลเป็นผลสดทรงกลม เมื่อสุกสีม่วงดำ
ขยายพันธุ์ : โดยการเพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสม : สภาพดินทุกชนิด ต้องการน้ำปานกลาง
ถิ่นกำเนิด : อินเดีย และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ประโยชน์ : ปลูกเพื่อความร่มรื่นย์ เพื่อทางศาสนา

ประวัติศาสตร์ 77 จังหวัดทั่วไทย - Page 2 Tr_49

ระยอง-สารภีทะเล
เป็นต้นไม้ที่มีดอกสวยงามมีถิ่นกำเนิดตามชายทะเลในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ต้นไม้ประจำจังหวัด : ระยอง
ชื่อสามัญ : Alexandrian Laurel.
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Calophyllum inophyllum Linn.
วงศ์ : GUTTIFERAE
ชื่ออื่น : กระทิง กากะทิง (ภาคกลาง), ทิง (กระบี่), เนาวกาน (น่าน), สารภีทะเล (ประจวบคีรีขันธ์), สารภีแนน (ภาคเหนือ)
ลักษณะทั่วไป : เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่สูง 20–25 เมตร ใบเป็นใบเดี่ยว ไม่ผลัดใบ เรือนยอดเป็นพุ่มกลม สีเขียวเข้ม กิ่งอ่อนเกลี้ยง ยอดอ่อนเรียวเล็ก ปลายทู่ เปลือกเรียบสีเทาอ่อนหรือน้ำตาลปนเหลือง เปลือกในสีชมพูเนื้อไม้สีน้ำตาลปนแดง ออกดอกเป็นช่อสั้นที่ซอกใบบริเวณปลายกิ่ง มีดอกย่อย กลีบดอกสีขาว เกสรเพศผู้สีเหลือง มีกลิ่นหอม ออกดอกช่วงเดือนตุลาคม-ธันวาคม ผลเป็นผลสดทรงกลม ปลายผลเป็นติ่งแหลม เมื่อสุกจะมีสีเหลือง
ขยายพันธุ์ : เพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสม : สภาพดินร่วนปนทรายหรือดินทราย ความชุ่มชื้นปานกลาง
ถิ่นกำเนิด : ตามชายทะเล ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ประโยชน์ : ไม้ใช้ก่อสร้างเครื่องตกแต่งบ้าน เครื่องมือกสิกรรม ใช้ทำเรือ ดอกปรุงเป็นยาหอม บำรุงหัวใจ น้ำมันสกัดจากเมล็ดใช้ทาแก้ปวดข้อ ทำเครื่องสำอาง ปลูกเป็นไม้ประดับ

ประวัติศาสตร์ 77 จังหวัดทั่วไทย - Page 2 %E2%BE%B8%D4%AD%D2%B3%BE%C4%A1%C9%D2%20(%C1%D0%A2%D2%C1%BB%E9%CD%C1)%202

สระแก้ว-มะขามป้อม
"มะขามป้อม" นอกจากจะเป็นต้นไม้ประจำจังหวัดแล้ว ยังเป็นต้นไม้มงคลที่มีการกล่าวถึงตั้งแต่สมัยพุทธกาล ชาวฮินดูเรียกมะขามป้อมอีกชื่อหนึ่งว่า "อะมะลา" หรือ "อะมะลิกา" ตามพุทธประวัติ กล่าวไว้เช่นเดียวกับมะม่วง นั่นคือในคราวที่พระพุทธเจ้าเสด็จไปเก็บมะม่วงนั้น ทรงเก็บมะขามป้อมมาด้วย สำหรับคนไทย บรรพชนได้นำหลายๆ ส่วนของ "มะขามป้อม" มาใช้ประโยชน์ในหลายๆ ด้าน อาทิ นำมาใช้เป็นยาสมุนไพรรักษาโรค เป็น น้ำผลไม้แก้กระหาย เป็นขนมหวานรสอร่อย ปัจจุบันนี้ "มะขามป้อม" ยังคงทำหน้าที่ของ ไม้ผลยืนต้นที่ให้ร่มเงาและความชุ่มชื้น รวมถึงเป็นอาหารและยารักษาสรรพโรคให้กับมวลมนุษยชาติ
ต้นไม้ประจำจังหวัด : สระแก้ว
ชื่อสามัญ : Malccea Tree
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Phyllanthus emblica Linn.
วงศ์ : EUPHORBIACEAE
ชื่ออื่น : กันโตด (เขมร-จันทบุรี), กำทวด (ราชบุรี), มะขามป้อม (ทั่วไป), มั่งลู่ สันยาส่า (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)
ลักษณะทั่วไป : เป็นไม้ยืนต้นสูง 8–12 เมตร เปลือกต้นสีน้ำตาลปนเทา ผิวค่อนข้างเรียบ เรือนยอดรูปร่ม ใบเป็นใบประกอบแบบขนนกรูปขอบขนานติดเป็นคู่ ขนาดเล็ก เรียงสลับ ออกดอกรวมกันเป็นกระจุกตามง่ามใบ ดอกขนาดเล็กมาก สีเหลืองนวล ออกดอกช่วงเดือนมกราคม-เมษายน ผลเป็นผลสดทรงกลม อุ่มน้ำ สีเขียวอ่อนค่อนข้างใส
ขยายพันธุ์ เพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสม : ดินทุกชนิด ทนแล้งได้
ถิ่นกำเนิด : เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และป่าเบญจพรรณแล้งหรือป่าแดง
ประโยชน์ : ใช้ทำอาหาร ใช้ทำสมุนไพรที่มีสรรพคุณมากมาย

อ้างอิง

th.wikipedia.org
www.panmai.com
www.saunmitpranee.com
www.dnp.go.th
www.rakbankerd.com
www.shc.ac.th
www.doctor.or.th
http://202.143.168.214/uttvc/chomromaourek/chomromaourek/chomrom24.htm
คู่มือท่องเที่ยวปราจีนบุรีของ อสท


แก้ไขล่าสุดโดย Volwar เมื่อ Sat May 29, 2010 11:33 am, ทั้งหมด 1 ครั้ง
Volwar
Volwar
Webmaster
Webmaster

จำนวนข้อความ : 572
คะแนน : 770
คะแนนชื่อเสียง : 14
Join date : 23/01/2010
Age : 30
ที่อยู่ : ถนนเจริญยาก ถนนไม่มีรถเมล์ กทม.

ขึ้นไปข้างบน Go down

ประวัติศาสตร์ 77 จังหวัดทั่วไทย - Page 2 Empty ต้นไม้ไทยภาคตะวันตก

ตั้งหัวข้อ by Volwar Tue May 25, 2010 7:48 pm

ประวัติศาสตร์ 77 จังหวัดทั่วไทย - Page 2 Tr_03

กาญจนบุรี-ขานาง
เป็นต้นไม้ดอกประจำจังหวัดกาญจนบุรี มีถิ่นกำเนิดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ต้นไม้ประจำจังหวัด : กาญจนบุรี
ชื่อสามัญ : Moulmein Lancewood
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Alstonia macrohpylla Wall
วงศ์ : Homalium tomentosum Benth.
ชื่ออื่น : ขานาง (ภาคกลาง,เชียงใหม่,มจันทบุรี), ขางนาง คะนาง (ภาคกลาง), ค่านางโคด (ระยอง), ช้างเผือกหลวง (เชียงใหม่), แซพลู้ (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี), ปะหง่าง (ราชบุรี), เปลือย (กาญจนบุรี), เปื๋อยคะนาง เปื๋อยนาง (อุตรดิตถ์), เปื๋อยค่างไห้ (ลำปาง), ลิงง้อ (นครราชสีมา)
ลักษณะทั่วไป : เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบสูง 15–30 เมตร เปลือกต้นสีขาวนวล เรือนยอดเป็นพุ่มทึบ กิ่งอ่อนมีขนสีน้ำตาลนุ่ม ใบเป็นใบเดี่ยวเรียงสลับ รูปไข่ ขอบใบหยักคล้ายฟันเลื่อย ออกดอกเป็นช่อตามง่ามใบและปลายกิ่ง ดอกขนาดเล็ก สีเหลืองอ่อน ออกดอกช่วงเดือนมีนาคม-พฤษภาคม
ขยายพันธุ์ : โดยการเพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสม : ดินที่มีหินปูนปนอยู่มาก น้ำและความชื้นปานกลาง
ถิ่นกำเนิด : เอเชยตะวันออกเฉียงใต้
ประโยชน์ : ใช้ทำคาน เกวียน เครื่องเรือน คราด และกระดาน ยาพื้นบ้าน จังหวัดสุรินทร์ ใช้ต้นต้มน้ำดื่ม เป็นยาแก้อัมพฤกษ์ อัมพาต

ประวัติศาสตร์ 77 จังหวัดทั่วไทย - Page 2 Tr_17

ตาก-แดง
เป็นต้นไม้ประจำจังหวัดตากที่มีข้อมูลประวัติไม่มากนัก
ต้นไม้ประจำจังหวัด : ตาก
ชื่อสามัญ : Iron Wood
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Xylia sylocarpa Var. kerrii (Craib & Hutch.) I. Nielsen
วงศ์ : LEGUMINOSAE
ชื่ออื่น : กร้อม (ชาวบน-นครราชศรีมา), ไคว (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), คว้าย (กะเหรี่ยง-เชียงใหม่, กาญจนบุรี), ไคว เพร่ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), จะลาน จาลาน (เงี้ยว-แม่ฮ่องสอน), แดง (ทั่วไป), ตะกร้อม (ชอง-จันทบุรี), ปราน (ส่วย-สุรินทร์) ไปรน์ (ศรีษะเกษ), ผ้าน (ละว้า-เชียงใหม่), เพ้ย (กะเหรี่ยง-ตาก), สะกรอม (เขมร-จันทบุรี)
ลักษณะทั่วไป : เป็นไม้ยืนต้น สูง 15–30 เมตร กิ่งก้านและยอดอ่อนมีขนละเอียดสีเหลือง ใบเป็นใบประกอบแบบขนนกสองชั้นเรียงสลับ ประกอบด้วย 2 ช่อ ใบแตกออกเป็น 2 ง่าม ใบย่อย 4–5 คู่รูปไข่หรือรูปไข่แกมขอบขนาน ออกดอกเป็นช่อทรงกลมคล้ายดอกกระถิน ที่ปลายกิ่งและซอกใบ กลีบดอกสีขาว ผล เป็นฝักรูปไต แบน แข็ง
ขยายพันธุ์ : โดยการเพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสม : สภาพดินที่ค่อนข้างอุดมสมบูรณ์ ต้องการแสงแดด
ถิ่นกำเนิด : เป็นไม้หลักของป่าเบญจพรรณ และป่าเต็งทั่วๆ ไป ในประเทศไทย
ประโยชน์ : เนื้อไม้สีแดงเรื่อๆ หรือน้ำตาลอมแดง เสี้ยนเป็นคลื่น เนื้อละเอียดแข็งเหนียว หนัก มีความทนทานสูง เลื่อยและตกแต่งได้ยาก เหมาะสำหรับการก่อสร้างที่ต้องการความมั่นคงแข็งแรง เช่น เสาบ้าน คาน เสาสะพาน คันไถ เกวียน ต่อเรือ หมอนรองรางรถไฟ เครื่องตกแต่งบ้าน เครื่องมือทางการเกษตร ฯลฯ ประโยชน์ทางยา แก่น ใช้ผสมยาแก้ทางโลหิตและโรคกษัย เห็นที่เกิดจากไม้แดง แก้พิษ โลหิตและอาการปวดอักเสบของฝี ต่างๆ ดับพิษ ไข้กาฬ เปลือก มีรสฝาด ใช้สมานธาตุ ดอก ผสมยาแก้ไข บำรุงหัวใจ เมล็ด นำมารับประทานได้

ประวัติศาสตร์ 77 จังหวัดทั่วไทย - Page 2 %E0%B8%94%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%94

ประจวบคิรีขันธ์-เกด

ต้นไม้ประจำจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ชื่อเกดปรากฏในเรื่อง ขุนช้างขุนแผน และ รามเกียรติ์ พระราชนิพนธ์ รัชกาลที่ 1
ต้นไม้ประจำจังหวัด : ประจวบคีรีขันธ์
ชื่อสามัญ : Milkey Tree
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Manilkara hexandra
วงศ์ : SAPOTACEAE
ชื่ออื่น : ครินี ไรนี (ฮินดู), เกด (กลาง)
ลักษณะทั่วไป : เป็นไม้ยืนต้น สูงประมาณ 8-15 เมตร เรือนยอดเป็นพุ่มกลม ใบสีเขียวเข้มเป็นมัน รูปทรงคล้ายรูปหัวใจ ออกดอกเป็นกลุ่ม ตามง่ามใบ ดอกสีเหลืองอ่อน มีกลิ่นหอม แต่ละดอกมี 18 กลีบ มีกลีบรองดอก 6 กลีบเรียงซ้อนกันเป็น 2 ชั้น ออกดอกช่วงเดือนมกราคม ถึง เดือนกรกฎาคม
การขยายพันธุ์ : เพาะเมล็ด และตอนกิ่ง
สภาพที่เหมาะสม : ป่าดงดิบแล้ง และป่าชายหาดทางใต้ ต้องการแสงแดดจัด ต้องการน้ำน้อย
ถิ่นกำเนิด : เอเชีย ประเทศไทยตั้งแต่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ลงไป และตามเกาะต่างๆ
ประโยชน์ : ใช้เป็นไม้ดอกไม้ประดับ

ประวัติศาสตร์ 77 จังหวัดทั่วไทย - Page 2 Tr_38

เพชรบุรี-หว้า
หว้า ชื่ออื่นๆ หว้า, ห้าขี้แพะ เป็นไม้ประเภทไม้ยืนต้น มีถิ่นกำเนิด จากอินเดียจนถึงเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ในไทยพบทั่วไปตามป่าดิบชื้นและป่าผลัดใบ เป็นต้นไม้ประจำจังหวัดเพชรบุรี
ต้นไม้ประจำจังหวัด : เพชรบุรี
ชื่อสามัญ : Jambolan Plum, Java Plum, Black Poum, Black Plum
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Syzygium cumini (Linn.) Skeets
วงศ์ : MYRTACEAE
ชื่ออื่น : ห้าขี้แพะ (เชียงราย)
ลักษณะทั่วไป : เป็นไม้ยืนต้นสูง 10–25 เมตร ใบเป็นใบเดี่ยวออกตรงข้าม แผ่นใบรูปรีหรือรูปไข่กลับ ปลายใบแหลม : โคนใบมน ดอกสีขาว ออกเป็นช่อตามง่ามใบ เกสรยาวเป็นพู่ ผลเป็นผลสดรูปรี
ขยายพันธุ์ : โดยการเพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสม : สภาพดินร่วนที่อุดมสมบูรณ์
ถิ่นกำเนิด : เอเชียเขตร้อน จากอินเดียถึงมาเลเซีย
ประโยชน์ : เปลือกต้น ต้มน้ำดื่มแก้บิด อมแก้ปากเปื่อย เนื้อไม้ ใช้ทำสิ่งปลูกสร้างที่อยู่ในร่ม ผลดิบ แก้ท้องเสีย ผลสุก รับประทานได้ ใช้ทำเครื่องดื่ม มีรสเปรี้ยวอมฝาด สามารถนำไปทำน้ำผลไม้ ไวน์เป็นเครื่องดื่มที่ให้สีม่วงกินแก้ท้องร่วงและบิด เมล็ด มีสารช่วยลดน้ำตาลในเลือด แก้ท้องเสีย ถอนพิษจากเมล็ดแสลงใจ

ประวัติศาสตร์ 77 จังหวัดทั่วไทย - Page 2 Tr_50

ราชบุรี-โมกมัน
เป็นต้นไม้ประจำจังหวัดราชบุรี พบได้ตามป่าเบญพรรณและป่าโปร่งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ต้นไม้ประจำจังหวัด : ราชบุรี
ชื่อสามัญ : Ivory, Darabela
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Wrightia tomentosa Roem. & Schult.
วงศ์ : APOCYNACEAE
ชื่ออื่น : มักมัน (สุราษฎร์ธานี), มูกน้อย มูกมัน (น่าน), โมกน้อย โมกมัน (ทั่วไป), เส่ทือ แนแก (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), โมกมันเหลือง (สระบุรี)
ลักษณะทั่วไป : เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบขนาดใหญ่ สูง 20 เมตร เปลือกของลำต้นเป็นสีน้ำตาลหรือสีเทาอ่อนและมียางขาว ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเป็นคู่ตรงข้ามกัน แผ่นใบรูปรีป้อม หรือเป็นรูปไข่ ปลายใบและโคนใบแหลม ขอบใบเรียบเนื้อใบบาง ออกดอกเป็นช่อตามปลายกิ่ง กลีบรองดอกและโคนกลีบเชื่อมติดกันเป็นรูปท่อ ปลายกลีบแยกออกจากกันเป็น 5 กลีบ ดอกแรกบานจะมีสีขาวอมเหลือง ข้างนอกเป็นสีเขียวอ่อน ผลเป็นฝักรูปทรงกระบอก ผิวฝักขรุขระ ฝักแก่เต็มที่จะแตกออกเป็นร่อง เมล็ดเป็นรูปยาว
ขยายพันธุ์ : เพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสม ดินทุกชนิด กลางแจ้ง ทนแสงแดดจัด
ถิ่นกำเนิด : ป่าเบญจพรรณ และป่าโปร่งทั่วไป ในเอเชียคะวันออกเฉียงใต้
ประโยชน์ : สมุนไพร กลุ่มยาแก้บิด ท้องเดิน ท้องร่วง โรคกระเพาะ ใบ ขับเหงื่อ ดอก เป็นยาระบาย ผล แก้โรครำมะนาด เปลือก แก้โรคคุดทะราด กระพี้ บำรุงถุงน้ำดี แก่น ขับโลหิตเสีย ราก ขับลม

อ้างอิง

th.wikipedia.org
web3.dnp.go.th
www.panmai.com
www.wangtakrai.com
www.rspg.org
www.bloggang.com
http://203.172.204.162/intranet/1023_mc41/tree/rajburee.htm
Volwar
Volwar
Webmaster
Webmaster

จำนวนข้อความ : 572
คะแนน : 770
คะแนนชื่อเสียง : 14
Join date : 23/01/2010
Age : 30
ที่อยู่ : ถนนเจริญยาก ถนนไม่มีรถเมล์ กทม.

ขึ้นไปข้างบน Go down

ประวัติศาสตร์ 77 จังหวัดทั่วไทย - Page 2 Empty ต้นไม้ไทยภาคเหนือ

ตั้งหัวข้อ by Volwar Sat May 29, 2010 11:19 am

ประวัติศาสตร์ 77 จังหวัดทั่วไทย - Page 2 Tr_13

เชียงราย-กาซะลองคำ
เป็นต้นไม้ออกดอกสีเหลืองส้มสวยงาม เป็นต้นไม้ประจำจังหวัดเชียงราย
ต้นไม้ประจำจังหวัด : เชียงราย
ชื่อสามัญ : Tree Jasmine
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Radermachera ignea (Kurz) Steenis
วงศ์ : BIGNONIACEAE
ชื่ออื่น : กากี (สุราษฎร์ธานี), กาซะลองคำ (เชียงราย), แคะเป๊าะ สำเภาหลามต้น (ลำปาง), จางจืด (เชียงใหม่), สะเภา อ้อยช้าง (ภาคเหนือ)
ลักษณะทั่วไป : เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบ สูง 6–20 เมตร ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก ออกตรงข้ามกัน แผ่นใบรูปรีแกมรูปหอก ปลายใบแหลมเป็นติ่ง โคนใบสอบแหลม ออกดอกเป็นกระจุกตามกิ่งและลำต้น สีเหลืองอมส้ม หรือสีส้ม กลีบดอกเชื่อมกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็นแฉกสั้นๆ 5 แฉก ผลเป็นฝัก เมื่อแก่แตกเป็นสองซีกเมล็ดมีปีก
ขยายพันธุ์ : โดยการเพาะเมล็ด ตอนกิ่ง ปักชำกิ่ง และแยกหน่อ
สภาพที่เหมาะสม : ดินร่วนปนทราย
ถิ่นกำเนิด : ขึ้นตามธรรมชาติบนเทือกเขาหินปูนที่ค่อนข้างชื้นทางภาคเหนือ ในประเทศไทย
ประโยชน์ : ใช้เป็นดอกไม้ประดับ

ประวัติศาสตร์ 77 จังหวัดทั่วไทย - Page 2 G3257826-2

เชียงใหม่-ทองกวาว
คนไทยโบราณเชื่อว่า บ้านใดปลูกต้นทองกวาวไว้ประจำบ้านจะทำให้มีเงินมีทองมาก เพราะทองกวาวเป็นไม้มงคลนาม คือสามารถมีทองได้ตามธรรมชาติหรือมีทองมากนั่นเอง นอกจากนี้ดอกยังมีความสวยเรืองรองดั่งทองธรรมชาติ
ต้นไม้ประจำจังหวัด : เชียงใหม่
ชื่อสามัญ : Flame of the forest, Bastard Teak, Bengal kinotree, Kino tree
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Butea monosperma
วงศ์ : LEGUMINOSAE
ชื่ออื่น : กวาว ก๋าว (ภาคเหนือ), จอมทอง (ภาคใต้), จ้า (เขมร), ทองธรรมชาติ ทองพรหมชาติ ทองต้น (ภาคกลาง), ดอกจาน (อิสาน)
ลักษณะทั่วไป : ทองกวาวเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่สูงประมาณ 10–15 เมตร ผลัดใบ เรือนยอดรูปทรงไม่แน่นอน ส่วนใหญ่จะกลม หรือเป็นทรงกระบอก ใบประกอบมี 3 ใบ ขนาดไม่เท่ากัน ใบหนาและมีขน ใต้ใบสีเขียวอมเทา ออกดอกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง คล้ายดอกถั่ว สีแสดแดงหรือเหลือง มีขน ออกดอก เดือนธันวาคม–มีนาคม ผลเป็นฝักแบน มีขนนุ่ม เมล็ด 1 เมล็ดอยู่ที่ปลายฝัก
การขยายพันธุ์ : การเพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสม : ดินร่วนซุย แสงแดดจัด
ถิ่นกำเนิด : อินเดีย
ประโยชน์ : ดอก ต้มดื่มเป็นยาแก้ปวด ถอนพิษไข้ ขับปัสสาวะ ฝัก ต้มเอาน้ำเป็นยาขับพยาธิ ยาง แก้ท้องร่วง เปลือก มีงานวิจัยพบว่า สารสกัดจากเปลือก ช่วยเพิ่มขนาดหน้าอกให้ใหญ่ขึ้น แต่จะลดจำนวนอสุจิ เมล็ด บดผสมมะนาว ทาบริเวณผื่นคัน ใบ ต้มกับน้ำ แก้ปวด ขับพยาธิ ท้องขึ้น ริดสีดวงทวาร ราก ต้มรักษาโรคประสาท บำรุงธาตุ

ประวัติศาสตร์ 77 จังหวัดทั่วไทย - Page 2 Tr_26

น่าน-กำลังเสือโคร่ง
ปัจจุบันต้น "กำลังเสือโคร่ง" จัดเป็นไม้หายากอีกชนิดหนึ่งที่คนรุ่นใหม่น้อยคนนักจะรู้จัก หรือเคยพบเห็น "กำลังเสือโคร่ง" มีชื่อเรียกอีกคือ "กำลังพญาเสือโคร่ง"
ต้นไม้ประจำจังหวัด : น่าน
ชื่อสามัญ : Birch
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Betula alnoides Buch-Ham.
วงศ์ : CUPULIFERAE
ชื่ออื่น : กำลังพญาเสือโคร่ง, กำลังเสือโคร่ง (เชียงใหม่)
ลักษณะทั่วไป : เป็นไม้ยืนต้นสูง 20–35 เมตร เปลือกต้นมีกลิ่นคล้ายการบูร เวลาแก่จะลอกออกเป็นชั้นๆ คล้ายกระดาษ ยอดอ่อน ก้านใบ และช่อดอกมีขนสีเหลืองหรือสีน้ำตาลปกคลุม หูใบเป็นรูปสามเหลี่ยม ใบเป็นรูปไข่แกมรูปหอก เนื้อใบบางคล้ายกระดาษ ด้านใต้ของใบมีตุ่ม โคนใบป้านเกือบเป็นเส้นตรง ขอบใบหยักแบบฟันเลื่อยสองชั้นหรือสามชั้น ซี่หยักแหลม ปลายใบเรียวแหลม ออกดอกเป็นช่อยาวแบบหางกระรอกตามง่ามใบ ดอกย่อยไม่มีก้าน ช่อดอกเพศผู้ยาว 5–8 ซ.ม. กลีบรองดอกเป็นรูปโล่หรือเกือบกลม มีแกนอยู่ตรงกลาง ช่อดอกเพศเมียยาว 3–9 ซ.ม. กลีบรอบดอกไม่มีก้านมี 3 หยัก ด้านนอกมีขน รังไข่แบน กรอบนอกเป็นรูปไข่หรือเกือบกลม มีขน ท่อรังไข่ยาวกว่ารังไข่เล็กน้อย ออกดอกช่วงเดือนพฤศจิกายน-มกราคม ผลมีปัก 2 ข้างโปร่งบาง
ขยายพันธุ์ : โดยการเพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสม : สภาพดินทุกชนิด ทนแล้งได้ดี ชอบความชื้นน้อย
ถิ่นกำเนิด : ภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย
ประโยชน์ : เนื้อไม้สีน้ำตาลอ่อน ใสกบตบแต่งง่าย ขัดชักเงาได้ดี ไม้ใช้ทำกระดานพื้น ด้ามเครื่องมือ เปลือกมีกลิ่น หอมคล้ายการะบูน ใช้ต้มกับน้ำเป็นยาบำรุงธาตุ บำรุงร่างกาย เจริญอาหาร แก้ปวดเมื่อยตามร่างกาย
อ้างอิง

ประวัติศาสตร์ 77 จังหวัดทั่วไทย - Page 2 Tr_33

พะเยา-สารภี
ตามตำราพรหมชาติจัดสารภีเป็นไม้มงคลชนิดหนึ่ง ที่ควรมีไว้ในบริเวณบ้านโดยกำหนดทิศที่ปลูกว่า ควรเป็นทิศตะวันออกเฉียงใต้ (อาคเนย์) เพื่อป้องกันเสนียดจัญไร
ต้นไม้ประจำจังหวัด : พะเยา
ชื่อสามัญ : ไม่ทราบแน่ชัด
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Mammea siamensis T. Anders.
วงศ์ : GUTTIFERAE
ชื่ออื่น : ทรพี (จันทบุรี), สร้อยพี (ภาคใต้), สารภี (ทั่วไป), สารภีแนน (เชียงใหม่)
ลักษณะทั่วไป : เป็นไม้ยืนต้นสูง 10–15 เมตร ไม่ผลัดใบ เรือนยอดเป็นพุ่มทึบ มียางสีขาว ใบเป็นใบเดี่ยวเรียงตรงข้าม รูปไข่กลับแกมขอบขนาน เส้นแขนงใบไม่ชัดเจน แต่เส้นใบย่อยแบบร่างแหเห็นชัดทั้งสองข้าง ออกดอกเป็นกระจุกตามกิ่ง สีขาว กลิ่นหอม ร่วงง่าย มีเกสรเพศผู้สีเหลือง
ขยายพันธุ์ : โดยการเพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสม : สภาพดินร่วนซุย ความชื้นพอเหมาะ
ถิ่นกำเนิด : ป่าเบญจพรรณ ป่าดงดิบ ในประเทศไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย พม่า เวียดนาม
ประโยชน์ : ดอกสดและแห้ง ใช้เข้ายาหอม บำรุงหัวใจ บำรุงเส้นประสาท แก้วิงเวียนหน้ามืด ตาลายและชูกำลัง ดอกตูม ย้อมผ้าไหมให้สีแดง ผลสุก รับประทานได้มีรสหวาน

ประวัติศาสตร์ 77 จังหวัดทั่วไทย - Page 2 Pยมหิน.1

แพร่-ยมหิน
เป็นดอกไม้ประจำจังหวัดแพร่จังหวัดเดียว
ต้นไม้ประจำจังหวัด : แพร่
ชื่อสามัญ : Almond-wood, Chickrassy Chittagong-wood
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Chukrasia velutina Roem.
วงศ์ : MELIACEAE
ชื่ออื่น : โค้โย่ง (กะเหรี่ยง-เชียงใหม่), ช้ากะเดา (ใต้), ยมขาว (เหนือ), ยมหิน มะเฟืองต้น สะเดาช้าง สะเดาหิน (กลาง), ริ้งบ้าง รี (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), เสียดค่าย (สุราษฎร์ธานี)
ลักษณะทั่วไป : เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ผลัดใบแต่ผลิใบใหม่เร็ว เรือนยอดเป็นพุ่มรูปกรวยต่ำ เปลือกสีน้ำตาลคล้ำ สีเทาหรือ เทาปนดำ แตกเป็นร่องลึกตามยาวของลำต้น ใบเป็นใบประกอบออกเยื้องกันเล็กน้อย แผ่นใบรูปดาบ ท้องใบมีขนนุ่ม หลังใบ เกลี้ยง ดอกขนาดเล็ก สีเขียวแกมเหลือง ออกเป็นช่อตามปลายกิ่ง ออกดอกระหว่างเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนกุมภาพันธ์
การขยายพันธุ์ : โดยการเพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสม : เป็นไม้กลางแจ้ง เจริญเติบโตได้ดีในสภาพดินทุกชนิด ต้องการน้ำและความชุ่มชื้นปานกลาง
ถิ่นกำเนิด : ป่าเบญจพรรณแล้งและชื้นทั่วไปในไทย
ประโยชน์ : ใช้เป็นไม้ดอกประดับ

ประวัติศาสตร์ 77 จังหวัดทั่วไทย - Page 2 Tr_44

แม่ฮ่องสอน-กระพี้จั่น
เป็นต้นไม้พระราชทานประจำจังหวัดแม่ฮ่องสอน
ต้นไม้ประจำจังหวัด : แม่ฮ่องสอน
ชื่อพันธุ์ไม้ : กระพี้จั่น
ชื่อสามัญ : ไม่ทราบแน่ชัด
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Millettia brandisiana Kurz
วงศ์ : LEGUMINOSAE
ชื่ออื่น : จั่น ปี้จั่น (ทั่วไป), ปี้จั่น (ภาคเหนือ), กระพี้จั่น (ภาคกลาง)
ลักษณะทั่วไป : เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบ สูง 8–20 เมตร เปลือกสีเทา ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก ออกเวียนสลับ มีใบย่อย แผ่นใบรูปรีแกมขอบขนาน ปลายใบทู่ โคนใบมนหรือสอบเบี้ยวเล็กน้อย ขอบเรียบ หลังใบสีเขียวเข้ม ท้องใบสีจางกว่า ใบแก่เกลี้ยง มีขนประปรายตามเส้นกลางใบด้านล่าง ดอกรูปดอกถั่ว สีขาวปนม่วง ออกดอกเป็นช่อตามง่ามใบ ออกดอกระหว่างเดือนมีนาคม-พฤษภาคม ผลเป็นฝักแบน โคนแคบกว่าปลาย เปลือกเกลี้ยงหนาคล้ายแผ่นหนัง ขอบเป็นสัน เมล็ดสีน้ำตาลดำ
ขยายพันธุ์ : โดยการเพาะเมล็ด ปักชำราก
สภาพที่เหมาะสม : สภาพดินทุกชนิด ต้องการน้ำและความชื้นปานกลาง ทนแล้งได้ดี
ถิ่นกำเนิด : เอเชียเขตร้อน ภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงใต้ของไทย
ประโยชน์ : ไม้ทำเยื่อกระดาษ ด้ามเครื่องมือ ของเล่นเด็ก ทำดอกไม้ประดิษฐ์

ประวัติศาสตร์ 77 จังหวัดทั่วไทย - Page 2 1127-2737%5B1%5D

ลำปาง-ขะจาว
ไม้ขะจาว ปลูกครั้งพุทธกาล เป็นต้นไม้ศักดิ์สิทธิ์ ที่ครั้งหนึ่งได้มีมีชาวลัวะคนหนึ่งได้นำ กิ่งขะจาวทำเป็นไม้คานหาบกระบอกน้ำผึ้ง มะพร้าวและมะตูม มาถวายพระพุทธองค์ซึ่งประทับอยู่ ณ วัดพระธาตุลำปางหลวง ภายหลังอธิษฐานนำไม้ขะจาว โดยใช้ทางปลายปักลงไม่นานไม้คานที่ปักไว้ ก็แตกกิ่งก้านเจริญเติบโตเกิดเป็นกิ่งก้านสาขาขึ้นมา สร้างความแปลกใจให้ชาวบ้าน และชาวบ้านเชื่อว่าเป็นต้นไม้ศักดิ์สิทธิ์ จึงได้นำเอารากไม้ขะจาวไปบูชาหรือนำไปเป็นเครื่องรางของขลังห้อยคอเช่นเดียวกับ ตระกุดผ้ายันต์
ต้นไม้ประจำจังหวัด : ลำปาง
ชื่อสามัญ : Indian Elm
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Holoptelea integrifolia (Roxb.) Planch.
วงศ์ : URTICACEAE
ชื่ออื่น : กระเจา กระเชา (ภาคกลาง), กระเจาะ ขะเจา (ภาคใต้), กระเช้า (กาญจนบุรี), กะเซาะ (ราชบุรี), กาซาว (เพชรบุรี), ขะจาวแดง ฮังคาว (ภาคเหนือ), ตะสี่แค (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), พูคาว (นครพนม), มหาเหนียว (นครราชสีมา), ฮ้างค้าว (อุดรธานี, เชียงราย, ชัยภูมิ), ขะจาว (ทั่วไป)
ลักษณะทั่วไป : เป็นไม้ยืนต้นสูง 25 เมตร ผลัดใบ ลำต้นเปลาตรงเปลือกสีน้ำตาลปนเทา มีต่อมระบายอากาศเป็นจุดกลมเล็ก ๆ สีขาวมองเห็นได้ง่าย เรือนยอดเป็นพุ่มรูปไข่กว้างค่อนข้างทึบ ใบเป็นใบเดี่ยวเรียงสลับ แผ่นใบรูปรีป้อม โคนใบมนหรือป้าน ปลายใบเรียวแหลม ก้านใบมีขน ออกดอกเป็นกระจุกตามง่ามใบ ดอกขนาดเล็ก แยกเพศเป็นดอกเพศผู้และดอกเพศเมีย ออกดอกช่วงเดือนธันวาคม-มกราคม ผลเป็นรูปโล่แบน มีปีกบางล้อมรอบ มีก้านเกสรเพศเมีย 2 อันติดอยู่ส่วนบนสุด บริเวณปีกมีลายเส้นออกเป็นรัศมีโดยรอบ
ขยายพันธุ์ เพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสม : ดินทุกชนิด ต้องการน้ำปานกลาง ทนแล้ง
ถิ่นกำเนิด : ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออกของประเทศไทย
ประโยชน์ : ต้นขะจาวเป็นไม้เนื้อแข็ง มีเปลือกหุ้มต้นที่เหนียวมาก มีกลิ่นเหม็นเขียว จึงสามารถนำมาทำประโยชน์ได้มากมาย ปลูกในบริเวณสวนข้างทาง เพราะมีร่มไม้ที่โปร่งสูงกันแดดได้ดี ใช้ทำสิ่งก่อสร้าง ที่อยู่ในร่ม ทำเครื่องมือทางการเกษตร เช่น ด้ามจอบ เสียม ทำพานท้ายปืน เปลือกทำยารักษาเรื้อนของสุนัข กันตัวไร และเป็นยาแก้ปวดตามข้อมือ

ประวัติศาสตร์ 77 จังหวัดทั่วไทย - Page 2 Tr_74

อุตรดิตถ์-สัก
ไม้ต้นขนาดใหญ่ผลัดใบในฤดูร้อน ลำต้นเปลาตรงเปลือกเรียบหรือแตกเป็นร่องเล็ก ๆ สีเทา โคนเป็นพูพอนต่ำ ๆ เรือนยอดเป็นพุ่มทรงกลมค่อนข้างทึบ เปลือกสีเทา เรียบ หรือแตกเป็นร่องตื้นตามความยาวลำต้น ขึ้นเป็นหมู่ในป่าเบญจพรรณทางภาคเหนือ บางส่วนในภาคกลางและภาคตะวันตก มีอยู่บ้างทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สักมักจะได้รับความเข้าใจผิดเสมอว่าเป็นไม้เนื้อแข็งเนื่องจากว่ามันมีลักษณะพิเศษที่เป็นไม้เนื้ออ่อนที่มีความทนทานกว่าไม้เนื้อแข็งหลายๆชนิด ชื่อสามัญอื่นอื่น: เซบ่ายี้, ปีฮือ, ปายี้, เป้อยี
ต้นไม้ประจำจังหวัด : อุตรดิตถ์
ชื่อสามัญ : Teak
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Tectona grandis Linn.
วงศ์ : VERBENACEAE
ชื่ออื่น : เคาะเยียโอ (ละว้า-เชียงใหม่), ปายี้ (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี), บีอี ปีฮือ เป้อยี (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), สัก (ทั่วไป), เส่บายี้ (กะเหรี่ยง-กำแพงเพชร)
ลักษณะทั่วไป : เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่สูงถึง 50 เมตร โตเร็ว ผลัดใบในฤดูร้อน ส่วนที่ยังอ่อนมีขน เปลือกเรียบหรือแตกเป็นร่องเล็กๆ สีเทา ใบเป็นใบเดี่ยวมีขนาดใหญ่มาก เรียงตรงข้าม รูปรี ปลายใบแหลม โคนใบมน เนื้อใบสากคาย สีเขียวเข้ม ท้องใบสีอ่อนกว่า มีต่อมเล็กๆ สีแดง ดอกเป็นช่อใหญ่ ออกที่ปลายกิ่งและซอกใบบริเวณปลายกิ่ง กลีบดอกสีขาวเชื่อมติดกันเป็นหลอดสั้น ออกดอกเดือนมิถุนายน-ตุลาคม ผลเป็นผลสดค่อนข้างกลม มีขนละเอียดหนาแน่น กลีบเลี้ยงขยายตัวหุ้มผลไว้ด้านใน
ขยายพันธุ์ : เพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสม : ดินแบบตะกอนทับถมที่มีผิวหน้าดินลึกและระบายน้ำดี
ถิ่นกำเนิด : อินเดีย พม่า ลาว ไทย
ประโยชน์ : ไม้สัก เนื้อไม้มีลายสวยงามแข็งแรงทนทาน เลื่อย ผ่า ไสกบตบแต่ง และชักเงาได้ง่าย ใช้ทำเครื่องเรือนและในการก่อสร้างบ้านเรือน ปลวก มอด ไม่ชอบทำลายเพระมีสารพวกเทคโทควิโนน (Tectoquinone)

อ้างอิง
dnp.go.th
th.wikipedia.org
www.panmai.com
www.bloggang.com
suan_naratip.tripod.com
ittm.dtam.moph.go.th
sps.lpru.ac.th
www.lampang.go.th
Volwar
Volwar
Webmaster
Webmaster

จำนวนข้อความ : 572
คะแนน : 770
คะแนนชื่อเสียง : 14
Join date : 23/01/2010
Age : 30
ที่อยู่ : ถนนเจริญยาก ถนนไม่มีรถเมล์ กทม.

ขึ้นไปข้างบน Go down

ประวัติศาสตร์ 77 จังหวัดทั่วไทย - Page 2 Empty Re: ประวัติศาสตร์ 77 จังหวัดทั่วไทย

ตั้งหัวข้อ by *!!~AlFeiLai~!!* Sat May 29, 2010 7:47 pm

ทองกวาวสวยๆ> <"
*!!~AlFeiLai~!!*
*!!~AlFeiLai~!!*
B Class
B Class

จำนวนข้อความ : 265
คะแนน : 299
คะแนนชื่อเสียง : 21
Join date : 28/03/2010
Age : 28
ที่อยู่ : Thailand

https://twitter.com/spellsunnn

ขึ้นไปข้างบน Go down

ประวัติศาสตร์ 77 จังหวัดทั่วไทย - Page 2 Empty Re: ประวัติศาสตร์ 77 จังหวัดทั่วไทย

ตั้งหัวข้อ by Nerukawa Sun May 30, 2010 5:11 pm

ประวัติศาสตร์ 77 จังหวัดทั่วไทย - Page 2 047กระทู้โหลดโหดแห่งปี
me/ ประวัติศาสตร์ 77 จังหวัดทั่วไทย - Page 2 110
Nerukawa
Nerukawa
Webmaster
Webmaster

จำนวนข้อความ : 42
คะแนน : 110
คะแนนชื่อเสียง : 4
Join date : 23/01/2010
Age : 26
ที่อยู่ : บนฟ้า~~~

http://historyclubsite.forumotion.com

ขึ้นไปข้างบน Go down

ประวัติศาสตร์ 77 จังหวัดทั่วไทย - Page 2 Empty Re: ประวัติศาสตร์ 77 จังหวัดทั่วไทย

ตั้งหัวข้อ by *!!~AlFeiLai~!!* Sun May 30, 2010 7:00 pm

55 โหลดโหดแห่งปีเลยเรอะ=w=;;
*!!~AlFeiLai~!!*
*!!~AlFeiLai~!!*
B Class
B Class

จำนวนข้อความ : 265
คะแนน : 299
คะแนนชื่อเสียง : 21
Join date : 28/03/2010
Age : 28
ที่อยู่ : Thailand

https://twitter.com/spellsunnn

ขึ้นไปข้างบน Go down

ประวัติศาสตร์ 77 จังหวัดทั่วไทย - Page 2 Empty Re: ประวัติศาสตร์ 77 จังหวัดทั่วไทย

ตั้งหัวข้อ by Volwar Sun Jun 06, 2010 12:06 am

ประวัติศาสตร์ 77 จังหวัดทั่วไทย - Page 2 Katungpha

กระบี่-ทุ้งฟ้า
ทุ้งฟ้ามีเขตการกระจายพันธุ์กว้าง พบตั้งแต่จีน พม่า เวียดนาม กัมพูชา และภูมิภาคมาเลเซียจนถึงนิวกินี ในไทยพบทางภาคใต้ ขึ้นในป่าดิบชื้น ระดับความสูงจนถึงประมาณ 300 เมตร
ต้นไม้ประจำจังหวัด : กระบี่
ชื่อสามัญ : ไม่ทราบแน่ชัด
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Alstonia macrohpylla Wall
วงศ์ : APOCYNACEAE
ชื่ออื่น : กระทุ้งฟ้าไห้ ทุ้งฟ้าไก่ (ชุมพร), ตีนเทียน (สงขลา), ทุ้งฟ้า (ภาคใต้), พวงพร้าว (ปัตตานี)
ลักษณะทั่วไป : เป็นไม้ยืนสูง 15–25 เมตร ไม่ผลัดใบ กิ่งใหญ่ตั้งฉากกับลำต้นเป็นรอบๆ เรือนยอดรูปไข่ เปลือกสีขาวอมเทามีน้ำยางสีขาว ใบเป็นใบเดี่ยว รูปหอกกลับ ปลายใบเป็นติ่งแหลม ท้องใบมีคราบสีขาว หลังใบสีเขียว ออกดอกเป็นช่อทีปลายกิ่ง กลีบดอกสีขาว หรือขาวอมเหลืองเชื่อมติดกันเป็นหลอด ออกดอกช่วง เดือนพฤศจิกายน - เดือนธันวาคม ผลเป็นฝักเรียวยาว ขนาดเล็ก
ขยายพันธุ์ : โดยการเพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสม : เจริญเติบโตในสภาพดินลึก ระบายน้ำได้ดี ต้องการความชื้นมาก
ถิ่นกำเนิด : จีน พม่า เวียดนาม กัมพูชา และภูมิภาคมาเลเซียจนถึงนิวกินี ในไทยพบทางภาคใต้ ขึ้นในป่าดิบชื้น ระดับความสูงจนถึงประมาณ 300 เมตร
ประโยชน์ : ไม้ใช้กระดานพื้น ฝา เครื่องเรือน และเครื่องใช้เบา ๆ ลักษณะเนื้อไม้คล้ายไม้ตีนเป็ด รากใช้ผสมยา บำรุงร่างกาย บำรุงกำหนัด

ประวัติศาสตร์ 77 จังหวัดทั่วไทย - Page 2 Watphothikaset11

ชุมพร-มะเดื่อชุมพร
มะเดื่อชุมพร เป็นต้นไม้ประจำจังหวัดของชุมพร และส่วนหนึ่งที่จังหวัดชุมพรชื่อว่าชุมพร นั้น ก็อาจมีที่มาว่า มาจากคำว่า มะเดื่อชุมพร
ต้นไม้ประจำจังหวัด : ชุมพร
ชื่อสามัญ : Cluster Fig
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Ficus racemosa Linn.
วงศ์ : LEGUMINOSAE
ชื่ออื่น : กูแซ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), เดื่อเกลื้อง (ภาคกลาง,ภาคเหนือ), เดื่อน้ำ (ภาคใต้), มะเดื่อ (ลำปาง), มะเดื่อชุมพร มะเดื่ออุทุมพร (ภาคกลาง)
ลักษณะทั่วไป : เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบสูง 5–20 เมตร กิ่งอ่อนมีขนสีน้ำตาลแดงปกคลุมบางๆ ต่อมาจะหลุดร่วงไป ใบเป็นใบเดี่ยวเรียงสลับ แผ่นใบรูปไข่ถึงรูปหอก ปลายใบแหลม โคนใบทู่ถึงกลม ออกดอกเป็นกระจุก ดอกขนาดเล็ก ผลรูปไข่กลับ เมื่อสุกสีแดงเข้มถึงม่วง
ขยายพันธุ์ : โดยการเพาะเมล็ด และปักชำกิ่ง
สภาพที่เหมาะสม : ดินร่วน และมีอินทรียวัตถุ ระบายน้ำได้ดี
ถิ่นกำเนิด : ประเทศศรีลังกา จีนตอนใต้ เอเชียใต้ และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ประโยชน์ : ราก แก้พิษไข้ ไข้กาฬ แก้ร้อนใน

ประวัติศาสตร์ 77 จังหวัดทั่วไทย - Page 2 BB4

ตรัง-ศรีตรัง
เป็นดอกไม้และต้นไม้ประจำจังหวัดสตูลที่ปรากฏในคำขวัญประจำจังหวัดสตูล มีถิ่นกำเนิดในอเมริกาใต้
ต้นไม้ประจำจังหวัด : ตรัง
ชื่อดอกไม้ : ดอกศรีตรัง
ชื่อสามัญ : Jacaranda
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Jacaranda filicifolia D. Don.
วงศ์ : BIGNONIACEAE
ชื่ออื่น : แคฝอย (กรุงเทพฯ), ศรีตรัง (ตรัง)
ลักษณะทั่วไป : เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบสูง 5–10 เมตร เรือนยอดโปร่ง ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก ออกตรงกันข้าม ใบย่อยเล็ก ออกดอกเป็นช่อใหญ่ตามกิ่ง ดอกสีม่วง กลีบดอก 5 กลีบเชื่อมกันเป็นหลอด เมื่อบานเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 ซ.ม. ออกดอกช่วงเดือนมกราคม-มีนาคม ผลเป็นฝักแบน เมื่อแก่แตกเป็น 2 ซีก เมล็ดมีปีก
การขยายพันธุ์ : การเพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสม : ดินทุกชนิด เป็นไม้กลางแจ้ง ต้องการน้ำและความชื้นปานกลาง
ถิ่นกำเนิด : เป็นไม้ท้องถิ่นของอเมริกาใต้
ประโยชน์ : ใช้เป็นดอกไม้ประดับ

ประวัติศาสตร์ 77 จังหวัดทั่วไทย - Page 2 090417_Thaleban_053

นครศรีธรรมราช-แซะ
Callerya kityana (Craib) A. M. Schot ตั้งชื่อจากต้นไม้ที่ปลูกที่ จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อใช้เป็นพืชสมุนไพร (ลางเย็น) และได้รับคำบอกเล่าว่านำมาจากในป่า ในหนังสือราชชื่อพรรณไม้เต็ม สมิตินันทน์ ระบุว่าเป็นไม้ต่างประเทศ แต่ไม่มีข้อมูลถิ่นกำเนิดที่แท้จริง และ Schot ยังกล่าวว่าพืชชนิดนี้คล้ายกับต้นหางไหล Endosamara racemosa (Roxb.) Geesink แต่ฝักไม่เป็นข้อ
ต้นไม้ประจำจังหวัด : นครศรีธรรมราช
ชื่อสามัญ : ไม่ทราบแน่ชัด
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Millettia atropurpurea Benth.
วงศ์ : LEGUMINOSAE
ชื่ออื่น : กะแซะ (สุราษฏร์ธานี), ยีนิเก๊ะ (มลายู-นราธิวาส), แซะ (ทั่วไป)
ลักษณะทั่วไป : เป็นไม้ยืนต้นสูง 20–30 เมตร เรือนยอดเป็นพุ่มทึบ ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก ใบย่อยออกตรงกันข้าม มีใบย่อยปลายก้านอีก 1 ใบ แผ่นใบรูปขอบขนานแกมรูปหอก ออกเป็นช่อตามปลายกิ่งหรือง่ามใบ รูปดอกถั่ว สีแดงแกมม่วงทึบ กลิ่นหอม ออกดอกช่วงเดือนมกราคม-เมษายน ผลเป็นฝัก สีน้ำตาล กลมรี
ขยายพันธุ์ : โดยการเพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสม : สภาพดินทุกชนิด แสงแดดจัด ต้องการน้ำและความชื้นปานกลาง
ถิ่นกำเนิด : ตามชายป่าดิบชื้นภาคใต้ของไทย
ประโยชน์ : ปลูกเป็นต้นไม้ประดับ

ประวัติศาสตร์ 77 จังหวัดทั่วไทย - Page 2 Tr_25

นราธิวาส-ตะเคียนชันตาแมว
ตะเคียนชันตาแมวมีเขตการกระจายพันธุ์แคบๆพบเฉพาะบริเวณคาบสมุทรมลายู และทางภาคใต้ของไทย แถบจังหวัดสุราษฎร์ธานี (เขาสก) ตรัง สงขลา ปัตตานี และนราธิวาส ขึ้นตามที่ลาดชันในป่าดิบชื้น ระดับความสูง 300-500 เมตร (1000 เมตร ในมาเลเซีย)
ต้นไม้ประจำจังหวัด : นราธิวาส
ชื่อสามัญ : Chingal
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Balanocarpus heimii King
วงศ์ : DIPTEROCARPACEAE
ชื่ออื่น : จีงามาส (มลายู-นราธิวาส), ตะเคียนชัน ตะเคียนชันนตาแมว (ภาคใต้)
ลักษณะทั่วไป : เป็นไม้ยืนต้นสูง 30–40 เมตร เรือนยอดเป็นพุ่มทึบ ลำต้นเปลาตรง เปลือกสีน้ำตาลเข้มล่อนเป็นสะเก็ด มียางชันสีขาว ใบ เป็นใบเดี่ยวเรียงสลับ แผ่นใบรูปหอกหรือรูปดาบ ปลายใบแหลม โคนใบสอบ ออกดอกเป็นช่อตามง่ามใบและปลายกิ่ง สีขาว กลิ่นหอม ออกดอกช่วงเดือนเมษายน-มิถุนายน
ขยายพันธุ์ : โดยการเพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสม : ดินร่วน กลางแจ้ง ต้องการน้ำและความชื้นปานกลาง
ถิ่นกำเนิด : ป่าดงดิบ ตามคาบสมุทรมลายู พบมากที่จังหวัดยะลาและนราธิวาส
ประโยชน์ : ใช้ในการก่อสร้างได้แข็งแรงทนทาน เช่น ทำเสา รอด ตง ไม้หมอนรถไฟ และใช้ต่อเรือ ชันมีราคาสูง ใช้ผสมน้ำมันทาไม้ และน้ำมันชักเงาอย่างดี

ประวัติศาสตร์ 77 จังหวัดทั่วไทย - Page 2 Tr_31

ปัตตานี-ตะเคียนทอง
ตะเคียนทองมีการกระจายพันธุ์ตามธรรมชาติทางตอนใต้ และตะวันออกเฉียงใต้ของทวีปเอเชีย ในแถบประเทศไทย พม่า ลาว เวียดนาม กัมพูชา มาเลเซีย บังกลาเทศ และอินเดีย พบในป่าดิบชื้น
ต้นไม้ประจำจังหวัด : ปัตตานี
ชื่อสามัญ : Iron Wood
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Hopea odorata Roxb.
วงศ์ : DIPTEROCARPACEAE
ชื่ออื่น : กะกี้ โกกี้ (กะเหรี่ยง-เชียงใหม่), แคน (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ), จะเคียน (ภาคเหนือ), จูเค้ โซเก (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี), ตะเคียนทอง ตะเคียนใหญ่ (ภาคกลาง), ไพร (ละว้า-เชียงใหม่)
ลักษณะทั่วไป : เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ ไม่ผลัดใบ เรือนยอดเป็นพุ่มทึบ กลม หรือรูปเจดีย์ เปลือกหนาสีน้ำตาลดำแตกเป็นสะเก็ด กระพี้สีน้ำตาลอ่อน แก่นสีน้ำตาลอมเหลือง ใบ เป็นใบเดี่ยวรูปไข่แกมรูปหอก หรือรูปดาบ เนื้อใบค่อนข้างหนา ปลายใบเรียว โคนใบมนป้านและเบี้ยว หลังใบมีตุ่มเกลี้ยง ปลายโค้งแต่ไม่จรดกัน ออกดอกขนาดเล็ก สีขาว ออกเป็นช่อยาวตามง่ามใบและปลายกิ่ง กลิ่นหอม ผล รูปไข่ เกลี้ยง ปลายมนเป็นติ่งคล้ายหนามแหลม ภายในกลีบรองดอกที่ขยายตัวออกเป็นปีก รูปใบพาย
ขยายพันธุ์ : โดยการเพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสม : อากาศชุ่มชื้น ในช่วงที่ต้นยังไม่โตจะไม่ชอบแสงแดดจัด
ถิ่นกำเนิด : ไทย พม่า ลาว เวียดนาม กัมพูชา มาเลเซีย บังกลาเทศ อินเดีย
ประโยชน์ : สร้างบ้านเรือน สะพาน หมอนรองรางรถไฟ

ประวัติศาสตร์ 77 จังหวัดทั่วไทย - Page 2 Tr_34

พังงา-เทพพาโร
เทพทาโร มีเขตการกระจายพันธุ์แถบเอเชียเขตร้อน นับตั้งแต่เทือกเขาตะนาวศรีในพม่า ไทย มลายู จนถึงแถบคาบสมุทรอินโดจีนและสุมาตรา ไม้ชนิดนี้ชอบขึ้นบนพื้นที่สูง มีลักษณะคล้ายกับ C. neesianum Meissn ซึ่งเป็นไม้ที่พบกระจายพันธุ์อยู่แถบจีนตอนใต้และตังเกี๋ย ในประเทศไทย จะพบเทพทาโรขึ้นอยู่ห่าง ๆ กันบนเขาในป่าดงดิบทั่วประเทศ แต่จะพบมากที่สุดทางภาคใต้ เทพทาโรเป็นไม้พื้นเมืองเก่าแก่ของไทย พบหลักฐานการอ้างถึงครั้งแรกในสมัยสุโขทัย ดังปรากฏในไตรภูมิพระร่วง เมื่อ พ.ศ. 1888 กล่าวถึงพรรณพืชหอมในอุตตรกุรุทวีป จะประกอบด้วย จวง จันทน์ กฤษณา คันธา เป็นต้น
ต้นไม้ประจำจังหวัด : พังงา
ชื่อพันธุ์ไม้ : เทพทาโร
ชื่อสามัญ : ไม่ทราบแน่ชัด
ชื่อวิทยาศาสตร์ Cinnamomum porrectum Kosterm.
วงศ์ LAURACEAE
ชื่ออื่น จะไคหอม จะไคต้น (ภาคเหนือ), จวงหอม จวง (ภาคใต้), พลูต้นขาว (เชียงใหม่), เทพทาโร (ภาคกลาง, จันทบุรี, สุราษฎร์ธานี), มือแดกะมางิง (มลายู-ปัตตานี)
ลักษณะทั่วไป เป็นไม้ยืนต้นสูง 10–30 เมตร เรือนยอดเป็นพุ่มทึบ ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงตรงข้ามกัน แผ่นใบรูปรีแกมรูปไข่ ปลายใบแหลม โคนใบสอบ ก้านใบเรียวเล็ก ดอกสีขาวหรือเหลืองอ่อน ออกเป็นช่อเป็นกระจุกตามปลายกิ่ง ผลทรงกลม มีขนาดเล็ก
ขยายพันธุ์ โดยการเพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสม สภาพดินทุกชนิด เป็นไม้กลางแจ้ง ต้องการน้ำและความชื้นปานกลาง
ถิ่นกำเนิด ป่าดงดิบบนเขาทั่วไป
ประโยชน์ : ใช้เป็นไม้หอม

ประวัติศาสตร์ 77 จังหวัดทั่วไทย - Page 2 115-20060304231117

พัทลุง-พะยอม
คนไทยโบราณเชื่อว่า บ้านใดปลูกต้นพะยอมไว้ประจำบ้าน จะทำให้มีอุปนิสัยที่อ่อนน้อม เพราะ พะยอม คือ การยินยอม ตกลง ผ่อนผันประณีประนอมนอกจากนี้ยังเชื่ออีกว่าจะไม่ขัดสนเพราะบุคคลทั่วไปมีความเห็นใจและยอมให้ในสิ่งที่ดีงามและยังเชื่ออีกว่าถ้าปลูกต้นพะยอมทองก็จะทำให้ไม่ขันสนเงินทองนอกจากนี้ลักษณะของดอกยังมีสีเหลืองทองและมีกลิ่นหอมหวลยวนใจอีกด้วย
ต้นไม้ประจำจังหวัด : พัทลุง
ชื่อสามัญ : Shorea white Meranti
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Shorea talura Roxb.
วงศ์ : DIPTEROCARPACEAE
ชื่ออื่น : กะยอม (เชียงใหม่), ขะยอม (ลาว), ขะยอมดง พะยอมดง (ภาคเหนือ), แคน (ลาว), เชียง เซี่ยว (กะเหรี่ยง-เชียงใหม่), พะยอม (ภาคกลาง), พะยอมทอง (สุราษฎร์ธานี, ปราจีนบุรี), ยางหยวก (น่าน)
ลักษณะทั่วไป : พะยอมเป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูงประมาณ 15–20 เมตร ทรงพุ่มกลม ผิวเปลือกสีน้ำหรือเทา เนื้อไม้มีสีเหลืองแข็ง ลำต้นแตกเป็นร่องตามยาวมีสะเก็ดหนา ใบเป็นรูปมนรี ปลายใบแหลม โคนใบสอบมน ขอบใบเรียบ ด้านหลังใบมีเส้นใบชัด ดอกออกเป็นช่อ ใหญ่ส่วนยอดของต้น ดอกมีกลีบ 3 กลีบ โคนกลีบดอกติดกับก้านดอกมีลักษณะกลม กลีบดอกเรียบโค้งเล็กน้อย มีสีเหลืองอ่อน กลิ่นหอม
การขยายพันธุ์ : การเพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสม : สภาพดินทุกชนิด เป็นไม้กลางแจ้ง สามารถปรับเข้ากับสภาพแวดล้อมได้ดีมาก
ถิ่นกำเนิด : พบตามป่าผลัดใบ และป่าดิบ เป็นไม้พื้นเมืองของเอเชีย ไทย, พม่า, มาเลเซีย
ประโยชน์ : เนื้อไม้ไปใช้ในการก่อสร้าง เช่น ใช้ทำหมอนรองรางรถไฟ พื้น เป็นต้น มีสรรพคุณทางยา เปลือกต้น รสฝาด ต้มดื่มแก้ท้องร่วง แก้ลำไส้อักเสบ ฝนทาสมานบาดแผล ชำระแผลทุบใส่น้ำตาลสดกันบูด ดอก รสหอมสุขุม ปรุงเป็นยาแก้ลม บำรุงหัวใจ ลดไข้ ดอกสามารถนำมาประกอบอาหารได้

ประวัติศาสตร์ 77 จังหวัดทั่วไทย - Page 2 1177070649

ภูเก็ต-ประดู่
ต้นไม้ที่ชื่อประดู่นั้น ปัจจุบันมีอยู่หลายต้น ทั้งของดั้งเดิมในไทยเอง และที่เข้ามาจากต่างประเทศ
ดอกไม้ประจำจังหวัด : ชลบุรี, ร้อยเอ็ด, ระยอง, อุตรดิตถ์
ชื่อสามัญ : Angsana, Padauk
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Pterocarpus indicus Willd
วงศ์ : LEGUMINOSAE
ชื่ออื่น : สะโน (ภาคใต้)
ลักษณะทั่วไป : ลำต้นสูง 10–20 เมตร ผลัดใบ เรือนยอดกลมหรือรูปเจดีย์เตี้ย แผ่กว้าง หนาทึบ ใบประกอบขนนก รูปไข่ เรียบหนา ออกดอกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง มี 5 กลีบ สีเหลือง มีกลิ่นหอมอ่อนๆ ดอกบานแล้วร่วงพร้อมๆ กัน ออกดอกช่วงเดือน เมษายน-สิงหาคม
การขยายพันธุ์ : โดยการเพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสม : ดินทั่วไป ชอบแสงแดดจัด
ถิ่นกำเนิด : อินเดีย, พม่า, มาเลเซีย, ฟิลิปปินส์
ประโยชน์ : ใบ รสฝาด ใช้สระผม พอก ฝี พอกแผล แก้ผดผื่นคัน เปลือก รสฝาดจัด สมานบาดแผล แก้ท้องเสีย บำรุงร่างกาย แก่น รสขมฝาดร้อน แก้คุดทะราด แก้เสมหะ เลือดกำเดาไหล แก้ไข้ บำรุงเลือด บำรุงกำลัง ขับปัสสาวะ แก้ผื่นคัน ผล แก้อาเจียน แก้ท้องร่วง มีรสฝาดสมาน เนื้อไม้ประดู่ทั้ง 2 ชนิด เป็นไม้มีค่าทางเศษฐกิจ มีคุณภาพดี เพราะเนื้อแข็ง ปลวกไม่ทำลาย สีสวย ลวดลายงดงาม เนื้อละเอียดปานกลาง ตกแต่งขัดเงาได้ดี ใช้สร้างบ้านเรือน ทำเครื่องเรือน ทำเกวียน เรือ เครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆ เครื่องดนตรี เป็นต้น

ประวัติศาสตร์ 77 จังหวัดทั่วไทย - Page 2 Tr_46

ยะลา-โสกเหลือง (ศรียะลา)
โสกเหลืองมีเขตการกระจายพันธุ์ในพม่าตอนใต้ คาบสมุทรมลายู และชวา ในไทยพบทางภาคเหนือแถบที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน ลงมาทางภาคใต้แถบจังหวัดภูเก็ต ตรัง ยะลา ปัตตานี และนราธิวาส ขึ้นตามริมลำธารในป่าดิบชื้น ระดับความสูงจนถึงประมาณ 1000 เมตร โสกเหลืองมีเขตการกระจายพันธุ์ในพม่าตอนใต้ คาบสมุทรมลายู และชวา ในไทยพบทางภาคเหนือแถบที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน ลงมาทางภาคใต้แถบจังหวัดภูเก็ต ตรัง ยะลา ปัตตานี และนราธิวาส ขึ้นตามริมลำธารในป่าดิบชื้น ระดับความสูงจนถึงประมาณ 1000 เมตร
ต้นไม้ประจำจังหวัด : ยะลา
ชื่อสามัญ : Yellow Saraca
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Saraca thaipingensis Cantley ex King
วงศ์ : LEGUMINOSAE
ชื่ออื่น : โสกเหลือง (กรุงเทพฯ), อโศกเหลือง อโศกใหญ่ (ภาคใต้)
ลักษณะทั่วไป : เป็นไม้ยืนต้นสูง 5–15 เมตร ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก แผ่นใบรูปไข่ หรือรูปหอกแกมขอบขนาน ปลายแหลมหรือเรียวแหลม โคนใบสอบ ออกดอกเป็นช่อตามปลายกิ่งและลำต้น สีเหลือง กลิ่นหอม ออกดอกช่วงเดือนมกราคม-เมษายน ผล เป็นฝักแบน
ขยายพันธุ์ : เพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสม : สภาพดินร่วน ชอบน้ำและความชื้นสูง
ถิ่นกำเนิด : พม่าตอนใต้ ไทยภาคเหนือและภาคใต้ คาบสมุทรมลายู เกาะชวา ประเทศอินโดนีเซีย

ประวัติศาสตร์ 77 จังหวัดทั่วไทย - Page 2 Cinnamomum_verum1

ระนอง-อบเชย
เป็นเครื่องเทศที่มีกลิ่นหอม ได้มาจากเปลือกไม้ชั้นในที่แห้งแล้วของต้นอบเชย แท่งอบเชยมีสีน้ำตาลแดง มีลักษณะเหมือนแผ่นไม้แห้งที่หดงอหลังจากโดนความชื้น มักจะเรียกตามแหล่งเพาะปลูกเช่น อบเชยจีน อบเชยลังกา อบเชยญวณ เป็นต้น ในประเทศไทยไม่นิยมปลูกเพราะภูมิอากาศไม่เหมาะสม
ต้นไม้ประจำจังหวัด : ระนอง
ชื่อสามัญ : Cinnamom
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cinnamomum bdjolghota Sweet
วงศ์ : LAURACEAE
ชื่ออื่น : ขนุนมะแวง เชียกใหญ่ (ตรัง), จวงดง บริแวง (ระนอง), ฝนแสนห่า (นครศรีธรรมราช), สมุลแว้ง พะแว โมง หอม ระแวง (ชลบุรี), มหาปราบ (ตราด) มหาปราบตัวผู้ (จันทบุรี), แลงแวง (ปัตตานี), อบเชย (กรุงเทพฯ, อุตรดิตถ์)
ลักษณะทั่วไป : เป็นไม้ยืนต้นสูง 15–20 เมตร เรือนยอดเป็นพุ่มกลมรูปเจดีย์ต่ำ ทึบ เปลือกเรียบสีเทาแก่หรือเทาปนน้ำตาล ใบเป็นใบเดี่ยว รูปขอบขนาน เนื้อใบหนา แข็งและกรอบ มีเส้นแขนงจากโคนใบ 3 เส้น ออกดอกเป็นช่อตามปลายกิ่ง ดอกขนาดเล็ก สีเหลืองอ่อนหรือเขียวอ่อน ออกดอกช่วงเดือนมิถุนายน-ตุลาคม ผลขนาดเล็ก รูปไข่กลับ ผลมีเมล็ดเดียว
ขยายพันธุ์ : เพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสม : สภาพดินทุกชนิด ชอบดินร่วน กลางแจ้ง ต้องการน้ำและความชื้นปานกลาง
ถิ่นกำเนิด : พม่า มาเลเซีย
ประโยชน์ : ใช้ทำอาหาร ใช้เป็นสมุนไพร

ประวัติศาสตร์ 77 จังหวัดทั่วไทย - Page 2 Songkla01

สงขลา-สะเดาเทียม
เป็นดอกไม้สวยงาม พบตามหัวไร่ปลายนาทางภาคใต้ ตั้งแต่ชุมพรและสุราษฎร์ธานี ลงไป
ดอกไม้ประจำจังหวัด : สงขลา
ชื่อสามัญ : ไม่ทราบแน่ชัด
ชื่อวิทยาศาสตร์ Azadirachta excelsa (Jack) Jacobs
วงศ์ MELIACEAE
ชื่ออื่น ต้นเทียม ไม้เทียม สะเดาช้าง สะเดาเทียม สะเดาใบใหญ่ (ภาคใต้)
ลักษณะทั่วไป เป็นไม้ยืนต้นสูงตรงไม่มีกิ่งขนาดใหญ่ เมื่ออายุน้อยเปลือกต้นเรียบ เมื่ออายุมากเปลือกจะแตกเป็นแผ่นล่อนสีเทาปนดำ เรือนยอดเป็นพุ่มกลมทึบ ใบเป็นใบประกอบ ขอบใบหยักคล้ายฟันเลื่อย ใบเบี้ยวไม่ได้สัดส่วน ปลายใบแหลมเป็นติ่ง ฐานใบเบี้ยวไม่เท่ากัน เนื้อใบหนา เกลี้ยง สีเขียวเป็นมัน ออกดอกเป็นช่อตามง่ามใบหรือปลายกิ่ง ดอกบานสีขาว ออกดอกช่วงเดือนมีนาคม ผลทรงกลมรี ผลแก่สีเขียว เมื่อสุกจะเป็นสีเหลือง
การขยายพันธุ์ โดยการเพาะเมล็ดในถุงเพาะกล้าจนงอก และแข็งแรงก่อนจึงย้ายไปปลูกลงดิน
สภาพที่เหมาะสม ดินร่วนปนทราย มีการระบายน้ำและอากาศได้ดี
ถิ่นกำเนิด ตามเรือกสวนไร่นา แถบภาคใต้ของประเทศไทย
ประโยชน์ : ใบกับเมล็ด นำมาสกัดสารทำยาฆ่าแมลง เปลือก นำไปต้มดื่มน้ำทำเป็นยาแก้บิดและท้องร่วง

ประวัติศาสตร์ 77 จังหวัดทั่วไทย - Page 2 Tr_58

สตูล-กระซิก
เป็นต้นไม้ประจำจังหวัดสตูล เนื้อไม้ใช้ประโยชน์ได้มากมาย
ต้นไม้ประจำจังหวัด : สตูล
ชื่อสามัญ : Black-wood
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Dalbergia parviflora Roxb.
วงศ์ : PAPILIONACEAE
ชื่ออื่น : ครี้ สรี้ (สุราษฏร์ธานี) ซิก (ภาคใต้)
ลักษณะทั่วไป : เป็นไม้ยืนต้น บางครั้งรอเลื้อย ลำต้นมีหนาม เปลือกสีเทา เรือนยอดมีลักษณะไม่แน่นอน ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก ใบย่อยเรียงสลับกันบนก้านใบ ดอกขนาดเล็ก กลิ่นหอม ออกเป็นช่อตามปลายกิ่งหรือง่ามใบใกล้ยอด ออกดอกช่วงเดือนมีนาคม-มิถุนายน ผลเป็นฝักแบน ขอบฝักบางคล้ายมีด เมล็ดรูปไตเรียงติดตามยาวของฝัก ฝักแก่จะไม่แตกแยกจากกัน
ขยายพันธุ์ : เพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสม : ดินทุกชนิด เป็นไม้กลางแจ้ง น้ำและความชื้นปานกลาง
ถิ่นกำเนิด : ป่าโปร่งในที่ลุ่ม และตามชายห้วยภาคใต้ ในประเทศไทย
ประโยชน์ : เนื้อไม้ใช้ทำเครื่องเรือน เครื่องกลึง แกะสลัก เครื่องดนตรี ลักษณะคล้ายไม้ชิงชัน น้ำมันจากเนื้อ ไม้ใช้ รักษาแผลเรื้อรัง เนื้อไม้ใช้เป็นยาแก้ไข้ แก่นและรากมีกลิ่นหอมใช้ทำธูป

ประวัติศาสตร์ 77 จังหวัดทั่วไทย - Page 2 Surat4

สุราษฎร์ธานี-เคี่ยม
เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ และเป็นต้นไม้ประจำจังหวัดสุราษฎร์ธานี
ต้นไม้ประจำจังหวัด : สุราษฎร์ธานี
ชื่อสามัญ : Resak tembage
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cotylelobium melanoxylon Pierre
วงศ์ : DIPTEROCARPACEAE
ชื่ออื่น : เคี่ยม (ทั่วไป), เคี่ยมขาว เคี่ยมดำ เคี่ยมแดง (ภาคใต้)
ลักษณะทั่วไป : เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่สูง 20–40 เมตร เรือนยอดเป็นพุ่มทึบทรงเจดีย์ต่ำๆ ลำต้นตรง เปลือกเรียบสีน้ำตาลเข้ม มีรอยด่างสีเทาและเหลืองสลับ มีต่อมระบายอากาศกระจายทั่วไป ตามยอดอ่อนและช่อดอกมีขนสีน้ำตาลปกคลุม ใบเป็นใบเดี่ยว รูปไข่ เนื้อใบหนา ปลายใบสอบเรียวหยักเป็นตุ่มยาว โคนใบมน หลังใบเรียบมัน ท้องใบมีขนสีน้ำตาลปนเหลืองเป็นกระจุก ดอกสีขาว ออกเป็นช่อยาวตามปลายกิ่งและง่ามใบ กลิ่นหอมอ่อนๆ กลีบรองดอก 5 กลีบ รูปหอกเรียว มีขนสั้นปกคลุม ออกดอกช่วงเดือนกรกฎาคม-ตุลาคม ผลเป็นผลแห้งทรงกลม มีขนนุ่มปีกขาว 1 คู่
ขยายพันธุ์ : เพาะเมล็ดและตอนกิ่ง
สภาพที่เหมาะสม : ดินทุกชนิด แสงแดดปานกลาง
ถิ่นกำเนิด : ป่าดงดิบภาคใต้ของประเทศไทย
ประโยชน์ : ไม้เคี่ยมเนื้อละเอียด แข็ง เหนียวหนักและทนทาน จึงใช้ไม้เคี่ยมต่างสายพาน รองหนุนเสาเรือนเพื่อลากเรือนทั้งหลังในการย้ายบ้าน หรือทำเลื่อนในการชักพระ นอกจากนี้ใช้ไม้เคี่ยมทำหมอนรองรางรถไฟ ทำเสาหลักผูกเทียบเรือ ทำสะพานท่าเรือ ทำสะพานทอดขนานไปกับลำน้ำ เปลือกไม้เคี่ยม นำมาตัดเป็นชิ้น ๆ ขนาดประมาณ 1 X 2 นิ้ว ตัดเป็นรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนใส่กระบอกตาลรองรับน้ำหวานจากต้นตาล เพื่อใช้รสฝาดรักษาน้ำตาลไม่ให้บูด ก่อนนำมาเคี่ยว หรือใช้ใส่น้ำตาลเมา นอกจากนี้เปลือกเคี่ยมใช้เป็นยากลางบ้านสำหรับห้ามเลือดบาดแผลสด ชันจากไม้เคี่ยม เป็นยาสมานแผล และแก้ท้องร่วง ยอด ราก ดอก ลำต้น ใช้ตำพอกแผล แก้ฟก บวม เน่าเปื่อย หรือใช้ผสมกับเปลือกหว้า ต้มบ้วนปาก แก้ปากเปื่อย

อ้างอิง
Th.wikipediaorg
www.panmai.com
dnp.go.th
web3.dnp.go.th
gotoknow.org
www.school.net
www.oknation.net
www.sopon.ac.th
www.bloggang.com
www.siamsouth.com
Volwar
Volwar
Webmaster
Webmaster

จำนวนข้อความ : 572
คะแนน : 770
คะแนนชื่อเสียง : 14
Join date : 23/01/2010
Age : 30
ที่อยู่ : ถนนเจริญยาก ถนนไม่มีรถเมล์ กทม.

ขึ้นไปข้างบน Go down

ประวัติศาสตร์ 77 จังหวัดทั่วไทย - Page 2 Empty Re: ประวัติศาสตร์ 77 จังหวัดทั่วไทย

ตั้งหัวข้อ by Volwar Sun Jun 06, 2010 12:08 am

จบต้นไม้แล้วต่อไปนาฏศิลป์
Volwar
Volwar
Webmaster
Webmaster

จำนวนข้อความ : 572
คะแนน : 770
คะแนนชื่อเสียง : 14
Join date : 23/01/2010
Age : 30
ที่อยู่ : ถนนเจริญยาก ถนนไม่มีรถเมล์ กทม.

ขึ้นไปข้างบน Go down

ประวัติศาสตร์ 77 จังหวัดทั่วไทย - Page 2 Empty Re: ประวัติศาสตร์ 77 จังหวัดทั่วไทย

ตั้งหัวข้อ by *!!~AlFeiLai~!!* Sun Jun 06, 2010 3:55 pm

ค่ะ - w -
*!!~AlFeiLai~!!*
*!!~AlFeiLai~!!*
B Class
B Class

จำนวนข้อความ : 265
คะแนน : 299
คะแนนชื่อเสียง : 21
Join date : 28/03/2010
Age : 28
ที่อยู่ : Thailand

https://twitter.com/spellsunnn

ขึ้นไปข้างบน Go down

ประวัติศาสตร์ 77 จังหวัดทั่วไทย - Page 2 Empty นาฏศิลป์ไทยภาคกลาง

ตั้งหัวข้อ by Volwar Tue Jun 08, 2010 10:25 pm

นาฏศิลป์ไทยภาคกลาง (บางตามภูมิศาสตร์ 22 จังหวัด)
ภาคกลางเป็นแหล่งอุดมสมบูรณ์ มีดินที่เหมาะสมแก่การปลูกข้าวมากกว่าภาคใดๆ ถือว่าเป็นศูนย์กลางของประเทศตั้งแต่สมัยอดีตกาล ตลอดราชธานีของไทยทั้ง 4 ราชธานี (กรุงสุโขทัย กรุงศรีอยุธยา กรุงธนบุรี กรุงรัตนโกสินทร์) ต่างล้วนอยู่ในภาคกลาง ด้วยความเป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำที่อุมดสมบูรณ์ที่สุดของประเทศไทย ผู้คนสุขสบายจึงสามารถประดิษฐ์นาฏศิลป์ที่สวยงามได้ จึงมีนาฏศิลป์เกี่ยวกับข้าว ดอกบัว และงานเทศกาลต่างๆ เช่น เต้นกำรำเคียว ระบำดอกบัว ระบำขวัญข้าว ด้วยความเป็นศูนย์กลางของแต่ละประเทศนาฏศิลป์ไทยจึงใช้ภาคกลางเป็นนาฏศิลป์หลักอีกด้วย นอกจากมีนาฏศิลป์แบบชาวบ้านแล้ว ก็ยังมีนาฏศิลป์แบบชาววัง เมื่อชมแล้วจะดูอ่อนช้อย สวยงาม เช่น โขน ละครใน และเนื่องด้วยการเป็นศูนย์ของประเทศจึงมีชาวต่างชาติเข้ามาอาศัยอยู่จึง มีนาฏศิลป์ที่มีอิทธิพลมาจากต่างประเทศด้วย เช่นการรำกลองยาว รำมอญ



1. กระตั้วแทงเสือ

เป็นการแสดงนาฏศิลป์พื้นเมืองที่พบได้เฉพาะที่กรุงเทพมหานคร ฝั่งธนบุรี ที่กำลังหายสาบสูญจนคนกรุงเทพคิดว่าจังหวัดตนไม่มีนาฏศิลป์พื้นเมืองของตัวเอง
การแสดงกระตั้วแทงเสือเป็นการแสดงของคนไทยมีมาแต่ครั้งสมัยโบราณสืบทอดกันมาตั้งแต่รุ่นเก่าๆ กระตั้วแทงเสือมีทำนองลีลาการร้องมาจากทางใต้ และมีการร่ายรำที่อ่อนช้อยสวยงาม โดยที่มีตัวแสดงดังต่อไปนี้คือ

1 นายพรานหรือเรียกกันว่า บ้องตัน

2 เมียนายพราน และ ลูก2 คนคือ เจ้าจุก กับ เจ้าแกะ

3 เสือ จะเป็นเสือโคร่ง เสือขาว เสือดำ ก็แล้วแต่ละคณะ

สำหรับการแสดงมีเนื้อเรื่องอยู่ว่า ครั้งหนึ่งในเมืองมีเหตุร้ายคือมีเสือออกมาอาละวาดกัดชาวบ้านจนบาดเจ็บและล้มตายไป จนเรื่องเสือที่ออกอาละวาดมาถึงหูท่านเจ้าเมือง ท่านเจ้าเมืองจึงได้ออกประกาศว่าถ้าใครมีความสามารถปราบเจ้าเสือร้ายได้จะมีรางวัลให้อย่างมหาศาล ฉะนั้นแล้วบ้องตันจึงได้ขออาสาไปปราบเจ้าเสือร้ายเองโดยออกไปกับเมียและลูกคือเจ้าจุกกับเจ้าแกะ พอไปถึงกลางป่าก็พบกับเจ้าเสือร้ายจึงเกิดการต่อสู้กัน แต่เจ้าบ้องตันเป็นผู้มีวิชาอาคมจึงสามารถปราบเจ้าเสือร้ายลงได้ จึงได้รับรางวัลจากท่านเจ้าเมือง สำหรับการแสดงกระตั้วแทงเสือนั้นสามารถหาชมได้จากงานวัดทั่วๆไปและงานสืบสานวัฒนธรรมต่างคณะศิษย์วัดสิงห์ก็เป็นอีกคณะหนึ่งที่ได้สืบสานกระตั้วแทงเสือไว้ ไม่ให้ลืมหายไป



2. ระบำชากังราว
ชากังราวคือชื่อเดิมของจังหวัดกำแพงเพชร เมือง "ชากังราว" มีประวัติศาสตร์อันยาว นานตั้งแต่ครั้งกรุงสุโขทัย เป็นเมืองสำคัญมีฐานะเป็นถึงเมืองลูกหลวง มีหลักฐานปรากฏในหลักศิลาจารึกถึงเมืองชากังราว เมืองลูกหลวงและเมืองหน้าด่านที่สำคัญยิ่ง ความกล้าหาญของบรรพชนและความแข็งแกร่งประดุจเพชรของเมืองชากังราวที่ไม่มีข้าศึกใดสามารถตีฝ่ากำแพงเมืองไปได้แม้แต่ครั้งเดียว
ซึ่งเป็นที่มาของชื่อเมืองกำแพงเพชร หรือจังหวัดกำแพงเพชรในปัจจุบัน โดยหลักฐานความเจริญรุ่งเรืองของเมืองชากังราวในอดีต ไม่ว่าทางด้านศาสนา ศิลปะวัฒน ธรรม ขนบประเพณี ยังคงปรากฏให้เห็นอยู่จวบปัจจุบัน สำหรับผู้ที่เคยมาเยือนเมืองกำแพง เพชร อาจจะเคยได้ชมการแสดงนาฏศิลป์ชุดหนึ่งที่ใช้ในการต้อนรับแขกบ้านแขกเมืองและแสดงในงานประเพณีอันสำคัญของจังหวัด นั่นคือการแสดงนาฏศิลป์ชุด "ระบำชากังราว" ซึ่งประดิษฐ์ท่ารำโดย อ.เยาวลักษณ์ ใจวิสุทธิ์หรรษา อาจารย์ประจำโปรแกรมวิชานาฏศิลป์ มหาวิทยา ลัยราชภัฏกำแพงเพชร (มรภ.กพ.) ระบำชากังราวเป็นการแสดงที่มีความเป็นเอกลักษณ์ สร้างความประทับใจแก่ผู้ที่ได้มีโอกาสชม และได้เดินทางไปสร้างชื่อเสียงในต่างประเทศในฐานะนาฏศิลป์ตัวแทนจากประเทศไทยมาแล้วหลายประเทศ อ.เยาวลักษณ์ กล่าวถึงความเป็นมาและแรงบันดาลใจในการประดิษฐ์นาฏศิลป์ชุดระบำชากังราวว่า เมื่อปี พ.ศ.2528-2531 มหาวิทยาลัยซึ่งในขณะนั้นยังเป็นวิทยาลัยครูอยู่ได้รับเชิญจากสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ให้ไปเผยแพร่วัฒนธรรมที่จังหวัดเชียง ใหม่ โดยเป็นตัวแทนของจังหวัดกำแพง เพชร การเดินทางไปเผยแพร่วัฒนธรรมในครั้งนั้นกำหนดให้แต่ละจังหวัดจะต้องนำชุดการแสดงที่เน้นความเป็นอัตลักษณ์ของจังหวัดตน ซึ่งการแสดงที่สื่อความเป็นอัตลักษณ์ของจังหวัดกำแพงเพชรขณะนั้นมีการแสดงพื้นบ้าน เช่น รำโทน ระบำ ก ไก่ รำคล้องช้าง ซึ่งนำไปแสดงในระยะแรกๆ ปรากฏว่าได้รับความพึงพอใจจากผู้ชมระดับหนึ่ง "ต่อมาเราก็ได้เป็นตัวแทนเดินทางไปเผยแพร่วัฒนธรรมทุกปี ชุดการแสดงที่นำไปไม่เพียงพอในการนำเสนอ เพราะบางที่เจ้าภาพให้เวลาในการแสดงมากขึ้น ต่อมาสถาบันก็ได้รับเชิญให้ไปแสดงในโอกาสต่างๆ บ่อยขึ้น จึงเกิดแรงบันดาลใจว่าน่าจะคิดการแสดงชุดใหม่ขึ้นและจะต้องเป็นการแสดงที่สื่อให้เห็นถึงความเป็นอัตลักษณ์ของจังหวัดกำแพงเพชร" ในช่วงเวลาที่คิดนั้นเป็นช่วงปีพ.ศ.2535 ก็ได้ให้นักศึกษาวิชานาฏศิลป์ช่วยกันคิด ช่วยกันค้นคว้าศึกษาหาข้อมูลทั้งลูกศิษย์และอาจารย์ก็ออกมาเป็น "ระบำชากังราว" โดยที่อาจารย์เป็นผู้ควบคุมการประดิษฐ์ท่ารำ และก็ได้มีการปรับปรุงท่ารำ สีสันของเครื่องแต่งกายและเครื่องประดับมาเป็นระยะๆ เยาวลักษณ์ ใจวิสุทธิ์หรรษา
อ.เยาวลักษณ์ กล่าวต่อว่า เหตุที่ใช้ชื่อชุดการแสดงว่าระบำชากังราวก็เพราะว่าต้องการตั้งชื่อให้สอดคล้องกับชื่อเมืองตามประวัติศาสตร์ เพราะกำแพงเพชรเดิมชื่อเมืองชากังราว และเป็นชื่อที่บ่งบอกความเป็นเอกลักษณ์ได้อย่างชัดเจน พอได้ยินชื่อชุดการแสดงทุกคนจะต้องนึกถึงกำแพงเพชร นึกถึงประวัติศาสตร์ของเมืองชากังราว สำหรับท่ารำก็ได้แนวคิดการนำท่าทางจากพุทธลีลาที่เป็นลักษณะเด่นที่ปรากฏในอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร เช่น ท่าปางลีลา ท่ากำแพงบิด นำมาคิดประดิษฐ์เป็นนาฏลีลาท่ารำผสมผสานกับภาษาท่าของนาฏศิลป์ สำหรับเครื่องแต่งกายของผู้แสดงออกแบบโดย อ.รุ่งธรรม ธรรมปิยานนันท์ วิทยาลัยเทคนิคกำแพงเพชร ซึ่งได้ศึกษามาจากรูปเทวสตรีในพิพิธภัณฑสถานจังหวัดกำแพงเพชร ส่วนเพลงที่ใช้เป็นเพลงที่แต่งขึ้นโดยเฉพาะซึ่งได้รับความอนุเคราะห์จาก อ.ศิริชัยชาญ ฟักจำรูญ ในขณะดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการวิทยาลัยนาฏศิลป์ ได้ให้ความอนุเคราะห์ต่อมรภ.กพ.เป็นอย่างมาก "เพราะในการติดต่อกับท่านนั้นเราใช้โทรศัพท์อย่างเดียว ก็เรียนท่านว่าเราอยู่ต่างจังหวัด ท่านก็มีเมตตาอย่างยิ่ง บอกไม่เป็นไร ก็ใช้โทรศัพท์นี่แหละ ท่านก็ให้ไปศึกษาค้นคว้ามาว่าในช่วงยุคสมัยดังกล่าวมีการใช้เพลงอะไร ก็ไปค้นคว้าศึกษากัน พบปรากฏในศิลาจารึกมีอยู่สองเพลงก็เรียนท่าน ท่านก็แต่งให้ใหม่เสร็จสรรพ นับว่าท่านมีเมตตาต่อเราชาวราชภัฏกำแพงเพชรเป็นอย่างยิ่ง" อ.เยาวลักษณ์กล่าว อ.เยาวลักษณ์กล่าวด้วยความภาคภูมิใจว่า เมื่อพ.ศ.2537 ได้รับเกียรติให้เป็นตัวแทนกาชาดจังหวัดภาคเหนือไปรำหน้าพระที่นั่งสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ที่จังหวัดชลบุรี ในส่วนของจังหวัดกำแพงเพชรนั้นก็จะใช้การแสดงชุดระบำชากังราวในการต้อนรับแขกบ้านแขกเมืองทุกครั้ง หรือในงานประเพณีสำคัญของจังหวัด นอกจากนี้ ยังได้รับเชิญให้ไปแสดงเผยแพร่วัฒนธรรมในต่างประเทศมาแล้วหลายประเทศ เช่น ประเทศสวีเดน เดนมาร์ก ตุรกี สหรัฐอเมริกา และสิงคโปร์
เรื่องราวในอดีตได้ถูกถ่ายทอดผ่านท่วงท่าการร่ายรำที่อ่อนช้อยงดงาม รวมถึงความประณีตบรรจงในการรังสรรค์เครื่องแต่งกายของผู้แสดงได้สร้างความประทับใจแก่ผู้ชมมาแล้วทั้งในประเทศและต่างประเทศ



3. รำกลองยาว
กลองยาวเป็นเครื่องดนตรีพื้นบ้านของภาคกลาง การรำกลองยาว เชื่อกันว่ากลองยาวได้แบบอย่างมาจากพม่า ในสมัยกรุงธนบุรี หรือต้นกรุงรัตนโกสินทร์ สมัยที่ไทยกับพม่ากำลังทำสงครามกัน เวลาพักรบ พวกทหารพม่าก็เล่น "กลองยาว" กันสนุกสนาน พวกชาวไทยได้เห็นก็จำแบบอย่างมาเล่นบ้าง แต่บางท่านก็เล่าว่า กลองยาวของพม่าแบบนี้ มีชาวพม่าพวกหนึ่งนำเข้ามาเล่นในงานที่มีกระบวนแห่ เช่น บวชนาค ทอดกฐิน เป็นต้น และนิยมเล่นกันเป็นที่รื่นเริง สนุกสนานในเทศกาลสงกรานต์ และเล่นกันแพร่หลายไปแทบทุกหัวบ้านหัวเมือง วงหนึ่งๆ จะใช้กลองยาวหลายลูกก็ได้ เครื่องดนตรีที่ใช้บรรเลงร่วม มี ฉิ่ง, ฉาบเล็ก, กรับ, โหม่ง เรียกการเล่นชนิดนี้ว่า "เถิดเทิง" หรือ "เทิงกลองยาว" ที่เรียกเช่นนี้เข้าใจว่า เรียกตามเสียงกลองที่ตีและตามรูปลักษณะกลองยาว



4. รำขวัญข้าว
ภาคกลางเป็นภาคที่อุดมสมบูรณ์และปลุกข้าวได้ดีที่สุด จึงมีนาฏศิลป์เกี่ยวกับข้าวอย่างรำขวัญข้าวเกิดขึ้นมา เพื่อบูชาเจ้าแม่โพสพ


5. เต้นกำรำเคียว
เต้นกำรำเคียว เป็นการละเล่นพื้นบ้านของจังหวัดนครสวรรค์ มีเนื้อเพลงเกี้ยวพาราสี ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงประกาศเลิกทาส กำเนิดครั้งแรกที่บ้านสระทะเล ตำบลสระทะเล อำเภอพยุหคีรี จังหวัดนครสวรรค์ โดยหลวงศรีบุรีขวัญ เป็นผู้ประดิษฐ์เนื้อร้อง



6. โขน
โขน เป็นศิลปะการแสดงอย่างหนึ่งของไทย มีประวัติที่เก่าแก่ยาวนานมาก เชื่อว่ามีความเก่าแก่อย่างน้อยย้อนไปถึงสมัยอยุธยามีการสันนิษฐานว่าเป็นการแสดงที่พัฒนามาจากการแสดงชักนาคดึกดำบรรพ์ กระบี่กระบอง และการแสดงหนังใหญ่ ดังนั้นการแสดงโขนจึงเป็นการรวมศิลปะการแสดงหลายชนิดเข้าด้วยกัน เป็นการแสดงที่อาศัยท่าเต้นเป็นการแสดงออกทางอารมณ์เป็นสำคัญ ตัวละครมีทั้งแบบสวมมงกุฎบนศีรษะ และสวมหน้ากาก โดยการแสดงเป็นเรื่องราว มีทั้งบทเจรจา และบทร้อง สำหรับเนื้อเรื่องที่นำมาแสดงโขนนั้นเดิมมีทั้งเรื่องอุณรุท และรามเกียรติ์ แต่ในปัจจุบันนิยมเล่นแต่เรื่องรามเกียรติ์เท่านั้น
โขนเป็นนาฏกรรมที่มีศิลปะเป็นแบบฉบับ ของตนเอง คำว่า "โขน" ไม่ทราบแน่ชัดว่ามีมาตั้งแต่สมัยใด ซึ่งได้มีกล่าวไว้ในลิลิตพระลอเล่าถึงงานมหรสพในงานพระศพของพระลอและพระ เพื่อนพระแพงว่า "ขยายโรงโขนโรงรำ ทำระทาราวเทียน" คำว่า "โขน" มีกล่าวไว้ในหนังสือของชาวต่างประเทศ เป็นการกล่าวถึงศิลปะแห่งการเล่นของไทยในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ซึ่งเป็นที่นิยมและยึดถือเป็นแบบแผนกันมานาน มีข้อสันนิษฐานว่าโขนน่าจะมาจากคำในภาษาต่าง ๆ ดังนี้
1. เครื่องดนตรีโขลโขนในภาษาเบงกาลี ซึ่งมีคำว่า "โขละ หรือโขล" ซึ่งเป็นชื่อของเครื่องดนตรีประเภทหนัง ชนิดหนึ่งของฮินดู โดยตัวรูปร่างคล้ายมฤทังคะ (ตะโพน) ส่วนใหญ่เป็นเครื่องดนตรีที่พวกไวษณพนิกายในแคว้นแบงกอลนิยมใช้ประกอบการ เล่นชนิดหนึ่งที่เรียกว่า "ยาตรา" ซึ่งหมายถึง ละครเร่ และหากเครื่องดนตรีชนิดนี้ได้เคยนำเข้ามาในดินแดนไทยแล้วนำมาใช้ประกอบการ เล่นนาฏกรรมชนิดหนึ่ง เราจึงเรียกการแสดงชุดนั้นว่า "โขล" ตามชื่อเครื่องดนตรี
2. โขนในภาษาทมิฬ เริ่มจากคำว่า โขล มีคำเพียงใกล้เคียงกับ "โกล หรือ โกลัม" ในภาษาทมิฬ ซึ่งหมายถึงเพศ หรือการแต่งตัวหรือการประดับตกแต่งตัวตามลักษณะของเพศ
3. โขนในภาษาอิหร่าน มาจากคำว่า "ษูรัต ควาน" (Surat khwan) ซึ่งษูรัตแปลว่าตุ๊กตาหรือหุ่น ซึ่งผู้อ่านหรือผู้ขับร้องแทนตุ๊กตาหรือหุ่นเรียกว่า "ควาน" หรือโขน (Khon) ซึ่งคล้าย ๆ กับผู้พากย์และผู้เจรจาอย่างโขน
4. โขนในภาษาเขมร ในพจนานุกรมภาษาเขมร มีคำว่า "ละคร" แต่เขียนเป็นอักษรว่า "ละโขน" ซึ่งหมายถึงมหรสพอย่างหนึ่งเล่นเรื่องต่าง ๆ กับมีคำว่า "โขล" อธิบายไว้ในพจนานุกรมเขมรว่า "โขล ละคอนชายเล่นเรื่องรามเกียรติ์"
หากที่มาของโขนมา จากคำในภาษาเบงคาลี ภาษาทมิฬและภาษาอิหร่าน ก็คงจะมาจากพวกพ่อค้าวาณิช และศาสนาจารย์ของชาวพื้นเมืองประเทศนั้น ๆ แพร่มาสู่ดินแดนในหมู่เกาะชวา มาลายูและแหลมอินโดจีน
จากข้อสันนิษฐานต่างๆ ยังมิอาจสรุปได้แน่นอนว่า "โขน" เป็นคำมาจากภาษาใด แต่เมื่อเปิดพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ซึ่งใช้กันในยุคสมัยนี้ก็จะพบว่า โขน หมายถึง การเล่นอย่างหนึ่งคล้ายละครรำ แต่เล่นเฉพาะในเรื่องรามเกียรติ์ โดยผู้แสดงสวมหัวจำลองต่าง ๆ ที่เรียกว่า หัวโขน หรืออีกความหมายหนึ่งหมายถึง ไม้ที่ต่อเสริมหัวเรือท้ายเรือให้งอนเชิดขึ้นไป เรียกว่า "โขนเรือ" เรียกเรือชนิดหนึ่งที่มีโขนว่า เรือโขน เช่น เรือโขนขนาดใหญ่น้อย เหลือหลาย (ลิลิตพยุหยาตรา) หรือส่วนสุดทั้ง 2 ข้างของรางระนาดหรือฆ้องวง ที่งอนขึ้นก็เรียกว่า "โขน"

7. ระบำมอญราชสำนัก
มาจากละครพันทาง เรื่อง ราชาธิราช ตอน "ศึกมังมหานรธา" ผลงานของรุ่นพี่ปริญญาโทรุ่น1 สาขานาฏศิลป์ สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ "การแสดงระบำมอญราชสำนัก" ชุดนี้เป็นระบำที่ประดิษฐ์สร้างสรรค์ขึ้นมาใหม่โดยรุ่นพี่ปริญญาโท มีทั้งท่ารำของนาฏศิลป์มอญและไทยผสมกัน



8. รามัญบูชา
เป็นนาฏศิลป์การแสดงร่วมสมัยของมหาวิทยาลัยปทุมธานี จัดแสดงครั้งแรกเมื่อ งานกาชาดปี พ.ศ. 2552 ที่ฟิวเจอร์ ปาร์ค รังสิต จังหวัดปทุมธานี เนื่องจากจังหวัดปทุมธานีเป็นจังหวัดหนึ่งที่มีชาวมอญ (รามัญ) อยู่เป็นจำนวนมาก


9. ระบำอยุธยา
ระบำอยุธยา เป็นระบำที่ประดิษฐ์ขึ้นใหม่ เมื่อปี พ.ศ. 2529 จากความคิดริเริ่ม ของนายเสรี หวังในธรรม ผู้เชี่ยวชาญพิเศษด้านสังคีตศิลป์และศิลปินแห่งชาติ โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะจัดเป็นระบำโบราณคดีอีกชุดหนึ่ง นางเฉลย ศุขะวณิช ผู้เชี่ยวชาญการสอนนาฏศิลปไทยและศิลปินแห่งชาติ เป็นผู้ประดิษฐ์ลีลาท่ารำ นายจิรัส อาจณรงค์ ผู้เชี่ยวชาญดนตรีไทย สถาบันนาฏดุริยางศิลป์กรมศิลปากร เป็นผู้แต่งทำนองเพลงอยุธยา ระบำชุดนี้ จัดแสดงเป็นครั้งแรกในงานศิลปหัตถกรรม ประจำปี พ.ศ. 2529



10. รำโจ๋ง
“รำโจ๋ง” สะท้อนให้เห็นถึงวิถีชีวิตวัฒนธรรมการละเล่นของชาวบ้านท่าโรง ที่มีความคิดสร้างสรรค์ สร้างภูมิปัญญาด้านเครื่องดนตรี เครื่องเล่นที่ใช้ประกอบการละเล่นในท้องถิ่น บ่งบอกถึงสภาพจิตใจที่ดี มีความสุขทำนองดนตรี การแต่งกายได้รับวัฒนธรรมมาจากภาคกลาง และได้เลือกท่ารำของเดิมมาสร้างสรรค์ จำนวน 2 ท่า



11. รำแวววิชนี
ระบำวิชนี เป็นระบำชุดหนึ่ง ซึ่งประดิษฐ์ลีลาท่ารำขึ้นตามแนวคิดของท่านผู้หญิงแผ้ว สนิทวงศ์เสนี ผู้เชี่ยวชาญนาฏศิลป์ไทยและศิลปินแห่งชาติที่ว่า ประเทศไทยเป็นเมืองร้อนอบอ้าว คนไทยนิยมใช้พัดรำเพยลม เพื่อบรรเทาความร้อน นายมนตรี ตราโมท ผู้เชี่ยวชาญดนตรีไทยและศิลปินแห่งชาติ จึงได้แต่งทำนองเพลงขึ้น ให้ผู้แสดงแต่งกายชุดนางในราชสำนัก มือขวาถือพัดวิชนี หรือพัชนี (พัดโบกเล็ก ๆ ) รำตามท่วงทำนอง จังหวะเพลง และบทขับร้องอันไพเราะ



12. รำอวยพรอ่อนหวาน
รำอวยพรอ่อนหวาน เป็นการแสดงประเภทระบำเบ็ดเตล็ดชุดหนึ่ง ที่คุณครูสามปอยดง เครือนันตา ครูสาระนาฏศิลป์ โรงเรียนลำปางกัลยาณี ได้คิดประดิษฐ์ท่ารำขึ้นใหม่เพื่อใช้ในโอกาสที่เป็นมงคลทั่วไป โดยใช้ทำนองเพลงสร้อยสนตัดซึ่งเป็นเพลงที่มีสำเนียงอ่อนหวานมาประกอบ บทร้องเพลงอวยพรอ่อนหวาน การอวยชัยให้พรเป็นธรรมเนียมของไทยที่มีมาแต่โบราณ ดังนั้นศิลปะการรำอวยพรจึงเกิดขึ้นเพื่อเป็นการอวยชัยให้พรกัน เช่นรำอวยพรต้อนรับอาคันตุกะผู้มาเยือน ต้อนรับแขกผู้มีเกียรติ และอวยพรเนื่องในวันคล้ายวันเกิด เพื่ออวยชัยให้พรให้มีความสุข ความเจริญก้าวหน้าตลอดไป ท่ารำที่ใช้ประกอบในการรำอวยพรอ่อนหวานนี้เป็นท่ารำที่ไม่ยากเกินไป เพื่อให้เหมาะกับนักเรียน และสามารถนำไปใช้แสดงในงาน ต่าง ๆ ได้

13. ระบำลพบุรี
ระบำลพบุรี เป็นระบำชุดที่ 3 ในระบำโบราณคดี 5 ชุด ที่นายมนตรี ตราโมท ผู้เชี่ยวชาญดนตรีไทยและศิลปินแห่งชาติ เป็นผู้แต่งทำนองเพลงจากสำเนียงเขมร นางลมุล ยมะคุปต์ ผู้เชี่ยวชาญการสอนนาฏศิลปไทยและนางเฉลย ศุขะวณิช ผู้เชี่ยวชาญการสอนนาฏศิลป์ไทยและศิลปินแห่งชาติ เป็นผู้ประดิษฐ์ท่ารำ โดยเลียนแบบลีลา ท่าทาง ของประติมากรรมและภาพสลักที่ปรากฏบนทัพหลังและหน้าบันของปราสาทหินพิมาย ปราสาทพนมรุ้ง อันเป็นศิลปะแบบขอมอยู่ระหว่างพุทธศตวรรษที่ 12 - 13 ดังนั้น ท่ารำ และดนตรี ตลอดจนเครื่องแต่งกายในระบำชุดนี้ จึงมีลีลา สำเนียงและแบบอย่างที่เป็นเขมร



14. ระบำดอกบัว
ระบำดอกบัว เป็นการแสดงชุดหนึ่งจากละครเรื่อง "รถเสน" ตอนหมู่นางรำ แสดงถวายท้าววรถสิทธิ์ ซึ่งกรมศิลปากรได้ปรับปรุงขึ้น แสดงให้ประชาชนชมเมื่อ พ.ศ. 2500 ผู้ประพันธ์บทร้องคือ อาจารย์มนตรี ตราโมท ใช้ทำนองเพลงสร้อยโอ้ลาวของเก่า เป็นการแสดงหมู่



15. หุ่นกระบอก
หุ่นกระบอกคือหุ่นที่ใช้กระบอกเล็ก ๆ เป็นแกนของลำตัวหุ่น ศีรษะหุ่นเป็นแบบหัวโขนละคร ลำตัวใช้ถุงคลุม แขนและขาจึงไม่มี การแสดงหุ่นกระบอกคือการแสดงอย่างละคร โดยมักนำวรรณคดีเรื่องเอกของไทยมาเล่น เช่นเรื่องพระอภัยมณี เรื่องรามเกียรติ์ และเรื่องสังข์ทอง เป็นต้น การแสดงหุ่นกระบอกถูกยกเลิกไปในสมัยปฏิวัติวัฒนธรรมที่มีรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม ปกครอง เพราะมีพระราชบัญญัติกำหนดวัฒนธรรมทางศิลปกรรมเกี่ยวกับนาฏศิลป์ และห้ามการแสดงที่มีรากเหง้ามาจากต่างชาติ หุ่นกระบอกจึงต้องยุติการแสดงในปี พ.ศ. 2485 และแทบไม่ได้ฟื้นคืน กระทั่งเริ่มมีการฟื้นฟูหุ่นกระบอกขึ้นอีกครั้ง โดยนายเปียก ประเสริฐกุลและบุตรสาว คือนางชื้น ประเสริฐกุล



16. รำเงือก
พระอภัยมณีคือวรรณคดีไทยเรื่องแรกที่กล่าวถึงนางเงือก รำเงือกเป็นการแสดงประกอบในเรื่องพระอภัยมณี



17. รำโทน
รำโทนเป็นการละเล่นพื้นบ้านชนิดหนึ่งของชาวบ้านเมืองลพบุรี นิยมเล่นกันแพร่หลายในระหว่าง พ.ศ. 2484-2488 หรือในช่วงเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 หลังสงครามเลิกความนิยมเล่นรำโทนลดลงตามลำดับ ส่วนหนึ่งพัฒนาไปเป็นการละเล่น "รำวง" และ "รำวงมาตรฐาน" เหตุที่เรียกชื่อว่ารำโทน เพราะเดิมเป็นการรำประกอบจังหวะการตี "โทน" ซึ่งเป็นเครื่องดนตรีหลักในการเล่น ภายหลังแม้ใช้เครื่องดนตรีอื่น เช่น รำมะนา ตีให้จังหวะแทนก็ยังเรียกชื่อเช่นเดิม หนุ่มสาวสมัยก่อนเล่นรำโทนเพื่อความสนุกสนานรื่นเริง เพื่อพักผ่อนหย่อนใจยามเหงาหรือยามสงครามที่ค่ำลงก็ไม่มีอะไรจะทำกัน เป็นการเพิ่มชีวิตชีวาให้กับชีวิตที่ต้องเสี่ยงภัยในยามศึกสงคราม เพลงที่ใช้ร้องมักเป็นเพลงที่มีเนื้อร้องง่ายๆ เป็นเพลงสั้นๆ ไม่มีชื่อเพลงเฉพาะ มักเรียกชื่อตามวรรคแรกของเนื้อร้อง ไม่บอกชื่อผู้แต่งใครอยากแต่งขึ้นมาใหม่ก็ได้ จำกันร้องตามกันต่อๆ มา เนื้อร้องมักเป็นการเกี้ยวพาราสี ปลุกใจหรือสะท้อนชีวิตความเป็นอยู่หรือมาจากวรรณคดีไทย เช่น เพลงลพบุรีของเรานี่เอ๋ย เจ็ดนาฬิกา ใครรักใครโค้งใคร เชื่อผู้นำของชาติ ศิลปากร ฯลฯ



18. ระบำดาวดึงส์
ระบำดาวดึงส์ เป็นการแสดงมาตรฐานที่เป็นฉบับไทยอีกชุดหนึ่ง ซึ่งสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัตติวงศ์ได้ทรงนิพนธ์บทร้องขี้ประกอบการแสดงในบทละครดึกดำบรรพ์ เรื่องสังข์ทอง ตอนที่ 2 ตอนตีคลี ฉากดาวดึงส์ ในฉากนี้มีพระอินทร์กับพระมเหสีประทับอยู่บนแท่น พระวิศนุกรรม และพระมาตุลี นั่งอยู่ชั้นลดสองข้าง พวกคนธรรพ์ประจำเครื่องดนตรีอยู่ด้านหน้า เหล่าเทวดานางฟ้าเข้านั่งเฝ้าสองข้าง เริ่มเปิดฉากเหล่าเทวดานางฟ้าก็จับระบำถวาย การแสดงเรื่องนี้จัดแสดงที่โรงละครดึกดำบรรพ์ ริมถนนอัษฎางค์ (วังบ้านหม้อ) ปลายสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เนื้อร้องของระบำพรรณนาถึงความงดงามความโอฬารของสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ และความมโหฬารตระการตาในทิพย์สมบัติของพระอินทร์ ตลอดจนความงดงามของเหล่าเทวดานางฟ้าในสรวงสวรรค์ หม่อมเข็ม กุญชร ณ อยุธยา (หม่อมเจ้าในพระยาเทเวศร์วงศ์วิวัฒน์)เป็นผู้คุม ฝึกหัดคิดท่ารำ ต่อมาการแสดงชุดนี้ได้นำมาจัดเป็นชุดเอกเทศ จึงนำออกด้วยเพลงเหาะ และรำตามเนื้อร้องในเพลงตะเขิ่ง, เจ้าเซ็น แล้วจบท้ายด้วยเพลงรัว นับเป็นระบำชุดหนึ่งที่ได้ปรับปรุงทางดนตรี และทางรำให้ได้กะทัดรัด จนเป็นนาฏศิลป์ไทยชุดหนึ่งที่ได้ยึดถือเป็นแบบระบำแสดงความรื่นเริงบันเทิงใจ ซึ่งได้อนุรักษ์ไว้เป็นแบบแผนสืบต่อมาจนถึงทุกวันนี้

19. ระบำสุโขทัย
ระบำโบราณคดีชุดนี้เกิดจากแนวคิดริเริ่มของนายธนิต อยู่โพธิ์ อดีตอธิบดีกรมศิลปากรได้จัดให้มีการแสดงถวายหน้าพระที่นั่งเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2510 ในงานเปิดอาคารใหม่พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติพระนคร ท่านผู้หญิงแผ้ว สนิทวงศ์เป็นผู้คิดท่ารำ อาจารย์มนตรี ตราโมทเป็นผู้แต่งทำนองขึ้นใหม่ให้มีความไพเราะเพราะพริ้ง



20. รำสีนวล
สีนวล เป็นการรำประเภทการละเล่นพื้นเมืองอย่างหนึ่งของชาวไทยในภาคกลาง เนื่องจากการรำสีนวลเป็นศิลปะที่สวยงามทั้งท่ารำและเพลงขับร้อง จึงพัฒนามาเป็นชุดสำหรับจัดแสดงในงานทั่ว ๆ ไป และนับเป็นการแสดงนาฏศิลป์อีกชุดหนึ่งที่นิยมแพร่หลายเป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวาง ลักษณะท่ารำและคำร้องของรำสีนวลมีความหมายถึง อิริยาบถที่นุ่มนวลอ่อนช้อยของกุลสตรี



21. ระบำบันเทิงเภรี
ระบำบันเทิงเภรีเป็นระบำชุดหนึ่งที่วิทยาลัยนาฏศิลปอ่างทองได้แนวคิดมา จากคำขวัญ ประจำจังหวัด วรรคที่ว่า “ถิ่นฐานทำกลอง” ซึ่งถือเป็นหัตถกรรมพื้นบ้านของชาวตำบลเอกราช อำเภอป่าโมก จังหวัดอ่างทอง ระบำชุดนี้มุ่งเน้นที่จังหวะของการตีกลองอย่างสนุกสนาน อันประกอบด้วย กลองยาวและรำมะนา ทั้งนี้เพื่อสะท้อนให้เห็นถึงอุปนิสัยรักความสนุกสนานของชาวอ่างทอง อีกทั้งยังได้อนุรักษ์ศิลปหัตถกรรมอย่างหนึ่งของชาวอ่างทองไว้มิให้สูญหาย ระบำชุดนี้ จัดสร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2535

22. ระบำอ้อมอกอุทัย
เป็นระบำที่เกี่ยวกับจังหวัดอุทัยธานี


แก้ไขล่าสุดโดย Volwar เมื่อ Thu Dec 22, 2011 11:18 pm, ทั้งหมด 1 ครั้ง (Reason for editing : แก้ไขคลิป)
Volwar
Volwar
Webmaster
Webmaster

จำนวนข้อความ : 572
คะแนน : 770
คะแนนชื่อเสียง : 14
Join date : 23/01/2010
Age : 30
ที่อยู่ : ถนนเจริญยาก ถนนไม่มีรถเมล์ กทม.

ขึ้นไปข้างบน Go down

ประวัติศาสตร์ 77 จังหวัดทั่วไทย - Page 2 Empty Re: ประวัติศาสตร์ 77 จังหวัดทั่วไทย

ตั้งหัวข้อ by *!!~AlFeiLai~!!* Wed Jun 09, 2010 8:14 pm

อ่านจนตาลาย เหอๆ แต่ช่วงนี้ต้องใช้พอดีเลยTvTb
*!!~AlFeiLai~!!*
*!!~AlFeiLai~!!*
B Class
B Class

จำนวนข้อความ : 265
คะแนน : 299
คะแนนชื่อเสียง : 21
Join date : 28/03/2010
Age : 28
ที่อยู่ : Thailand

https://twitter.com/spellsunnn

ขึ้นไปข้างบน Go down

ประวัติศาสตร์ 77 จังหวัดทั่วไทย - Page 2 Empty นาฏศิลป์ไทยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ตั้งหัวข้อ by Volwar Sun Jun 13, 2010 9:57 am

ภาคนี้โดยทั่วไปมักเรียกว่าภาคอีสาน ภาคอีสาน ภูมิประเทศภาคอีสานเป็นที่ราบสูง ค่อนข้างแห้งแล้งเพราะพื้นดินไม่เก็บน้ำ ฤดูแล้งจะกันดาร ฤดูฝนน้ำจะท่วม แต่ชาวอีสานก็มีอาชีพทำไร่ทำนา และเป็นคนรักสนุกและขยัน อดทน คนอีสานมักไปขายแรงงานในท้องที่ภาคกลางหรือภาคใต้ เพลงพื้นเมืองอีสานจึงมักบรรยายความทุกข์ ความยากจน ความเหงา ที่ต้องจากบ้านมาไกล ดนตรีพื้นเมืองแต่ละชิ้นเอื้อต่อการเล่นเดี่ยว การจะบรรเลงร่วมกันเป็นวงจึงต้องทำการปรับหรือตั้งเสียงเครื่องดนตรีใหม่เพื่อให้ได้ระดับเสียงที่เข้ากันได้ทุกครั้ง แต่อย่างไรก็ตาม คนอีสานก็พยายามหาความบันเทิงในทุกโอกาส เพื่อผ่อนคลายความไม่สบายใจหรือสภาพความทุกข์ยากอันเนื่องจากสภาพธรรมชาติ เครื่องดนตรีพื้นเมืองอีสาน เช่น พิณ แคน โหวด โปงลาง หืน ซอ ปี่ไม้ซาง กลองตุ้ม กลองยาว เป็นต้น ทำนองเพลงพื้นเมืองอีสานมีทั้งทำนองที่เศร้าสร้อยและสนุกสนาน เพลงที่มีจังหวะเร็วนั้นถึงจะสนุกสนานอย่างไรก็ยังคงเจือความทุกข์ยากลำบากในบทเพลงอยู่เสมอ ทำนองเพลงหรือทำนองดนตรีเรียกว่า “ลาย” เช่น ลายแม่ฮ้างกล่อมลูก ลายนกไส่บินข้ามท่ง ลายลมพัดพร้าว ลายน้ำโตนตาด เป็นต้น การขับร้องเรียกว่า “ลำ” ผู้ที่มีความชำนาญในการลำเรียกว่า “หมอลำ” ลำมีหลายประเภท เช่น ลำกลอน ลำเพลิน ลำเรื่องต่อกลอน ลำผญา(ผะหยา) ลำเต้ย เป็นต้น ส่วนบทเพลงหรือลายบรรเลงก็มาจากภูมิปัญญาชาวที่มีความเชี่ยวชาญทางด้านดนตรีโปงลาง เช่นอาจารย์ทรงศักดิ์ ปทุมสิน ซึ้งเป็นผู้เชี่ยวทางด้านโหวด และอาจารย์ทองคำ ไทยกล้า เป็นผู้เชี่ยวชาญทางด้าน แคน



1. แพรวากาฬสิน
ผ้าไหมแพรวา เป็นผ้าแพรสไบที่ทอด้วยเทคนิคการทอคล้ายกับผ้าจก นิยมทอให้มีความยาวประมาณ 1 วากับอีก1 ศอกหรือ 1ช่วงแขน หรือยาวประมาณ 2-2.5 เมตร ตามลักษณะการใช้งาน ซึ่งเป็นผ้าทอพื้นบ้านของชาวภูไทบ้านโพน อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์ และนิยมทอกันอย่างแพร่หลายในหลายจังหวัด เพราะได้การสนับสนุนจากโครงการศูนย์ศิลปาชีพในสมเด็จพระนางเจ้า พระบรมราชินีนาถ และมีการพัฒนารูปแบบ สีสัน และลวดลายต่างๆมากขึ้น ทำให้ผ้าไหมแพรวาเป็นที่นิยม และนำมาใช้กันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน ฟ้อนแพรวากาฬสินธุ์ ได้ประดิษฐ์คิดค้นการแสดงโดย คณาจารย์ภาควิชานาฏศิลป์และดุริยางค์ โดยการควบคุมของ นายสิริชัย นักจำรูญ ผู้อำนวยการจากวิทยาลัยนาฏศิลปกาฬสินธุ์ ในปี พ.ศ.2534 เนื่องในวโรกาสที่สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ พระชนม์มายุครบ 60 พรรษา และได้ออกนำเสนอผลงาน ในงานมหกรมการแสดงนาฏศิลป์ดนตรีและนิทรรศการงานศิลปะของสถาบันการศึกษา สังกัดกรมศิลปากรประจำปีการศึกษา2535 ณ โรงละครแห่งชาติ โดยผู้แสดงจะแต่งกายด้วยการใช้ผ้าแพรวาสีต่างๆพันอก ท่าฟ้อนรำก็ได้ดัดแปลงมาจากท่วงท่าการทอผ้าไหมแพรวานั่นเอง



2. ฟ้อนเอ้ดอกคูน
ดอกคูน หรือภาษาไทยกลางเรียกว่า ดอกราชพฤกษ์ เป็นดอกไม้ลักษณะพวงระย้า สีเหลือง ออกดอกช่วงหน้าแล้ง และเป็นดอกไม้ประจำจังหวัดขอนแก่น ประมาณเดือนมีนาคม-เมษายน ดอกบานแซมด้วยดอกตูมในช่อเดียวกัน เหลืองอร่ามเต็มต้น ประดับด้วยใบสีเขียว แลดูงดงามวิจิตร ประหนึ่งมีเทพธิดามาบรรจงตกแต่งไว้ คำว่า “เอ้” เป็นภาษาอีสาน หมายถึงการประดับ ตกแต่ง จัดแจงให้สวยงามวิจิตร เอ้ดอกคูน จึงหมายถึง การประดับตกแต่ง จัดแจงดอกคูนให้สวยงาม งดงามวิจิตร ซึ่งเป็นจินตภาพอันได้จากความงดงามของดอกคูนที่บานสะพรั่งเหลืองอร่ามแซมด้วยใบเขียว พลิ้วโอนไหวยามต้องลม ภาพอันงดงามนี้ เป็นแรงบันดาลใจให้นักศึกษาวิทยาลัยนาฏศิลปกาฬสินธุ์ ประดิษฐ์ออกแบบท่าฟ้อนรำ รวมถึงเครื่องแต่งกาย จนเกิดเป็นชุดฟ้อนที่สวยงาม ฟ้อนเอ้ดอกคูน ใช้ช่างฟ้อนผู้หญิงล้วน ท่าฟ้อนต่างๆ แสดงถึงท่วงท่าลีลาที่งดงามอ่อนช้อย



3. เซิ้งกระติบข้าว
กระติบข้าว หรือภาษาอีสานบางแห่งเรียกว่าก่องข้าว เป็นภาชนะใช้สำหรับใส่ข้าวเหนียว ที่ทรงคุณค่ามากด้วยภูมิปัญญา เก็บความร้อนได้ดี ในขณะที่ยอมให้ไอน้ำระเหยออกไปได้ ทำให้ข้าวเหนียวที่บรรจุอยู่ภายในกระติบหรือก่องข้าวไม่แฉะด้วยไอน้ำ (ต่างจากกระติกน้ำแข็งที่เก็บความร้อนได้แต่ไม่ยอมให้ไอน้ำระเหยออก ข้าวเหนียวจึงเปียกแฉะ) ภูมิปัญญานี้มีเคล็ดลับอยู่ที่การสานกระติบเป็นสองชั้น ชั้นในสุดจะสานด้วยตอกให้มีตาห่างเล็กน้อย เพื่อให้ไอน้ำระเหยออกจากข้าวผ่านช่องว่างภายในกระติบข้าวชั้นในได้ ในขณะที่ชั้นนอกสุดจะสานด้วยตอกที่มีความชิดแน่นหนากว่าเพื่อเก็บกักความร้อนไว้ ไอน้ำที่มีความร้อนอยู่ภายในช่องว่างนี้ จะช่วยทำให้ข้าวเหนียวที่อยู่ภายในกระติบข้าว ยังคงความร้อนได้อีกนาน โดยเมล็ดข้าวจะไม่มีไอน้ำเกาะ จึงไม่แฉะเหมือนกับการบรรจุในภาชนะพลาสติกยุคใหม่ ฝาปิดและตัวกระติบ จะมีลักษณะที่เหมือนกัน เพียงแต่มีขนาดที่ต่างกันเล็กน้อยให้สามารถสวมใส่กันได้พอดี ในส่วนตัวกระติบจะมีฐานรอง ขดเป็นวงกลม มีขนาดเล็กกว่าตัวกระติบเล็กน้อย ยึดด้วยหวายหรือไนล่อนให้ติดกับตัวกระติบ เซิ้งกระติบข้าว เป็นการแสดงของภาคอีสานที่เป็นที่รู้จักกันดี และแพร่หลายที่สุดชุดหนึ่ง จนทำให้คนทั่วไปเข้าใจว่า การแสดงของภาคอีสานมีลักษณะเป็นการรำเซิ้งเพียงอย่างเดียว เซิ้งกระติบข้าวได้แบบอย่างมาจากการเซิ้งบั้งไฟ ซึ่งแต่เดิมนั้น เซิ้งบั้งไฟในขบวนแห่ หรือเซิ้งในขบวนแห่ต่างๆ ไม่มีท่าฟ้อนรำที่อ่อนช้อย เป็นเพียงยกมือร่ายรำ(ยกมือสวกไปสวกมา)ให้เข้ากับจังหวะกลองและรำมะนาเท่านั้น ในราว พ.ศ. 2507 เมื่อครั้งที่สมเด็จพระบรมราชินีนาถทรงมีพระประสงค์การแสดงของภาคอีสาน เพื่อต้อนรับสมเด็จพระนางเจ้าอะเลียนา และเจ้าหญิงบีทริกซ์ แห่งประเทศเนเธอแลนด์ จึงมีการนำเอาเพลงเซิ้งอีสานคือ จังหวะลำเซิ้งมาใช้ โดยมีท่าถวายบังคม ท่านกบิน ท่าเดิน ท่าดูดาว ท่าม้วนตัว ท่าสนุกสนาน ท่าปั้นข้าวเหนียว ท่าโปรยดอกไม้ ท่าบังแสงอาทิตย์ ท่าเตี้ย (รำเตี้ย) และในการแต่งกายครั้งแรกนั้นจะนุ่งผ้าซิ่นห่มผ้าสไบ เกล้าผมสูง แต่ยังไม่ได้ห้อยกระติบข้าวเพราะเห็นว่ารุงรัง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จทอดพระเนตร พระองค์จึงรับสั่งให้ใครสักคนหนึ่งลองรำดูว่า ถ้าไม่ห้อยกระติบข้าว หรือห้อยกระติบข้าวแล้วจะเป็นอย่างไร? คุณหญิงเบญจวรรณ อรวรรณ เป็นผู้ทดลองรำดู ครั้งแรกไม่ห้อยกระติบข้าวก็น่ารักดี ครั้งที่สองรำโดยห้อยกระติบข้าวทุกคนก็คิดว่ากำลังน่ารัก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงรับสั่งคำเดียวว่า "น่าเอ็นดูดีนี่" ผู้รำทุกคนก็พากันรีบห้อยกระติบข้าวกันใหญ่ทางไหล่ขวาทุกคน การเซิ้งครั้งนั้น ท่านผู้หญิงมณีรัตน์ บุนนาค เรียกชื่อว่า "เซิ้งอีสาน" ต่อมามีผู้นำเซิ้งอีสานไปแสดงกันทั่วไปแต่เปลี่ยนชื่อใหม่ว่า "เซิ้งกระติบข้าว"



4. ระบำหางนกยูง
นาฏศิลป์ของจังหวัดนครพนมได้มีการแสดงการฟ้อนรำที่เรียกได้ว่าเป็น นาฏศิลป์พื้นเมืองเอกลักษณ์นครพนมอยู่หลายอย่าง ซึ่งเป็นการแสดงดั้งเดิมสืบทอดกันมาและที่คิดขึ้นใหม่ผสมผสานกลมกลืนกันไป รวมทั้งการได้สืบค้นการแสดงที่หายไปแล้วได้คิดท่าฟ้อนรำขึ้นใหม่ตามแนวทางที่ได้สืบคนก็มี ซึ่งการแสดงชุดหนึ่งที่เป็นการแสดงนาฏศิลป์ของนครพนมที่มีความสวยงาม คือ การฟ้อนหางนกยูง
ในปี พ.ศ. 2530 สมัยที่ นายอุทัย นาคปรีชา ผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนม (พ.ศ. 2527-2531) ได้ฟื้นฟูการฟ้อนรำบูชาพระธาตุพนมร่วมกับงานเทศกาลออกพรรษาและไหลเรือไฟ ฟ้อนหางนกยูงเป็นการแสดงชุดหนึ่งที่ทางจังหวัดกำหนดให้เป็นการฟ้อนรำบูชาพระธาตุพนม ซึ่งนำโดยอำเภอเมือง จังหวัดนครพนม และได้ปฏิบัติติดต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน การฟ้อนหางนกยูงนี้ ในอุรังคนิทานมีกล่าวไว้ในบทพระธาตุทำปาฏิหาริย์ หลังจากพระอินทร์ได้อัญเชิญพระอุรังคธาตุของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าประดิษฐานในอุโมงค์ ภายในพระเจดีย์เป็นที่อนุโมทนาสาธุแก่เหล่าเทวดา ครั้งนั้นพระอุรังคธาตุเสด็จออกมาทำปาฏิหาริย์ เทวดาทั้งหลายมีความชื่นชมยินดียิ่งนัก ในเวลานี้เองที่เป็นที่มาของตำนานของการ ฟ้อนหางนกยูงและฟ้อนรำบูชาพระธาตุพนมประจำปี ความว่า
...เทวดาทั้งหลายมีความชื่นชมยินดียิ่งนัก จึงส่งเสียงสาธุขึ้นอึงมี่ตลอดทั่วบริเวณ
วิทยาธรคนธรรพ์ทั้งหลายประโคมด้วยดุริยะดนตรี
วัสสวลาหกเทวบุตรพาเอาบริวารนำเอาหางนกยูง เข้าไปฟ้อนถวายบูชาเทวดาทั้งหลาย
ลางหมู่ขับ ลางหมู่ดีด สี ตี เป่า นางเทวดา ทั้งหลายถือหางนกยูง ฟ้อนและขับร้องถวายบูชา...

ดังนั้นอาจกล่าวได้ว่าฟ้อนหางนกยูง เป็นศิลปะการฟ้อนรำของจังหวัดนครพนม เป็นลีลาฟ้อนรำอีกแบบหนึ่งที่เป็นการเลียนแบบจากท่านกยูงรำแพนเป็นส่วนมาก การฟ้อนหางนำยูงนี้มีผู้นำมาถ่ายทอดและฟ้อนรำเองตามคำบอกเล่าว่า

"เมื่อประมาณ 100 ปีเศษ โดยมีคุณตาพัน เหมหงษ์ ซึ่งเป็นชาวจังหวัดนครพนมโดยกำเนิด ท่านเป็นบุตรของอุปฮาดคนหนึ่งในสมัยโบราณ เมื่อครั้งที่คุณตาท่านมีชีวิตอยู่ ท่านมีชีวิตโลดโผนเป็นนักสู้รบมาก่อน ท่านสนใจการฟันดาบ เพลงดาบ กระบี่กระบอง และมวย ท่านจึงกลายเป็นครูดาบ กระบี่กระบอง และมวย เป็นผู้มีฝีมือเยี่ยมยุทธ์คนหนึ่ง
และเวลาว่าง ๆท่านก็ชอบออกล่าสัตว์ หมูป่า และนกต่าง ๆ จากนั้นก็สะสมของป่าเอาไว้ เช่น หางนกยูง แล้วนำมามัดเป็นกำ ๆ แล้วคิดประดิษฐ์ท่าฟ้อนรำขึ้น ซึ่งมีลีลาคล้ายกับการฟ้อนดาบแล้วก็นำไปถ่ายทอดให้ลูกหลานต่อไป"

การฟ้อนหางนกยูงนี้ในสมัยก่อนนิยมฟ้อนเดี่ยวบนหัวเรือแข่ง เมื่อมีงานประจำปีงานออกพรรษาความเชื่อว่าก่อนทีจะนำเรือเข้าแข่งจะนำเรือขึ้นไปถวายสักการะเจ้าพ่อหลักเมืองเพื่อเป็นการบอกกล่าวว่าจะนำเรือเข้าแข่งขัน และจะต้องฟ้อนหางนกยูงเพื่อถวายต่อหน้าศาลเจ้าพ่อหลักเมืองด้วย การฟ้อนหางนกยูงนี้จะฟ้อนเฉพาะเรือแข่งที่สำคัญและมีขื่อเสียงโด่งดังเท่านั้น
ศิลปะการฟ้อนหางนกยูงนี้ มีลีลาอ่อนช้อย สวยงาม ถ้าขาดความอ่อนช้อยแล้วก็ขาดความสวยงามไป การฟ้อนหางนกยูงหาคนฟ้อนสวยได้ยาก ด้วยเหตุนี้การฟ้อนหางนกยูงจึงหยุดชะงัก

ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2491 นางเกษมสุข สุวรรณธรรมา ซึ่งรับราชการอยู่ที่โรงเรียนอุเทนวิทยาคาร อำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม ได้ย้ายไปรับราชการที่โรงเรียนบ้านหนองจันทน์ ตำบลท่าค้อ อำเภอเมืองนครพนม ซึ่งมีนายทวี สุริรมย์ เป็นหลานของคุณตาพัน เหมหงษ์ ซึ่งได้รับการถ่ายทอดการฟ้อนหางนกยูงนี้ไว้ นางเกษมสุข สุวรรณธรรมา จึงได้โอกาสและขอถ่ายทอดฟ้อนหางนกยูงนี้ไว้ตั้งแต่นั้นมา

ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2493 จึงได้นำไปฝึกสอนให้แก่นักเรียนในโรงเรียน เมื่อ พ.ศ. 2495 ซึ่งนางเกษมสุข สุวรรณธรรมา คิดประดิษฐ์ท่าฟ้อนเพิ่มเติมขึ้นอีกหลายท่า



5. เซิ้งโปง
โปง เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า กระปุง เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ตี เป็นอาณัติสัญญาณบอกเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในวัดแทนการตีระฆัง หรือฆ้องและกลอง ถ้าโปงขนาดใหญ่มากเสียงก็จะทุ้มหรือต่ำตามขนาดของโปง ถ้าโปงมีขนาดเล็ก เสียงก็จะเล็กตามด้วย

เวลาที่กระทุ้งโปงหรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า การ “ถั่งโปง”
1. กระทุ้งเวลาเช้า ก่อนบิณฑบาต เพื่อให้ญาติโยมเตรียมตัวตักบาตร
2. กระทุ้งเวลาเย็น เพื่อประโยชน์ให้คนที่หลงป่ากลับเข้ามาถูกทิศ
3. กระทุ้งเวลาย่ำค่ำ ในช่วงเข้าพรรษา เพื่อให้พระลงทำวัตรเย็น
4. กระทุ้งเวลาวิกาล แสดงว่า เกิดเหตุร้ายขึ้นในวัดและแจ้งข่าวสารให้ชาวบ้านได้ทราบว่าทางวัดขอความช่วยเหลือ

นายเปลื้อง ฉายรัศมี ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดงพื้นบ้าน กองศิลปศึกษา วิทยาลัยนาฏศิลปกาฬสินธุ์ ได้นำท่าทางที่ประมวลจากกริยาและขั้นตอนต่าง ๆ ของการทำโปงมาประยุกต์ให้เข้ากับลักษณะพื้นฐาน และแนวความคิด ด้านการแสดงนาฏศิลป์พื้นบ้านภาคอีสาน กลายเป็นการแสดงชุดใหม่ และเรียกชื่อการแสดงชุดใหม่ ตามลักษณะของอุปกรณ์ที่ประกอบการแสดงว่า "เซิ้งโปง"



6. เรือมจับกรับ
เรือมจับกรับเป็นการละเล่นพื้นบ้านของชาวบ้านสวายจุ๊ ตำบลป่าชัย อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์ ซึ่งแต่เดิมเรียกว่า “อาไยลำแบ” เป็นการร้องประกอบกับการร่ายรำในเชิงเกี้ยวพาราสี ซึ่งในปัจจุบัน การละเล่นชนิดนี้ไม่เป็นที่นิยมและหาชมได้ยากเนื่องจากผู้เล่นต้องใช้ความสามารถเฉพาะตัวอย่างสูงในการร้องและการรำประกอบกับการใช้กรับ ภาควิชานาฏศิลป์ วิทยาลัยครูบุรีรัมย์ (มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์) ได้ศึกษารูปแบบการแสดงจาก นายเจ็น ทองโยง และ นางสารส ประกายแก้ว มาจัดรูปแบบการแสดงใหม่ให้มีความสอดคล้องกันมากยิ่งขึ้น โดยการนำเอาการแสดงออกถึงการเกี้ยวพาราสีกันเป็นคู่ๆ มีการหยอกล้อ และการวาดลีลาขยับกรับแบบต่างๆ มีจังหวะดนตรีทำนองช้าและเร็วบรรเลงดนตรีด้วยวงกันตรึม (ปัจจุบันมีการดัดแปลงนำมาเล่นกันในวงโปงลางด้วย) ประกอบด้วยลายถวายครู อาไยกลาย กันต๊บ ปะการันเจก และโอละนอย



7. ฟ้อนลีลาวดี
“ลีลาวดี” เป็นนามของดอกไม้ชนิดหนึ่งที่ใช้เรียกแทนชื่อเดิม คือ “ดอกลั่นทม” หรือภาคอีสานจะเรียกชื่อของดอกไม้ชนิดนี้ว่า “ดอกจำปา” เป็นดอกไม้ประจำจังหวัดมหาสารคาม เมื่อ พ.ศ. 2547 ชมรมนาฏศิลป์และดนตรีพื้นเมือง(วงแคน) มหาวิทยาลัยมหาสารคามได้มีการประชุมหารือเพื่อสร้างสรรค์ชุดการแสดงใหม่ขึ้นเพิ่มเติม จากชุดการแสดงฟ้อนรำประจำจังหวัดมหาสารคามที่มีอยู่แต่เดิม เช่น ฟ้อนทอเสื่อบ้านแพง ฟ้อนกลองยาวชาววาปีปทุม ระบำจัมปาศรี ระบำสันตรัตน์ ฟ้อนแห่ประเพณีบุญเบิกฟ้า ฯลฯ โดยได้มีแนวความคิดร่วมกันว่า ดอกไม้ประจำจังหวัดมหาสารคามคือ ดอกจำปา(ดอกลั่นทมขาว) จึงได้เอาแนวคิดนั้นมาประดิษฐ์เป็นชุดการแสดงในชื่อชุดว่า “ฟ้อนลีลาวดี” โดยแสดงถึงลักษณะความงดงามของดอกจำปาและความงามของหญิงสาวชาวอีสานที่ใช้ดอกจำปามาประดับผม ท่วงทำนองของดนตรีเริ่มจากช้าและเร็วขึ้น ในท่วงทำนองลายเพลงจะสื่อความหมาย เกี่ยวกับความลึกลับ ความงดงามชวนหลงใหล เนื่องจากดอกจำปาเป็นดอกไม้ที่นิยมนำมาใช้ประกอบพิธีกรรมต่างๆ จึงเปรียบเสมือนกุลสตรีชาวอีสานที่เพียบพร้อมในการปฏิบัติตนในหลักเฮือน 3 น้ำ 4 อย่างที่สตรีชาวอีสานสืบต่อกันมาอย่างยาวนาน ฟ้อนลีลาวดี (จำปาขาว) ออกแบบเสื้อผ้าเครื่องแต่งกายโดย นายอดิศักดิ์ สาศิริ สร้างสรรค์ทำนองดนตรีโดย นายสุวิทย์ วิชัด ประดิษฐ์ท่าฟ้อนโดยสมาชิกกลุ่มนาฏศิลป์ชมรมนาฏศิลป์และดนตรีพื้นเมือง (วงแคน) มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
การแสดงชุด “ฟ้อนลีลาวดี (จำปาขาว)” ได้นำไปแสดงเผยแพร่ครั้งแรก เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ.2547 ณ งานศิลปวัฒนธรรมอุดมศึกษาครั้งที่ 7 “ออนซอนศิลป์ ศรี มอดินแดง” ณ มหาวิทยาลัยขอนแก่น



8. ดีดไห
ไหซอง เป็นเครื่องดนตรีไทยภาคอีสาน ทำมาจากไหน้ำปลาหรือไหปลาร้าที่ไม่ใช้แล้ว ขึงด้วยยางหนังสติ๊กหรือยางอื่นๆ บริเวณปากไห จัดเป็นชุด ชุดละหลายใบ โดยมีขนาดลดหลั่นกัน บรรเลงโดยการดีดด้วยนิ้ว ให้เสียงทุ้มคล้ายกีตาร์เบส ทำหน้าที่เป็นเครื่องประกอบจังหวะ ใช้บรรเลงประกอบในวงดนตรีพื้นเมืองภาคอีสานหรือที่นิยมเรียกว่าวงโปงลาง ปัจจุบันวงโปงลางส่วนใหญ่นิยมใช้พิณเบส แทนการใช้ไหซอง เนื่องจากให้เสียงดังกว่าและสามารถบรรเลงพลิกแพลงได้มากกว่า จึงแทบไม่มีการดีดไหซองเพื่อการบรรเลงจริงๆแล้ว การดีดไหซองในปัจจุบันเป็นเพียงการแสดงลีลาการดีดประกอบท่าฟ้อนรำ นิยมใช้ผู้หญิงเป็นผู้ดีด เรียกว่า นางไห



9. เซิ้งสวิง
สวิง เป็นเครื่องมือจับสัตว์น้ำ ซึ่งผู้หญิงนิยมใช้ โดยใช้สวิงช้อน หรือตวัดวนไปมาเพื่อจับสัตว์น้ำ เช่น กุ้ง ฮวก(ลูกอ๊อด) แมงระงำ(ตัวอ่อนของแมลงปอ) ปลาตัวเล็กๆ เป็นต้น การรำเซิ้ง ดั้งเดิม มีเฉพาะเซิ้งบั้งไฟ ซึ่งมีจังหวะดนตรีสนุกสนานไม่ช้า ไม่เร็วมาก เรียกจังหวะแบบนี้ว่า จังหวะเซิ้ง เซิ้งสวิง เป็นการฟ้อนรำที่จำลอง หรือเล่าเรื่องราวการหาสัตว์น้ำของชาวบ้าน โดยใช้สวิงเป็นอุปกรณ์หรือเครื่องมือ แสดงคู่ชาย-หญิง ก็ได้ หรือ แสดงเพียงผู้หญิงเท่านั้น ก็ได้ เซิ้งสวิงมีการประยุกต์กันมาเรื่อยๆ และในปี พ.ศ. 2515 ทางกรมศิลปากรจึงได้นำท่าฟ้อนของท้องถิ่นอำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์ มาปรับปรุงให้มีท่วงท่ากระฉับกระเฉงขึ้น ท่าฟ้อนจะแสดงให้เห็นถึงการออกไปหาปลา การช้อนปลา จับปลา และดีอกดีใจเมื่อหาปลาได้มากๆ ผู้แสดงฝ่ายหญิงจะเป็นผู้ถือสวิงไปช้อนปลา ส่วนฝ่ายชายจะนำข้องไปคอยใส่ปลาที่ฝ่ายหญิงจับได้



10. ฟ้อนร้อยเอ็ดเพชรงาม
“ร้อยเอ็ดเพชรอีสาน พลาญชัยบึงงาม เรืองนามพระสูงใหญ่ ผ้าไหมชั้นดี สตรีโสภา ทุ่งกุลาสดใส งานใหญ่บุญผะเหวด” เป็นคำขวัญประจำจังหวัดร้อยเอ็ดเดิม ที่อธิบายลักษณะแหล่งท่องเที่ยว สภาพแวดล้อม รวมถึงศิลปวัฒนธรรมประเพณีภายในจังหวัดร้อยเอ็ด ปัจจุบัน คำขวัญจังหวัดร้อยเอ็ดได้มีการประกวดคำขวัญและได้นำคำขวัญที่ชนะเลิศมาใช้ในใหม่ ในความว่า “สิบเอ็ดประตูเมืองงาม เรืองนามพระสูงใหญ่ ผ้าไหมสาเกต บุญผะเหวดประเพณี มหาเจดีย์ชัยมงคล งามน่ายลบึงพลาญชัย เขตกว้างไกลทุ่งกุลา โลกลือชาข้าวหอมมะลิ” ฟ้อนร้อยเอ็ดเพชรงาม ได้ประดิษฐ์คิดค้นการแสดงโดย คณาจารย์จากวิทยาลัยนาฏศิลปร้อยเอ็ด ประพันธ์เนื้อร้องโดย อ.สมชิต สุนาคราช เป็นการฟ้อนประกอบท่วงทำนองดนตรีที่มีความจังหวะสนุกสนานเร้าใจ การฟ้อนแสดงถึง การอธิบายคำขวัญของจังหวัดร้อยเอ็ดออกมาเป็นท่วงท่าที่สวยงาม โดยมีเนื้อหาเชิญชวนให้ไปท่องเที่ยวในจังหวัดร้อยเอ็ด และการแต่งกายของนักแสดงด้วยผ้าไหมลายประจำจังหวัด ก็แสดงให้เห็นถึงความเป็นเอกลักษณ์ประจำท้องถิ่นอีกด้วย



11. ฟ้อนผีตาโขน
ประเพณีแห่ผีตาโขน จัดเป็นส่วนหนึ่งในงานบุญประเพณีใหญ่หรือที่เรียกว่า “งานบุญหลวง” หรือ “บุญผะเหวด” ซึ่งตรงกับเดือน 7 มีขึ้นที่อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย และจัดเป็นการละเล่นที่ถือเป็นประเพณีทุกปี เกี่ยวโยงกับงานบุญพระเวสหรือเทศน์มหาชาติประจำปีกับพระธาตุเจดีย์สองรัก ปูชนียสถานสำคัญของชาวด่านซ้าย ต้นกำเนิดผีตาโขน ที่มานั้นไม่ชัดเจน แต่กล่าวกันว่าเป็นประเพณีที่ใกล้เคียงกับการบูชาบรรพบุรุษของอาณาจักรล้านช้างหลวงพระบาง (ในอดีตแนวเขตแดน ด่านซ้าย เชียงคาน และหล่มเก่า เป็นส่วนหนึ่งในการปกครองของอาณาจักรล้านช้างร่มขาวหลวงพระบาง) ในอีกที่มาหนึ่งกล่าวกันว่า การแห่ผีตาโขนเกิดขึ้นเมื่อครั้งที่พระเวสสันดรและนางมัทรีจะเดินทางออกจากป่า กลับสู่เมืองบรรดาผีป่าหลายตนและสัตว์นานาชนิดอาลัยรักจึงพาแห่แหนแฝงตัวแฝงตน มากับชาวบ้านเพื่อมาส่งทั้งสองพระองค์กลับเมือง เรียกกันว่า “ผีตามคน” หรือ “ผีตาขน” จนกลายมาเป็น “ผีตาโขน” อย่างในปัจจุบัน



12. ฟ้อนกลองตุ้ม
ฟ้อนกลองตุ้ม หรือฟ้อนส่วยมือ เป็นการฟ้อนรำที่เก่าแก่และโบราณ ของชาวอีสาน ในอดีตนิยมฟ้อนด้วยผู้ชายทั้งหมด เป็นการฟ้อนรำประกอบจังหวะกลองตุ้ม ใช้ประกอบขบวนในการแห่บั้งไฟ



13. ฟ้อนโก๋ยมือ
ชาวไทอีสานจะยึดมั่นในพระพุทธศาสนา และปฏิบัติตามฮีต 12 คอง 14 กันสืบมา
ฮีตที่ 4. บุญผะเหวด หรือ บุญเดือนสี่ เป็นบุญที่มีการเทศน์พระเวส หรือ มหาชาติ เรียกว่า บุญผะเหวด ซึ่งหนังสือมหาชาติ หรือ พระเวสสันดรชาดกแสดงถึงจริยวัตรของพระพุทธเจ้าคราวพระองค์เสวยพระชาติเป็นพระเวสสันดร เป็นหนังสือเรื่องยาว 13 ผูก ในช่วงเดือนสี่ในทุกๆปีจะมีงานประเพณีบุญมหาชาติหรือบุญผะเหวด ซึ่งในงานจะมีการแห่ผะเหวดเข้าเมือง ซึ่งชาวภูไท ในอำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร ได้จัดพิธีอย่างยิ่งใหญ่ และจะมีการจัดขบวนฟ้อนรำซึ่งแสดงออกถึงความดีใจ ความรื่นเริงสนุกสนาน เป็นการฟ้อนนำหน้าขบวนเพื่อต้อนรับผะเหวดที่แห่เข้ามาสู่เมือง



14. กะโน๊บติงตอง
เป็นการแสดงพื้นเมืองชาวไทเขมรในจังหวัดสุรินทร์ คำว่า กะโน๊บติงตอง เป็นภาษาท้องถิ่นของชาวไทเขมร หมายถึง ตั๊กแตนตำข้าว เรือมกะโน๊บติงตอง ของอีสานใต้เป็นการละเล่นที่มีความสนุกสนาน ด้วยลีลาที่เลียนแบบมาจากลีลาการขยับตัวและการกระโดดของตั๊กแตน ซึ่งการแสดงชุดนี้ต้องใช้การเคลื่อนไหวส่วนต่างๆของร่างกายทุกส่วน กะโน้บติงตอง เป็นภาษาเขมรแปลว่า ตั๊กแตนตำข้าว เป็นการละเล่นที่เลียนแบบลีลาท่าทางการเคลื่อนไหวของตั๊กแตนตำข้าว มีจังหวะลีลาที่สนุกสนานเร้าใจ จึงทำให้การเล่นกะโน้บติงตองเป็นที่นิยมทั่วไปทั้งในแถบอีสานใต้และแถบจังหวัดใกล้เคียง นาฏศิลป์นี้เกิดเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2490 นายเต็น ตระกาลดี ได้เดินทางเข้าไปในประเทศกัมพูชาและในขณะที่หยุดพักเหนื่อยนายเต็น ได้มองเห็นตั๊กแตนตำข้าวกำลังเกี้ยวพาราสีกันและผสมพันธุ์กันอยู่เฝ้าดูลีลาของตักแตนคู่นั้นด้วยความประทับใจ เมื่อนายเต็นเดินทางมาถึงบ้าน จึงเกิดความคิดว่าถ้านำเอาลีลาการเต้นของตักแตนตำข้าวมาดัดแปลงและเต้นให้คนดูก็ดี จึงนำแนวคินนี้มาเล่าให้ นายเหือน ตรงศูนย์ดี ซึ่งเป็นหัวหน้าคณะกันตรึมที่เล่นอยู่ในหมู่บ้านรำเบอะ และหมู่บ้านใกล้เคียงนั้น ในแถบตำบลไพล อำเภอปราสาท เมื่อไปเล่นที่ไหนเวลา ต้องการให้เกิดความสนุกสนานนั้น จนการเต้นตั๊กแตนตำข้าวเป็นที่รู้จักและได้รับควานนิยมอย่างแพร่หลายในเวลาต่อมา



15. ฟ้อนไทพวน
ชาวพวน เดิมมีถิ่นฐานอยู่ที่เมืองพวน แขวงเมืองเชียงขวาง ประเทศลาว ทางภาคอีสานเรียกว่า ไทพวน แต่ภาคกลางเรียกชนเผ่านี้ว่า ลาวพวน ชาวพวนได้กระจายตัวอยู่บริเวณลุ่มแม่น้ำงึมของลาว สมัยกรุงธนบุรี เมื่อลาวได้รวมเป็นอาณาจักรพลเมืองฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขงได้ถูกกวาดต้อน มาอยู่ทางฝั่งขวาของแม่น้ำโขง ชาวพวนได้ถูกกวาดต้อนมาด้วย และมาอยู่ในจังหวัดอุดรธานี หนองคาย เลย พิจิตร แพร่ อุตรดิตถ์ สุโขทัย สิงห์บุรี ลพบุรี สุพรรณบุรี ฉะเชิงเทรา นครนายก ปราจีนบุรี ราชบุรี กาญจนบุรี เพชรบุรี และสระบุรี ชาวไทพวน ที่อพยพมาตั้งหลักแหล่งที่บ้านบุฮม และบ้านกลาง อำเภอเชียงคาน จ.เลย ถิ่นฐานเดิมอยู่ที่เมืองเตาไห หลวงพระบาง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เมื่อครั้งที่พวกจีนฮ่อ กุลา เงี้ยว รุกรานเมืองเตาไห ๔ พ่อเฒ่า คือ พ่อเฒ่าก่อม พ่อเฒ่าห่าน พ่อเฒ่าเพียไซ พ่อเฒ่าปู่ตาหลวง เป็นผู้นำชาวพวนกลุ่มหนึ่ง อพยพออกจากหลวงพระบาง ล่องตามแม่น้ำโขงมาตั้งถิ่นฐานที่บ้านบุฮม ต่อมาผู้คนส่วนหนึ่งได้มาอยู่ที่บ้านกลาง อีกแห่งหนึ่งแล้วเรียกตัวเองว่า "ไทพวน" ชาวไทพวนนั้นมีความเป็นอยู่ที่เรียบง่ายแบบสังคม ชนบททั่วไป มีอาชีพเกษตรกรรม การทอผ้า การตีเหล็ก ทำเครื่องเงิน เครื่องทอง ภาษา ชาวพวนใช้ ภาษาตระกูลไทลาว คล้ายกับไทอีสานทั่วไป แต่มีสำเนียงใกล้เคียงไทยภาคกลางกว่าเผ่าอื่นๆ การแต่งกายของชาวไทพวน ในอดีตผู้หญิง ใช้ผ้าคาดอกแทนการสวมเสื้อ นุ่งซิ่นตีนจก หรือ สีพื้นแทรกลายขวาง บางท้องถิ่นนิยมนุ่งซิ่นมัดหมี่ ผู้ชายนุ่งกางเกงขาก๊วยสีดำใส่เสื้อสีดำ และผ้านุ่งจูงกระเบน ผ้าขาวม้าพาดบ่า หรือคาดเอว ผู้หญิงนุ่งผ้าซิ่น ผ้าขาวม้ารัดนม เรียกว่า แห้งตู้ ทั้งชายหญิงไม่สวมเสื้อ แต่เวลาไปไร่นาต้องสวมเสื้อสีดำ หรือสีคราม หญิงสวมเสื้อรัดตัวแขนยาวถึงข้อมือกระดุมเสื้อใช้เงินกลมติดเรียงลงมาตั้งแต่คอถึงเอว เด็กผู้ชายก็จะใส่กำไลเท้า เด็กผู้หญิงใส่ทั้งกำไลมือกำไลเท้า ปัจจุบันผู้หญิงนิยมสวมเสื้อตามสมัยนิยม ส่วนคนสูงอายุมักสวมเสื้อคอกระเช้า ผู้ชายยังแต่งเหมือนเดิม ยังมีบางท้องถิ่นแต่งแบบไทย-ลาว เช่น จังหวัดลพบุรี ชัยนาท หนองคาย อุดรธานี ฟ้อนไทพวน ประดิษฐ์และออกแบบโดยชมรมนาฏศิลป์หนองคาย จากนั้น วิทยาลัยนาฏศิลปกาฬศิลป์ ได้นำไปเผยแพร่ต่อ การแต่งกาย เป็นแบบประยุกต์ด้วยชุดที่ได้รับอิทธิพลแบบไทลื้อ โดยมีเสื้อที่ดัดแปลงมาจากชุดไทลื้อ นุ่งซิ่นมุกต่อตีนจกแบบไทพวนแท้ๆ ใช้ผ้าขิดลายขาว-ดำ พันศีรษะ



16. เซิ้งแคน
เซิ้งแคน เป็นชุดการแสดงที่ได้ต้นแบบมาจากชุดการแสดงจากสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว คือ “เซิ้งเสียงแคน” เป็นการฟ้อนประกอบการเป่าแคน แสดงถึงการเกี้ยวพาราสีของหนุ่มสาวชาวอีสานโดยใช้แคนเป็นสื่อกลาง เซิ้งแคนเป็นการแสดงฟ้อนรำที่มีความสนุกสนานด้วยท่วงทำนองและจังหวะลีลาของผู้ฟ้อนและการเป่าแคน ทางมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรจน์มหาสารคาม (ปัจจุบันคือ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม) โดย อ.ชัชวาลย์ วงษ์ประเสริฐ เห็นควรว่าน่าจะมีการนำเอาท่าฟ้อนต่างๆรวมทั้งท่าเซิ้งมาผสมเข้าอยู่ในชุดเดียวกัน โดยเน้นถึงความสัมพันธ์ของชาวอีสานกับอาณาจักรล้านช้าง(ลาว)และอาณาจักรล้านนา จึงเกิดเป็นชุดการแสดงชื่อ “เซิ้งแคน” โดยใช้ลายดนตรีที่นิยมเล่นกันแพร่หลายทั้งสามแหล่งวัฒนธรรม คือลายเซิ้งบั้งไฟ ลายลาวดวงเดือน และลายออกซุ้มลาวแพน



17. ฟ้อนแหย่ไข่มดแดง
ในอดีตนั้น การประกอบอาหารและการเสาะหาแหล่งอาหารของชาวไทอีสานในความเป็นอยู่แบบพอเพียงไม่ได้ซื้อหาจากตลาดหรือร้านค้าดั่งเช่นในปัจจุบัน ชาวอีสานในอดีตจึงออกแสวงหาอาหารในแหล่งธรรมชาติใกล้ชุมชน เช่น ในท้องนา ป่าชุมชน ป่าทาม รวมไปถึงในแหล่งน้ำตามธรรมชาติ แม้ว่าปัจจุบันวิถีชีวิตบางอย่างจะเปลี่ยนแปลงไปบ้างก็ตาม ด้วยกระแสบริโภคนิยม บางท้องที่หรือบางชุมชนก็ยังหาอยู่หากินอย่างพอเพียงตามวิถีชีวิตแบบดั้งเดิมกันอยู่ “ไข่มดแดง” รวมถึงตัวอ่อนของมดแดง ก็ถือได้ว่าเป็นอาหารอีสานที่หารับประทานได้ในช่วงหน้าแล้งเท่านั้น ถือได้ว่าเป็นอาหารตามฤดูกาลแม้ในปัจจุบันก็ยังได้รับความนิยมในการบริโภคกันอยู่ ด้วยรสชาติที่เป็นเอกลักษณ์ และสามารถหาได้ง่ายๆในท้องถิ่น ซึ่งกรรมวิธีการหาไข่มดแดงจะต้องมีอุปกรณ์ คือ ไม้ไผ่ยาวผูกปลายด้วยตะกร้า และมีคุใส่น้ำเตรียมไว้ใส่ไข่มดแดงที่แหย่ได้ แล้วใช้เศษผ้ากวนเอาตัวมดแดงแยกออกจากไข่ เพื่อนำไปประกอบอาหารต่อไป ภาควิชานาฏศิลป์ วิทยาลัยครูบุรีรัมย์ (มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์) ได้ศึกษารูปแบบการแหย่ไข่มดแดงของชาวบ้าน โดย อ.ประชัน คะเนวัน และ อ. ดรรชนี อุบลเลิศ ได้ศึกษาขั้นตอนอย่างละเอียด ก่อนจะนำมาประดิษฐ์เป็นชุดการแสดง “เซิ้งแหย่ไข่มดแดง” ซึ่งมีความสนุกสนานเร้าใจในแบบศิลปการแสดงแบบชาวอีสาน ซึ่งได้แสดงออกถึงการออกไปหาไข่มดแดง ซึ่งได้มาอย่างยากลำบาก ทั้งต้องถูกมดแดงกัดหรือไต่ตามเสื้อผ้า การกวนแยกตัวมดแดงออกจากไข่ ทำให้ชุดการแสดงนี้บอกเล่าวิธีการได้อย่างละเอียด



18. ฟ้อนบายศรีสู่ขวัญ
ประเพณีการบายศรีสู่ขวัญ หรือในภาษาท้องถิ่นอีสานเรียกว่า “บาศรี” เป็นประเพณีตามศาสนาพราหมณ์ ที่นิยมกระทำสืบต่อกันมาอย่างช้านาน ถือว่าเมื่อได้มีการทำพิธีนี้แล้วจะก่อให้เกิดความเป็นสิริมงคลแก่ชีวิต การทำพิธีบายศรีสู่ขวัญนี้จะกระทำเมื่อเกิดเหตุการณ์ที่ดีเป็นมงคล เช่นพิธีแต่งงาน การหายจากป่วยไข้ การมาหรือกลับจากสถานที่ใดๆ การไปค้าขายได้เงินทองมามาก การมีแขกมาเยี่ยมยามจากต่างถิ่น ฯลฯ แม้แต่เหตุการณ์ที่ไม่ดี เช่น การได้รับความเจ็บป่วย คนในครอบครัวประสบอุบัติเหตุหรือต้องเสียชีวิต (เหตุการณ์นี้จะทำพิธีให้แก่ผู้ที่รอดจากเหตุดังกล่าว) ชาวอีสานมีความเชื่อว่า “ขวัญ” เป็นสิ่งที่แฝงอยู่กับตัวของมนุษย์มาตั้งแต่กำเนิด ซึ่งจะจับต้องหรือไม่สามารถมองเห็นได้ หากว่ามีเหตุให้ขวัญหนีออกจากตัว เช่น เกิดอุบัติเหตุ เสียใจ ป่วยไข้ ตกใจรุนแรง อาจทำให้ตัวบุคคลนั้นถึงแก่ความตายได้ ฉะนั้นต้องเรียกขวัญกลับมาสู่ตัวจะทำให้สุขสบายขึ้น เครื่องประกอบในการทำพิธีบายศรีสู่ขวัญที่สำคัญ คือ พานบายศรี หรือ “พาขวัญ” ทำจากใบตองและดอกไม้สด รวมไปถึงเครื่องสังเวยต่างๆ เช่น ข้าวปลาอาหาร แป้ง กระจก หวี ผ้าแพรไหม น้ำอบ-น้ำหอม ที่ขาดไม่ได้คือ เส้นฝ้ายสีขาว เพื่อใช้ในการผูกข้อต่อแขนแก่ผู้เข้าร่วมทำพิธี การฟ้อนบายศรีสู่ขวัญ เกิดจากการคิดค้นร่วมกัน โดย อ. ดำเกิง ไกรสรกุล และ อ.พนอกำเนิดกาญจน์ แห่งวิทยาลัยครูอุดรธานี(ปัจจุบันคือ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี) ซึ่ง อ.พนอกำเนิดกาญจน์ เป็นผู้ประดิษฐ์ท่าฟ้อน อ. ดำเกิง ไกรสรกุล เป็นผู้แต่งเนื้อร้องและทำนองเพลง



19. ลำตังหวาย
ฟ้อนลำตังหวาย เป็นการฟ้อนที่มีที่มา 2 ลักษณะ คือ
1. ฟ้อนตังหวาย เป็นการฟ้อนเพื่อบวงสรวงบูชา โดยเฉพาะชนชาติที่อาศัยอยู่ในลุ่มแม่น้ำโขง ที่มีความเชื่อในเรื
Volwar
Volwar
Webmaster
Webmaster

จำนวนข้อความ : 572
คะแนน : 770
คะแนนชื่อเสียง : 14
Join date : 23/01/2010
Age : 30
ที่อยู่ : ถนนเจริญยาก ถนนไม่มีรถเมล์ กทม.

ขึ้นไปข้างบน Go down

ประวัติศาสตร์ 77 จังหวัดทั่วไทย - Page 2 Empty นาฏศิลป์ไทยภาคตะวันออก

ตั้งหัวข้อ by Volwar Mon Jun 14, 2010 10:44 pm

ภาคตะวันออกมีทั้งหมด 7 จังหวัด มีพื้นที่ทางทิศตะวันตกติดภาคกลางและติดกรุงเทพมหานครที่จังหวัดฉะเชิงเทรา นาฏศิลป์ของภาคนี้จึงออกไปทางภาคกลาง ทางตะวันตกติดกับประเทศกัมพูชา จึงมีนาฏศิลป์และดนตรีบางอย่างที่มาจากประเทศกัมพูชา ทางทิศเหนือติดกับภาคอีสาน และทางทิศใต้ใต้เกี่ยวกับทะเล ภาคตะวันออกของไทย มีชนเผ่าชอง ซึ่งเป็นชนพื้นเมืองที่พบได้เฉพาะทางภาคตะวันออกของไทย มีนาฏศิลป์ที่ประดิษฐ์ขึ้นใหม่มากมาย แต่อย่างไรก็ตามทางภาคตะวันออก ก็มีนาฏศิลป์ที่ไม่ต่างอะไรกับภาคกลางมากนัก

1. ระบำไก่ฟ้าหลังขาวจันทบูรณ์
ไก่ฟ้าหลังขาวจันทบูร เป็นสัตว์พื้นเมืองในแถบภูเขาทางภาคตะวันออก มักอาศัยอยู่ในอุทยานแห่งชาติน้ำตกพริ้ว เขาคิชฌกูฏ บริเวณสถานีเพาะเลี้ยงสัตว์เขาสอยดาวและพบมากที่สุดในแนวตะเข็บชายแดนของจังหวัดจันทบุรี ไก่ฟ้าหลังขาวจันทบูรหรือไก่ฟ้าสีน้ำเงิน นับว่ามีรูปร่างสีสันที่สวยงาม ตัวผู้มีลำตัวด้านบนเป็นสีน้ำเงินเข้มอมดำ มีลายเป็นรูปตัววีสีขาวอยู่ทุกเส้นขนตลอดปีกจนถึงหาง แนวขนตั้งแต่ใต้คางจนถึงท้องเป็นสีน้ำเงินเข้มอมดำหน้าสีแดงเข้ม มีขนสีน้ำเงินเข้มอมดำเป็นกระจุกงอกจากหัวยาวขนานกับลำตัว ขาสีแดงเข้ม ส่วนตัวเมียสีน้ำตาลเข้มทั้งตัว บนหัวมีหงอนสีน้ำตาล พาดชี้ยาวไปทางด้านท้ายทอย คอมีลายรูปตัววีตังแต่ใต้คางไปจนถึงอก หน้าแดง ขาแดง จึงเกิดแนวคิดในการสร้างสรรค์การแสดงขึ้นตามอัตลักษณ์และความสวยงามของไก่ฟ้าหลังขาวจันทบูร
ใช้วงปี่พาทย์เครื่องคู่บรรเลงประกอบการแสดง โดยสร้างสรรค์ทำนองเพลงขึ้นมาใหม่ ให้มีความเหมาะสมกับการเคลื่อนไหวของไก่ฟ้าหลังขาวจันทบูร ใช้เครื่องดนตรีโทนชาตรี ตีกำกับจังหวะหน้าทับ

2. ระบำควานบุรี
ควนคราบุรี หมายถึง ชื่อเมืองจันทบุรี ศิลปะการแสดงชุดนี้ วิทยาลัยนาฏศิลป์จันทบุรีได้ประดิษฐ์ขึ้น โดยศึกษาจากหนังสือประวัติศาสตร์เมืองจันทบุรี และรูปจำหลักศิลปะสมัยขอม หนังสือประวัติศาสตร์การแต่งกายโบราณคดี และจินตนาการ การแสดงให้เห็นถึงชาวควนควานบุรี ซึ่งต่างฐานะกันมีทั้งชายและหญิงได้มาร่วมเริงระบำเพื่อบวงสรวงสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่นับถือ มีการแต่งกายแบบสมัยขอม ทำนองเพลงแบบเขมร โดยยึดสำเนียง และจังหวะของการละเล่นรำสวด ซึ่งชาวพื้นเมืองจังหวัดจันทบุรีนิยมเล่นกัน


3. ระบำกาละแม
ระบำชุดนี้เป็นผลงานของ ครูเพ็ญนภา ไทยภูมิ ครูโรงเรียนวัดหนองขาม อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี ซึ่งได้สร้างสรรค์ผลงานชิ้นนี้ออกมาเพื่อใช้ในการประกวด นาฏศิลป์สร้างสรรค์ ในงาน ศิลปหัตถกรรมนักเรียนภาคตะวันตกและภาคกลางที่จังหวัดสุพรรณบุรี ผู้คิดประดิษฐ์ท่ารำได้นำเอาอาชีพของชาวบ้านในพื้นที่ คือการกวนกาละแม โดยเริ่มจาก การเตรียมแป้ง นำตาล การขูดมะพร้าว การกวนจนกระทั่งสำเร็จ มาเป็นท่ารำที่อ่อนช้อยงดงามอีกชุดหนึ่ง การแต่งกายของนักแสดง สวมเสื้อแขนกระบอก มีสะไบที่ทำจากผ้าพื้นเมืองพาดไหล่ นุ่งผ้าโจงกระเบน อุปกรณ์ประกอบการแสดง ไม้พายอันเล็ก ผู้คิดประดิษฐ์ทำนองเพลงขึ้นมาใหม่คือ ครู ศิวศิษฐ์ นิลสุวรรณ ครูดนตรีไทย โรงเรียนสิงห์บุรี

4. ระบำชอง
ระบำชอง - เป็นระบำที่แสดงถึงความสนุกสนานร่าเริงของชาวชองในจังหวัดจันทบุรี ที่มาจับกลุ่มกัน ในงานเทศกาลและร่วมเต้นระบำด้วยกัน ผู้แสดงเป็นหญิงล้วน จำนวน 6-8 คน ( หรือแล้วแต่
โอกาส ) จุดมุ่งหมายของการแสดงเพื่อความสนุกสนานและสวยงาม

5. ระบำนาฏยศิวะอัปสรา
เป็นการร่ายรำบูชาพระศิวะ ได้แนวคิดมาจากการประกอบพิธีทางศาสนาฮินดูในปราสาทสด๊กก๊อกธม ผสมผสานท่ารำทวารวดี 108 ท่าในคัมภีร์ภรตนาฏยศาสตร์และท่ารำจากภาพจำหลักและรูปปั้นของปราสาทสด๊กก๊อกธม จังหวัดสระแก้ว เข้ามาใช้ในการประดิษฐ์ท่ารำ

6.ระบำสมุทราบูรพาทิศ
เที่ยวกับทะเลทางภาคตะวันออก


7. ระบำอัปสรายอดสตรีศรีบูรพา
เป็นระบำของจังหวัดสระแก้ว ระบำอัปสรายอดสตรีศรีบูรพานั้นมาจากภาพของ นาฏศิลป์การร่ายรำของปราสาทหินแบบขอม

อ้างอิง
www.youtube.com
th.wikipedia.org
http://cdacb.bpi.ac.th
www.thaigoodview.com
www.bloggang.com
www.oknation.net


แก้ไขล่าสุดโดย Volwar เมื่อ Fri Dec 23, 2011 11:22 pm, ทั้งหมด 3 ครั้ง (Reason for editing : เพิ่มคลิป)
Volwar
Volwar
Webmaster
Webmaster

จำนวนข้อความ : 572
คะแนน : 770
คะแนนชื่อเสียง : 14
Join date : 23/01/2010
Age : 30
ที่อยู่ : ถนนเจริญยาก ถนนไม่มีรถเมล์ กทม.

ขึ้นไปข้างบน Go down

ประวัติศาสตร์ 77 จังหวัดทั่วไทย - Page 2 Empty นาฏศิลป์ไทยภาคตะวันตก

ตั้งหัวข้อ by Volwar Thu Jun 17, 2010 1:56 pm

ภาคตะวันตกของไทยมี 5 จังหวัด ทุกจังหวัดมีพื้นที่ติดต่อกับสหภาพเมียนมาร์ จึงมีนาฏศิลป์แบบชาวเขา และจากชนเผ่าพื้นเมือง เช่น มอญ กะเหรี่ยง ไททรงดำ ฯลฯ ทางเหนือติดต่อกับภาคเหนือ ทิศตะวันออกติดต่อกับภาคกลางและจรดอ่าวไทย ทางทิศใต้ติดต่อกับภาคใต้



1. ระบำศรีชยสิงห์
ระบำศรีชัยสิงห์ เป็นระบำโบราณคดีที่วิทยาลัยนาฏศิลป์ กรมศิลปากร ได้สร้างสรรค์ประดิษฐ์ท่ารำขึ้นใหม่จากจินตนาการศิลปกรรมภาพจำหลัก ซึ่งภาพจำหลักนี้ ได้ลอกเลียนแบบมาจากปราสาทเมืองสิงห์ จังหวัดกาญจนบุรี เป็นโบราณสถานที่มีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 18 ดัดแปลงมาจากท่ารำของนางอัปสรบายน ในสมัยขอมบายน มาเป็นหมู่ระบำนางอัปสรฟ้อนรำถวายพระนางปรัชญาปารมิตา ซึ่งเป็นพระมารดาแห่งพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร



2. รำกะเหรี่ยงกระทบไม้
เป็นการละเล่นของชาวกะเหรี่ยง คล้ายๆ ลาวกระทบไม้





3. ระบำร่อนทอง
ระบำร่อนทองเป็นระบำที่แสดงถึงวิถีชีวิตของชาวประจวบคีรีขันธ์ ที่ทำอาชีพในการร่อนทอง



4. รำแคนชาวไทยทรงดำ
รำแคน เป็นการละเล่นของชาวไทยทรงดำ หรือไทยโซ่ง ที่มีมาแต่โบราณ นิยมเล่นกันในช่วงตรุษสงกรานต์ หรือตรงกับเดือน 5 ตามจันทรคติไทย ต่อจากการโยนลูกช่วง หรือทอดคอน ในตอนบ่าย เย็นย่ำก็จะเริ่มรำแคนไปจนถึงดึกดื่นเที่ยงคืน ซึ่งชาวไทยโซ่งเรียกประเพณีนี้ว่า ‘เล่นคอน รำแคน’



5. หนังใหญ่
หนังใหญ่ คือมหรสพที่แพร่หลายของคนไทยอีกอย่างหนึ่ง ตัวหนังจะใช้แผ่นหนังวัวฉลุเป็นรูปตัวละครในเรื่องรามเกียรติ์ และมีไม้ผูกทาบตัวหนังไว้ทั้งสองข้าง เพื่อให้ตัวหนังตั้งตรงไม่งอ และทำให้มีคันยื่นลงมาใต้ตัวหนังเป็นสองข้างสำหรับจับถือและยกได้ถนัด สถานที่เล่นจะปลูกโรงผ้าใช้ผ้าขาวคาดเป็นจอ ส่วนด้านหลังจอจะจุดไต้และก่อไฟไว้ เพื่อให้แสงทำให้เห็นเงาตัวหนังซึ่งมีลวดลายวิจิตรมาติดอยู่ที่จอผ้าขาว และการเชิดนั้นคนเชิดต้องเต้นไปตามจังหวะดนตรีและบทพากย์บทเจรจาด้วย การแสดงโขนก็ประกอบไปด้วยการพากย์ เจรจา ขับร้อง และการเต้นทำท่าตามบทพากย์ จึงกล่าวได้ว่าโขนนำเอาการพากย์ เจรจา และท่าทางการเต้นการแสดงมาจากหนังใหญ่


อ้างอิง
www.youtube.com
th.wikipedia.org
www.huaythachang.com
www.pongrang.com


แก้ไขล่าสุดโดย Volwar เมื่อ Fri Jun 18, 2010 10:01 am, ทั้งหมด 1 ครั้ง
Volwar
Volwar
Webmaster
Webmaster

จำนวนข้อความ : 572
คะแนน : 770
คะแนนชื่อเสียง : 14
Join date : 23/01/2010
Age : 30
ที่อยู่ : ถนนเจริญยาก ถนนไม่มีรถเมล์ กทม.

ขึ้นไปข้างบน Go down

ประวัติศาสตร์ 77 จังหวัดทั่วไทย - Page 2 Empty Re: ประวัติศาสตร์ 77 จังหวัดทั่วไทย

ตั้งหัวข้อ by Volwar Thu Jun 17, 2010 3:29 pm

ต่อไปภาคเหนือ
Volwar
Volwar
Webmaster
Webmaster

จำนวนข้อความ : 572
คะแนน : 770
คะแนนชื่อเสียง : 14
Join date : 23/01/2010
Age : 30
ที่อยู่ : ถนนเจริญยาก ถนนไม่มีรถเมล์ กทม.

ขึ้นไปข้างบน Go down

ประวัติศาสตร์ 77 จังหวัดทั่วไทย - Page 2 Empty นาฏศิลป์ไทยภาคเหนือ

ตั้งหัวข้อ by Volwar Thu Jun 17, 2010 4:09 pm

ภาคนี้มีการแสดงหรือการร่ายรำที่มีจังหวะเร็วท่าหยาบนุ่มนวล เพราะมีอากาศเย็นสบาย ทำให้จิตใจของผู้คนมีความนุ่มนวล อ่อนโยน ภาษาพูดก็นุ่มนวลไปด้วย เพลงมีความไพเราะ อ่อนหวาน ผู้คนไม่ต้องรีบร้อนในการทำมาหากิน สิ่งต่างๆ เหล่านั้นมีอิทธิพลต่อการแสดงนาฏศิลป์ของภาคเหนือนาฏศิลป์ของภาคเหนือเช่น ฟ้อนเทียน ฟ้อนเล็บ ฟ้อนมาลัย ฟ้อนชมเดือน ฟ้อนดาบ ฟ้อนเชิง(ฟ้อนเจิง)ตีกลองสะบัดไชย ซอ ค่าว นอกจากนี้ นาฏศิลป์ของภาคเหนือยังได้รับอิทธิพลจากประเทศใกล้เคียง ได้แก่ พม่า ลาว จีน และวัฒนธรรมของชนกลุ่มน้อย เช่น ไทยใหญ่ เงี้ยว ชาวไทยภูเขา ยอง เป็นต้น ดังนั้น นาฏศิลป์พื้นเมืองของภาคเหนือนอกจากมีของที่เป็น "คนเมือง" แท้ๆ แล้วยังมีนาฏศิลป์ที่ผสมกลมกลืนกับชนชาติต่างๆ และของชนเผ่าต่างๆ อีกหลายอย่าง เช่น อิทธิพลจากพม่า เช่น ฟ้อนม่านมงคล ฟ้อนม่านมุ้ยเชียงตา นาฏศิลป์ของชนเผ่าต่างๆ เช่น ฟ้อนนก(กิงกาหล่า - ไทยใหญ่) ฟ้อนเงี้ยว (เงี้ยว)

1. ระบำเชียงแสน
ระบำชุดนี้สร้างขึ้นตามศิลปโบราณสมัยเชียงแสน ซึ่งมีเมืองหลวงตั้งอยู่บนฝังขวาของแม่น้ำโขงทางตอนเหนือของประเทศไทย ในท้องถิ่นที่อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย นักปราชญ์ทางโบราณคดี กำหนดศิลปโบราณสถานสมัยเชียงแสนไว้ระหว่างพุทธสตวรรษที่ ๒๐ – ๒๕ ศิลปแบบเชียงแสนได้แพร่หลายไปทั่วดินแดงภาคเหนือของไทย และต่อมาได้แพร่หลายในแถบลุ่มแม่น้ำโขง เครื่องดนตรีที่ใช้บรรเลง ได้แก่ ปี่จุม แคนสะล้อ ซึงตะโพน ฉิ่ง ฉาบ และฆ้องหุ่ย ท่วงทำนองเพลงระบำเชียงแสน มีสำเนียงแบบภาคเหนือ กับภาคตะวันออกเฉียงเหนือผลสมผสานกัน

2. ฟ้อนมาลัย
"ฟ้อนมาลัย" หรือ "ฟ้อนดวงดอกไม้" โดยเพลงฟ้อนดวงดอกไม้ เป็นเพลงเก่าของเชียงใหม่ เจ้าดารารัศมี พระชายาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงนำมาใช้ในละครเรื่อง "น้อยใจยา" เมื่อกรมศิลปากรแสดงละครพันทางเรื่อง "พญาผานอง" ณ โรงละครแห่งชาติ เมื่อ พ.ศ. 2501 อาจารย์มนตรี ตราโมท ได้นำทำนองเพลงฟ้อนดวงดอกไม้มาใช้เป็นเพลงฟ้อนของนางข้าหลวงของแม่ท้าวคำปิน โดยได้แต่งบทร้องขึ้นมาใหม่ และคุณหญิงแผ้ว สนิทวงศ์เสนี ประดิษฐ์ท่ารำ ฟ้อนชุดนี้ออกเพลงซุ้ม ซึ่งเป็นเพลงสำเนียงลาวชั้นเดียว ปัจจุบันใช้แสดงในโอกาสงานมงคล หรืองานเบ็ดเตล็ดทั่วไป

3. ฟ้อนเล็บ
ฟ้อนเล็บ แต่เดิมเรียก “ฟ้อนเล็บ” ด้วยเห็นว่าเป็นการฟ้อนที่เป็นเอกลักษณ์ของ “คนเมือง” ซึ่งหมายถึงคนในถิ่นล้านนาที่มีเชื้อสายไทยวน และเนื่องจากการเป็นการแสดงที่มักปรากฏ ในขบวนแห่ครัวทานของวัดจึงมีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “ฟ้อนแห่ครัวทาน” ต่อมามีการสวมเล็บที่ทำด้วยทองเหลืองทั้ง 8 นิ้ว (ยกเว้นนิ้วหัวแม่มือ) จึงได้ชื่อว่า “ฟ้อนเล็บ”



4. ฟ้อนเทียน
ฟ้อนเทียน มีต้นกำเนิดทางภาคเหนือของประเทศไทย เป็นการรำที่ใช้ในงานพิธีอย่างมีแบบแผน ใช้แสดงในโอกาสงานเลี้ยง โดยจัดขึ้นในบริเวณลานวัดในคืนที่มีแสงดาว ลีลาการฟ้อนคล้ายกับฟ้อนเล็บ ต่างกันที่ผู้ฟ้อนไม่สวมเล็บแต่มือถือเทียนมือละเล่ม ความสวยงานของการฟ้อนอยู่ที่แสงเทียนที่ส่องหน้าผู้ฟ้อน การหมุนข้อมือที่ถือเทียนอย่างงดงาม และการเคลื่อนไหวไปมาอย่างช้าๆเพื่อไม่ให้เทียนดับ นับเป็นศิลปะที่น่าดูยิ่ง การแสดงฟ้อนเทียน มีดนตรีบรรเลงประกอบไม่มีการร้องเช่นเดียวกับฟ้อนเล็บ



5. กลองสะบัดชัย
กลองสะบัดชัย เป็นกลองที่มีมานานแล้วนับหลายศตวรรษ ในสมัยก่อนใช้ ตียามออกศึกสงคราม เพื่อเป็นสิริมงคล และเป็น ขวัญกำลังใจให้แก่เหล่าทหารหาญในการต่อ สู้ให้ได้ชัยชนะ ทำนองที่ใช้ในการตี กลองสะบัดชัยโบราณมี 3 ทำนอง คือ ชัยเภรี, ชัย ดิถี และชนะมาร การตีกลองสะบัดชัยเป็นศิลปะการแสดงพื้นบ้านล้านนาอย่างหนึ่ง ซึ่งมักจะพบเห็นในขบวนแห่หรืองานแสดงศิลปะพื้นบ้านในระยะหลังโดยทั่วไป ลีลาในการตีมีลักษณะโลดโผนเร้าใจมีการใช้อวัยวะหรือส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย เช่นศอก เข่า ศีรษะ ประกอบในการตีด้วย ทำให้การแสดงการตีกลองสะบัดชัยเป็นที่ประทับใจของผู้ที่ได้ชม จนเป็นที่นิยมกันอย่างกว้างขวางในปัจจุบัน



6. นกกิ่งกะหล่า
การ “ฟ้อนกิ่งกะหล่า” เป็นศิลปะการแสดงของชาวไต ในจังหวัดแม่ฮ่องสอน โดยนิยมแสดงในเทศกาลออกพรรษาตามตำนานที่เชื่อว่า ในครั้งพุทธกาลองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเมื่อได้ทรงตรัสรู้แล้ว ได้เสด็จไปโปรดพระมารดาบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ครั้นพอถึงวันออกพรรษาจึงได้เสด็จกลับลงมายังโลกมนุษย์ บรรดามนุษย์และเล่าเทพยดา ตลอดจนสัตว์ต่างๆในป่าหิมพานต์ ต่างพากันปิติยินดีจึงได้มารอรับเสด็จพระพุทธองค์ โดยนกกิ่งกะหล่า( กินรา-กินรี ) มาฟ้อนด้วยลีลาอันอ่อนช้อยงดงาม จากตำนานนี้ชาวไตจึงได้ยึดถือปฏิบัติมาจนทุกวันนี้ เมื่อถึงเทศกาลออกพรรษาจึงได้จัดให้มีการแสดงฟ้อนกิ่งกะหล่าขึ้นทุกปี นอกจากจะพบการฟ้อนกิ่งกะหล่าได้ทางภาคเหนือของไทยแล้ว ยังสามารถพบกสรแสดงชุดนี้ได้ในพม่าอีกด้วย



7. ฟ้อนเจิง
เชิง (อ่านว่าเจิง) คือ ชั้นเชิง ซึ่งหมายถึง ศิลปะการต่อสู้ของ ล้านนา ที่ถูกสร้างสรรค์ขึ้นเป็นแบบอย่าง และรวบรวมจากประสบการณ์ แตกแขนงกลยุทธ์โดยพิสดารออกไป แล้วถ่ายทอดศิลปะดังกล่าวสืบต่อกันมาจนกลายเป็นเอกลักษณ์ของชุมชนนั้นๆ อย่างต่อเนื่อง ชุมชนล้านนาในอดีต เป็นชุมชนใหญ่มีอาณาเขตกว้างขวาง ถึงขั้นเป็นอาณาจักร การต่อสู้เพื่อรวบรวมหัวเมืองเข้าเป็นอาณาจักร ย่อมมีความสำคัญอย่างยิ่ง การฝึกปรือฝีมือของทะแกล้วทหารต้องมีอยู่ประจำ และถึงแม้จะออกมาในรูปแบบของการแสดงไปแล้ว แต่ก็ยังคงรูปแบบความมีเอกลักษณ์อยู่อย่างชัดเจน ร่องรอยในอดีตที่ปรากฏเป็นลายลักษณ์อักษรในเอกสารโบราณ เรา ยังมีข้อมูลจำนวนจำกัด เพราะยังไม่ได้มีการศึกษาเชิงวิชาการอย่างจริงจัง อย่างไรก็ตาม ชื่อท่ารำอาวุธของล้านนาก็ยังมีตัวอย่างให้เห็น ดังปรากฏในคัมภีร์ใบลาน ซึ่งจารด้วยอักษรล้านนา เรื่องมหาชาติฉบับ “พู่ชมดวง” กัณฑ์มหาราช ตอนที่พระยา สัญชัยสั่งเสนาให้เตรียมทหารกองเกียรติยศ ไปรับพระเวสสันตระที่ไปบวชเป็นฤๅษี ณ เขาวงกต ความตอนหนึ่งกล่าวถึงท่ารำอาวุธของล้านนาว่า “คนฝูงช่างเชิงลา เชิงหอกอันนึ่ง ชื่อว่าแม่มอมเกี้ยวเกล้าวิ่งไปแทง เป็นเชิงชาย วิ่งเข้าไปแทงสามสุ้ม พลิกหลังหงายเชิงชายลายถี่ ถอยหาที่จักแทง อันนึ่งชื่อ นางหยื้อเหยี่ยมป่อง ผ่อเล็งหาที่จักแทง พลิกมาเร็วแรงยืนบ่ตั้ง บ่เฟือนฟั่งกวนลาย ตามเชิงชายอันฉลาด แม่นึ่งชื่อชะดาองอาจรุมแสน เป็นเชิงแมวแมนลายถี่ อันนึ่งช้องนางหยุ้งขะแจขำ...” และมีตำราฟ้อนเชิงฟ้อนดาบที่เขียนลงในพับสา มีผังการเดินของเท้า ที่เรียกว่า ขุม ตัวอย่างเช่น ๘ ขุม ๙ ขุม และ ๑๗ ขุม เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีลายฟ้อน เช่น คุมหน้า วาดบน ช้างงาแบนพาดพก แทงบน ฯลฯ คัมภีร์ดังกล่าวเขียนด้วยอักษรล้านนา พบที่วัดป่าบง อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย

8. ฟ้อนหริภุญชัย
เป็นการฟ้อนประจำจังหวัดลำพูน เป็นการแสดงประยุกตร์ อาณาจักรหริภุญชัย (ประมาณ พ.ศ. 1206-1835) ตำนานจามเทวีโบราณได้บันทึกไว้ว่า ฤๅษีวาสุเทพ เป็นผู้สร้างเมืองหริภุญชัยขึ้นในปี พ.ศ. 1204 แล้วต่อมาได้อัญเชิญพระนางจามเทวี ซึ่งเป็นพระราชธิดาของกษัตริย์ขอมจากเมืองละโว้ขึ้นไปครองเมืองหริภุญชัย ในครั้งนั้นพระนางจามเทวี ได้นำพระสงฆ์ นักปราชญ์ และช่างศิลปะต่าง ๆ ขึ้นไปด้วยเป็นจำนวนมาก ราวหมื่นคน พระนางได้ทำนุบำรุงและก่อสร้างบ้านเมือง ทำให้ เมืองหริภุญชัย (ลำพูน) นั้นเป็นแหล่งศิลปวัฒนธรรมที่เจริญรุ่งเรืองยิ่ง ต่อมาพระนางได้สร้างเขลางค์นคร (ลำปาง) ขึ้นอีกเมืองหนึ่งให้เป็นเมืองสำคัญ สมัยนั้นปรากฏมีการใช้ภาษามอญโบราณในศิลาจารึกของหริภุญชัย มีหนังสือหมานซูของจีนสมัยราชวงศ์ถัง กล่าวถึงนครหริภุญไชยไว้ว่า เป็น“อาณาจักรกษัตริย์หญิง นู หวาง โก่ว” ต่อมา พ.ศ. 1824 พระเจ้าเม็งรายมหาราช กษัตริย์ผู้สถาปนาอาณาจักรล้านนา ได้ยกกองทัพเข้ายึดเอาเมืองหริภุญชัยจากพระยายีบาได้ใน ต่อจากนั้นอาณาจักรหริภุญชัยจึงสิ้นสุดลงหลังจากรุ่งเรืองมา 618 ปี มีกษัตริย์ครองเมือง 49 พระองค์



9. ฟ้อนดาบ
การฟ้อนดาบ มีที่มาจากศิลปะการต่อสู้ของชายชาวล้านนาแต่โบราณ โดยผู้เรียนจะต้องเรียนฟ้อนเชิงมือเปล่าให้คล่องแคล่วเสียก่อนจึงจะเรียนฟ้อนดาบ หรือฟ้อนประกอบอาวุธอื่นๆ ต่อไป

อ้างอิง
www.youtube.com
th.wikipedia.org
cdare.bpi.ac.th
gotoknow.org
www.kroobannok.com
www.ketalanna.com
www.banramthai.com
www.khonmuang.com
www.sri.cmu.ac.th


แก้ไขล่าสุดโดย Volwar เมื่อ Fri Dec 23, 2011 11:07 pm, ทั้งหมด 1 ครั้ง (Reason for editing : แก้ไขคลิป)
Volwar
Volwar
Webmaster
Webmaster

จำนวนข้อความ : 572
คะแนน : 770
คะแนนชื่อเสียง : 14
Join date : 23/01/2010
Age : 30
ที่อยู่ : ถนนเจริญยาก ถนนไม่มีรถเมล์ กทม.

ขึ้นไปข้างบน Go down

ประวัติศาสตร์ 77 จังหวัดทั่วไทย - Page 2 Empty Re: ประวัติศาสตร์ 77 จังหวัดทั่วไทย

ตั้งหัวข้อ by *!!~AlFeiLai~!!* Fri Jun 18, 2010 6:57 am

นกกิ่งกะหล่า ไม่พรุงพรังแย่ง่า=[]="
*!!~AlFeiLai~!!*
*!!~AlFeiLai~!!*
B Class
B Class

จำนวนข้อความ : 265
คะแนน : 299
คะแนนชื่อเสียง : 21
Join date : 28/03/2010
Age : 28
ที่อยู่ : Thailand

https://twitter.com/spellsunnn

ขึ้นไปข้างบน Go down

ประวัติศาสตร์ 77 จังหวัดทั่วไทย - Page 2 Empty นาฏศิลป์ไทยภาคใต้

ตั้งหัวข้อ by Volwar Fri Jun 18, 2010 10:12 pm

ภาคใต้ มี ทั้งหมด 14 จังหวัด มี พื้นที่ติดต่อกับชายทะเลทั้ง 2 ฝั่ง และมีพื้นที่ติดกับประเทศพม่าและเป็นภาคเดี่ยวที่ติดกับประเทศมาเลซีย นาฏศิลป์ภาคใต้ตอนบน นาฏศิลป์ของชาวไทยภาคใต้ แบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ คือ 1.การแสดงพื้นบ้าน 2.ระบำพื้นบ้าน การแสดงพื้นบ้าน สามารถแบ่งออกออกตามลักษณะของพื้นที่ ดังนี้ 1.พื้นที่ ภาคใต้ตอนบน ได้แก่ โนรา เพลงบอก เพลงเรือ คำตัก เพลงชาน้อง 2.พื้นที่ ภาคใต้บริเวณลุ่มนำทะเลสาบสงขลา ได้แก่ โนรา หนังตะลุง กาหลอ โต๊ะครึม(นายลิมนต์) เพลงเรือ 3.พื้นที่ ชายฝั่งทะเลอันดามัน ลิเกป่า รองเง็งชาวเล รองเง็งตันหยง กาบง กาหยง ดาระ 4.พื้นที่ภาคใต้ตอนล่าง รองเง็งปัตตานี ดิเกร์ฮูลู ซีละ มะโย่ง(บือดีกา) บานอ กรือโต๊ะ ตือตรี ส่วนระบำพื้นบ้าน ได้แก่ ตารีกีปัส ระบำร่อนแร่ ระบำกรีดยาง เป็นต้น ภาคใต้ตอนบน จะใช้เครื่องดนตรี ของมโนราห์ (คือวงปี่พาทย์เครื่อง5 อย่างเบา หรือเรียกว่าปี่พาทย์ชาตรี จะมี เครื่องดนตรีคือ ปี่ ทับ กลองตุ๊ก โหม่ง(ฆ้องคู่) ฉิ่ง อาจจะมี ซอ ร่วมด้วย ) ภาคใต้ ตอนล่าง ส่วนใหญ่ จะเป็น มุสลิม จะมี วัฒนธรรม ทางอิสลาม ปนอยู่ทั้งทางเครื่องแต่งกายและดนตรี เครื่องดนตรีที่ใช้ จะใช้ ดนตรีที่เล่นในวง รองเง็ง ประกอบด้วย ไวโอลิน แมนโดลิน แอคคอเดี้ยน กลองบานอ (หรือใช้รำมานาลำตัดแทนได้) และพวกเครื่องประกอบจังหวะ ต่างๆ อย่าง มาราคัส แทมบูริน ฯลฯ สังเกตว่า ส่วนใหญ่ จะเป็นเครื่องดนตรีสากล(เครื่องดนตรีฝรั่ง)




1. ระบำยาหยี
ยาหยี มาจากภาษาชวา แปลว่าน้องรัก ใช้กับเด็กผู้หญิง



2. มโนราห์
มโนราห์ เรียกสั้นๆ ว่า โนรา เป็นศิลปะการแสดงพื้นบ้านของภาคใต้ โดยเฉพาะมีท่ารำที่อ่อนช้อย สวยงาม บทร้องเป็นกลอนสด ผู้ขับร้องต้องใช้ปฏิภาณไหวพริบ สรรหาคำให้สัมผัสกันได้อย่างฉับไว มีความหมายทั้งบทร้อง ท่ารำและเครื่องแต่งกายเครื่องดนตรีประกอบด้วย กลอง ทับคู่ ฉิ่งโหม่ง ปี่ชวา และกรับ ปัจจุบันพัฒนาเอาเครื่องดนตรีสากลเข้าร่วมด้วย



3. ระบำชนไก่
ชนไก่ เป็นการละเล่นที่อยู่กับคนไทยมาช้านานตั้งแต่สมัยโบราณเป็นการละเล่นที่มีความสนุกสนาน หรือบางที่อาจจะมีการเดิมพัน แพ้ ชนะ เนื่องจากวิวัฒนาการทางด้านนาฏศิลป์ไทย จึงได้นำการละเล่น ตีไก่ หรือ ชนไก่ มาจัดทำเป็นการแสดง โดยเพิ่มความสนุกสนานโดยมีการเชียร์ เพื่อให้ได้อารมณ์มากขึ้น การแสดงชุดนี้ผู้แสดงจะแต่งกายเหมือนไก่ และมีอาการ กิริยาที่เหมือนไก่ เพื่อความสมจริง



4. ระบำนารีศรีนคร
เป็นระบำประจำจังหวัดนครศรีธรรมราชแสดงถึงเอกลักษณ์ของจังหวัดนครศรีธรรมราชไว้อย่างชัดเจน


5. ระบำนกกรงหัวจุก
ผลงานสร้างสรรค์ของ วิทยาลัยนาฏศิลปนครศรีธรรมราช ระบำชุดนี้ เป็นระบำ พื้นเมืองภาคใต้ตอนล่าง โดย เลียนแบบ ท่าทางจากนกกรงหัวจุก(นกปรอทหัวโขน) ซึ่ง ชาวใต้ นิยมเลี้ยงไว้ ฟังเสียง และนิยมจัดแข่งขันประกวดประชันกัน



6. ตารีกีปัส
“ตารีกีปัส” คำว่าตารี แปลว่า รำ คำว่า กีปัส แปลว่า พัด “ระบำตารีกีปัส” เป็นระบำที่ต้องอาศัยพัดเป็นองค์ประกอบสำคัญ เป็นการแสดงที่แพร่หลายในหมู่ชาวไทยมุสลิม โดยเฉพาะในจังหวัดปัตตานี และได้ทำชื่อเสียงให้กับจังหวัดปัตตานี เมื่อคัดเลือกการแสดงชุดนี้ใช้แสดงในงานเปิดกีฬาเขต ครั้งที่ 14 ซึ่งจังหวัดปัตตานีเป็นเจ้าภาพ



7. ระบำศรีวิชัย
ระบำชุดนี้เกิดขึ้นจากแนวความคิดสร้างสรรค์ของนายธนิต อยู่โพธิ์ อดีตอธิบดีกรม ศิลปากร เมื่อปี พ.ศ. 2509 ตนกู อับดุล ราหมาน อดีตนายกรัฐมนตรีมาเลเซีย ได้แต่งเรื่อง Raja Bersiyong ซึ่งเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับอาณาจักรศรีวิชัยและได้มีหนังสือเชิญคระนาฏศิลปไทย ไปแสดงประกอบภาพยนตร์เรื่องนี้ กรมมศิลปากรได้จัดการแสดง 2 ชุดคือ รำซัดชาตรีชุดหนึ่ง และอีกชุดหนึ่งได้มอบให้ผู้เชี่ยวชาญการสอนนาฏศิลปไทย คือ อาจารย์ลมุล ยมะคุปต์ ละอาจารย์เฉลย ศุขะวิณิช ประดิษฐ์ท่ารำขึ้นใหม่จากภาพสลัก และภาพปูนปั้นสมัยสรีวิชัย เช่นจากพระสถูปบุโรบุคโค ในอินโดนีเซีย ประสมกับท่ารำชวาและบาหลี ผู้ประดิษฐ์ทำนอง เพลง คือศาสตราจารย์มนตรี ตราโมท และนายสนิท ดิษฐ์พันธ์ ออกแบบเครื่องแต่งกาย ในปี พ.ศ. 2510 ได้ปรับปรุงท่ารำใหม่บางท่า และเปลี่ยนทำนองเพลงใหม่บางตอน เพื่อให้เข้าชุดกับระบำ โบราณคดีชุดอื่น ๆ อีก 4 ชุด นำออกแสดงให้ประชาชนชมครั้งแรกในงานดนตรีมหกรรม ณ สังคีตศาสา เมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2510 และได้แสดงถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระบรมราชินี ฯ ในงานเปิดอาคารใหม่พิพิธภัณฑ์ ฯ วันที่ 25 พฤษภาคม 2510



8. มลายูรำเทียน
มลายูรำเทียน เป็นบทประพันธ์ของเก่า โดยใช้เพลงแขกหนัง ถือเป็นการรำที่อ่อนช้อยสวยงาม ด้วยการผสมผสานท่าการร่ายรำแบบชวา และท่านาฏศิลป์ของไทย เหมาะสำหรับแสดงในโอกาสต้อนรับแขกบ้านแขกเมือง และมิตรประเทศเพื่อนบ้าน การแต่งกาย มีลักษณะแบบมลายู ขณะร่ายรำ ผู้แสดงจะถือเทียนบนมือทั้งสองข้างละเล่ม



9. ทอยล้อ
ทอยล้อเป็นการละเล่นพื้นเมืองอย่างหนึ่งของภาคใต้



10. ลิเกฮูลู
ลิเกฮูลู หรือ ดิเกฮูลู มาจากคำว่า ลิเก หรือดิเก และฮูลู ท่านผู้รู้ได้กล่าวไว้ว่าลิเกหรือ ดิเกมาจากคำว่า ซี เกร์ หมายถึง การอ่านทำนองเสนาะ ส่วนคำว่าฮูลู แปลว่า ใต้หรือทิศใต้ รวมความแล้วหมายถึง การขับบทกลอนเป็นทำนองเสนาะจากทางใต้ ลิเกฮูลู เป็นการละเล่นพื้นบ้านแถบจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ได้รับความนิยมมากของชาวไทยมุสลิม มักจะใช้แสดงในงานมาแกปูโละ งานสุหนัด งานเมาลิด งานฮารีรายอแล้ว คำว่า "ลิเก" หรือ "ดิเกร์" เป็นศัพท์เปอร์เซีย มีความหมาย 2 ประการ คือ
1. เพลงสวดสรรเสริญพระเจ้า ซึ่งเรียกการสวดดังกล่าวนี้ว่า "ดิเกร์เมาลิด"
2. กลอนเพลงโต้ตอบ นิยมเล่นกันเป็นกลุ่มคณะ เรียกว่า "ลิเกฮูลู" บ้างก็ว่าได้รับแบบอย่างมาจากคนพื้นเมืองเผ่าซาไก เรียกว่า มโนห์ราคนซาไก บ้างก็ว่าเอาแบบอย่างการเล่นลำตัดของไทยผสมเข้าไปด้วย
การตั้งวงคล้ายกับการตั้งวงลำตัดหรือเพลงฉ่อยของภาคกลาง คณะหนึ่งมีลูกคู่ประมาณ ๑๐ กว่าคน ผู้ร้องเพลงและขับร้องมีประจำคณะอย่างน้อย ๒ - ๓ คน และอาจมีนักร้องภายนอกวงมาสมทบร่วมสนุกอีกก็ได้ กล่าวคือ คนดูคนใดนึกสนุกอยากร่วมวงก็จะได้รับอนุญาตจากคณะลิเกคล้ายๆ กับการเล่นเพลงบอกภาคใต้ เวทีแสดงยกสูงไม่เกิน ๑ เมตร โล่งๆ ไม่มีม่านหรือฉาก ลูกคู่ขึ้นไปนั่งล้อมวงร้องรับและตบมือ โยกตัวเข้ากับจังหวะดนตรี ส่วนผู้ร้อง หรือผู้โต้กลอนจะลุกขึ้นยืนข้างๆ วงลูกคู่ ถ้ากรณีมีการประชันกันแต่ละคณะจะขึ้นนั่งบนเวทีด้วยกัน แต่ล้อมวงแยกกัน การแสดงก็ผลัดกันร้องทีละรอบ ทั้งรุกทั้งรับเป็นที่ครึกครื้นสบอารมณ์ผู้ชม



11. ระบำร่อนแร่
ภาคใต้เป็นภาคที่มีแร่เยอะแยะมากมาย เช่น ดีบุก เพชร ฯลฯ จังหวัดระนองนั้นก็มาจากคำว่าแร่นอง เพราะว่าจังหวัดนี้มีแร่เยอะมาก ระบำร่อนแร่ เป็นระบำที่ปรับปรุงขึ้นตามลีลาท่าทางในการประกอบอาชีพของชาวไทยภาคใต้ จัดแสดงถวายแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ เมื่อครั้งเสด็จพระราชดำเนินเยือนภาคใต้เป็นครั้งแรก ในปี พ.ศ. 2502 ต่อมานักศึกษาระดับปริญญา วิทยาลัยนาฏศิลปสมทบในคณะนาฏศิลปและดุริยางค์ วิทยาลัยเทคโนโลยีอาชีวะศึกษา พ.ศ. 2521 ได้นำระบำร่อนแร่มาปรับปรุง และเรียบเรียงท่าขึ้นใหม่ โดยใช้เพลง "ตลุงราษฎร์" ซึ่งนายประสิทธิ์ ถาวร ผู้เชี่ยวชาญดนตรีไทยและศิลปินแห่งชาติ เป็นผู้แต่งทำนองเพลง ทั้งนี้อยู่ในความควบคุมของนางสาวปราณี สำราญวงศ์ หัวหน้าภาควิชานาฏดุริยางค์ คีตศิลปศึกษา



12. ระบำกริช
การรำกริช เป็นศิลปะการแสดงโบราณที่เคยนิยมกันในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่ผ่านมาการสืบทอดมีน้อยลงเรื่อยๆ ตีพะลี อะตะบู ปราญช์ชาวบ้านอำเภอรามัน ได้พยายามถ่ายทอดศิลปะดังกล่าวสู่คนรุ่นใหม่ เพื่ออนุรักษ์ไว้มิให้สูญหาย



13. รองเง็ง
รองเง็ง เป็นศิลปะเต้นรำพื้นเมืองของไทยมุสลิม มีความสวยงามทั้งลีลาการเคลื่อนไหวของ เท้ามือ ลำตัว และการแต่งกายคู่ชายหญิง กล่าวกันว่าการเต้นรองเง็ง สมัยโบราณเป็นที่นิยมกันในบ้านขุนนางหรือเจ้าเมืองในสี่จังหวัดชายแดนภาคใต้ เช่นที่บ้านรายายะหริ่ง หรือพระยาพิพิธเสนามาตย์ เจ้าเมืองยะหริ่งสมัยก่อนการ เปลี่ยนแปลงการปกครอง (พ.ศ. 2439 - 2449) มีหญิงซึ่งเป็นข้าทาสบริวารฝึกรองเง็ง เพื่อไว้ต้อนรับแขกเหรื่อในงานรื่นเริงหรืองานพิธีต่าง ๆ เป็นประจำ ลักษณะการเล่นรองเง็งซึ่งดูคล้ายศิลปะวัฒนธรรมตะวันตกนั้น มีผู้สันนิษฐานว่าชาวโปรตุเกส หรือชาวสเปน ได้นำมาเผยแพร่ในประเทศชวา มลายูก่อนโดย เฉพาะเมื่อถึงวันรื่นเริงปีใหม่ พวกฝรั่งเต้นรำอย่างสนุกสนาน เช่นเต้นรำลาฆูดูวอ เป็นเพลงไพเราะน่าชมน่าฟังชาวพื้นเมืองบังเกิดความสนใจและได้ฝึกซ้อมจนกระทั่ง ของศิลปะรองเง็งหรือรองเกงขึ้น ส่วนรองเง็งในประเทศไทยนิยมเต้นกันในบ้านขุนนางมุสลิมไทยดังกล่าวข้างต้น ต่อมาได้แพร่หลายสู่ชาวบ้านโดยอาศัยการแสดงมะโย่ง หรือ มโนราไทยมุสลิม มะโย่งแสดงเป็นเรื่องและมีการพักครั้งละ 10 - 15 นาที ระหว่างที่พักนั้นจะสลับฉากด้วยรองเง็ง เมื่อดนตรีขึ้นเพลงรองเง็งฝ่ายหญิงที่แสดงมะโย่งจะลุกขึ้นเต้นจับคู่ กันเอง เพื่อให้เกิดความสนุกสนานยิ่งขึ้น จึงเชิญชายผู้ชมเข้าร่วมวงด้วย ในที่สุดรองเง็งเป็นการเต้นรำที่ถูกอกถูกใจของชาวบ้าน แต่ไม่ถึงขั้นมีการจูบดังบท พระราชนิพนธ์ดังกล่าว ภายหลังมีการจัดตั้งคณะรองเง็งรับจ้างเล่นในงานต่าง ๆ ทำนองรำวง ซึ่งแพร่หลายอยู่จนปัจจุบัน



14. ระบำดอกบัวผุด
ดอกบัวผุด เป็นดอกไม้ที่น่าสนใจในการศึกษาค้นคว้าถึงความเป็นมา ซึ่งได้รับการคัดเลือกให้เป็นดอกไม้ประจำจังหวัดสุราษฎร์ธานี แต่มีผู้รู้จักและพบดอกบัวผุดของจริงน้อยมากนัก เพราะไม่สะดวกกับการเดินทางที่ต้องเข้าไปในป่าดิบชื้นที่อุทยานแห่งชาติเขาสก ที่ใช้เวลาใน การเดินทางหลายชั่วโมงและไปชมดอกบัวผุดแต่ละครั้งส่วนใหญ่จะพบเพียงดอกเดียวเท่านั้น ระยะการออกดอกเป็นช่วงตามฤดูกาลเท่านั้น นอกจากนี้สาเหตุจากป่าไม้ถูกทำลายไป อย่างมหาศาลทำให้ระบบนิเวศน์ของป่าเปลี่ยนแปลงไปมาก ผู้จัดทำได้มีแนวคิดประดิษฐ์ ระบำชุดนี้ขึ้นเพื่อนำมาแสดงเผยแพร่เป็นสื่อให้กับ บุคคลทั่วไปให้รู้จักดอกบัวผุดมากขึ้นและสนใจที่จะไปชมด้วยตนเอง ณ. อุทยานแห่งชาติเขาสก จังหวัดสุราษฎร์ธานี การคิดประดิษฐ์ท่ารำ “ระบำดอกบัวผุด” ได้ศึกษาจากการเจริญเติบโตของดอกบัวผุด ตั้งแต่ยังตูมอยู่ จนกระทั่งผลิบานเป็นดอกไม้มหึมามีสีแตงสวยสดงดงาม ซึ่งอยู่ได้ประมาณ 7 วัน ในระหว่างที่ดอกบัวผุดบาน มีแมลงวันหัวเขียวบินไปมาอยู่เพื่อนำเกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียของดอกบัวผุดไปผสมกัน หลังจากนั้นดอกบัวผุดก็ร่วงโรงไปตามกาลเวลา จึงได้แบ่งลักษณะการแสดงออกเป็น 4 ส่วน โดยการเปลี่ยนแปลงทำนองเพลงให้สอดคล้องกับท่ารำและลักษณะการแสดง

www.google.com
th.wikipedia.org
learners.in.th
www.bloggang.com
gotoknow.org
cdare.bpi.ac.th
www.banramthai.com
www.moradokthai.com
www.panyathai.or.th
www.t1surat.ac.th
Volwar
Volwar
Webmaster
Webmaster

จำนวนข้อความ : 572
คะแนน : 770
คะแนนชื่อเสียง : 14
Join date : 23/01/2010
Age : 30
ที่อยู่ : ถนนเจริญยาก ถนนไม่มีรถเมล์ กทม.

ขึ้นไปข้างบน Go down

ประวัติศาสตร์ 77 จังหวัดทั่วไทย - Page 2 Empty Re: ประวัติศาสตร์ 77 จังหวัดทั่วไทย

ตั้งหัวข้อ by *!!~AlFeiLai~!!* Sat Jun 19, 2010 7:35 pm

อร๊าง ตารีกีปัสความหลังมันฝังใจ วันจันทร์ก็สอบแล้วT^T
*!!~AlFeiLai~!!*
*!!~AlFeiLai~!!*
B Class
B Class

จำนวนข้อความ : 265
คะแนน : 299
คะแนนชื่อเสียง : 21
Join date : 28/03/2010
Age : 28
ที่อยู่ : Thailand

https://twitter.com/spellsunnn

ขึ้นไปข้างบน Go down

หน้า 2 จาก 4 Previous  1, 2, 3, 4  Next

ขึ้นไปข้างบน


 
Permissions in this forum:
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ